งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่
ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่บรัดเลย์  โดย  แดน บีช แบรดลีย์  พ.ศ. 2384 – 2411ปฐมบทของการพิมพ์และการออกแบบตัวพิมพ์ของไทย เริ่มขึ้นเมื่อนายแพทย์ แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล และมิชชันนารีคณะแบปติสต์จากสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ เขาได้ก่อตั้งโรงพิมพ์และจัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวพิมพ์ภาษาไทย ในปีพ.ศ. ๒๓๘๒ กิจการหนังสือพิมพ์และโรงพิมพ์ของคณะฯ เจริญเติบโตจนเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว มีการออกหนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม และสั่งซื้อแท่นพิมพ์เพิ่มขึ้นในปีต่อๆ มานั่นคือช่วงเวลาหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาเบอร์นี่ และสยามประเทศอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ในด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาการ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ เครื่องจักรไอน้ำ และสิ่งประดิษฐ์นานาชนิด กำลังหลั่งไหลเข้ามา ในด้านความรู้และภูมิปัญญา สังคมไทยกำลังเผชิญกับการท้าทายของแนวคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบกฎหมาย แบบแผนประเพณี ตลอดจนความหมายของชุมชนที่จะเรียกกันว่า ชาติหนังสือและตัวพิมพ์ซึ่งเป็นผลงานของแบรดลีย์คือที่รวมของความเปลี่ยน แปลงทั้งสองด้านนั้น ในด้านเทคโนโลยี มันเป็นแบบอย่างของการผลิตซ้ำอย่างกลไกด้วยเครื่องจักรประสิทธิภาพการพิมพ์ ในสมัยนั้นช่วยย่นย่อระยะเวลา และขจัดข้อผิดพลาดของการทำงานแบบเก่าซึ่งในที่นี้ก็คือการคัดลอกด้วยมือใน ด้านความรู้และภูมิปัญญา เนื้อหาของสิ่งพิมพ์อันได้แก่ หนังสือสอนศาสนาคริสต์ ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนภูมิ-ดาราศาสตร์ได้เข้ามาสั่นคลอนรากฐานความรู้และคติความเชื่อเดิม ของสังคมไทย นอกจากนั้น บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยของเขา ยังได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาด้วยกำเนิดตัวพิมพ์ไทย : เส้นทางอันยอกย้อนกำเนิดตัวพิมพ์ไทยมีความซับซ้อนที่น่าสนใจ ก่อนยุคของ แบรดลีย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานยุคแรกสุดเช่นหนังสือ James Low’s Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แนนซี่ ยัดสันและ ช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่าในราวพ.ศ.๒๓๗๐ เข้าใจว่าในเวลาต่อมา เมื่อแบรดลีย์เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน ตัวพิมพ์ชุดนี้ก็ถูกนำเข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ แบรดลีย์รับจ้างราชการไทยจัดพิมพ์เอกสารที่เรียกกันว่า แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น ขึ้นตามพระราชโองการของรัชกาลที่ ๓ เพื่อแจกจ่ายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร เอกสารชิ้นนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ เข้าใจว่าคณะมิชชันนารีได้ส่งคนในคณะฯ ไปดูแลการทำแม่แบบที่ปีนัง และนำไปหล่อที่มะละกาการหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทยทำสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ แบบตัวชุดนี้มีความสวยงามกว่า และมีขนาดเล็กกว่าที่เคยสั่งหล่อจากสิงคโปร์ หนึ่งในสิ่งพิมพ์ชิ้นแรกๆ ที่ใช้ตัวเรียงพิมพ์ที่หล่อเป็นครั้งแรกในเมืองไทยคือ หนังสือของแบรดลีย์เอง ชื่อ คำภีร์ ครรภ์ทรักษา, แปลย่นความออกจากกำภิร์ครรภ์ทรักษา แห่งแพทย์หมออะเมริกา. ส่วนตัวพิมพ์ที่เรียกกันว่า “บรัดเลเหลี่ยม” นั้นเป็นผลงานรุ่นถัดมา ปรากฏการใช้เป็นครั้งแรกใน บางกอกรีคอร์เดอร์ หรือหนังสือจดหมายเหตุฯI ซึ่งออกในปี พ.ศ.๒๓๘๗ ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย(ชื่อตัวพิมพ์ดังกล่าวตั้งขึ้นในภายหลังโดย กำธร สถิรกุล ใน ตัวหนังสือและตัวพิมพ์)เมื่อตัวพิมพ์ยืดตัวตรง และโครงสร้างถูกจัดระเบียบแบบอักษรของบรัดเลเหลี่ยมนั้นถ่ายทอดมาจากตัวเขียนลายมืออย่างไม่ต้อง สงสัย ตัวเขียนที่แบรดลีย์ใช้เป็นต้นแบบ สันนิษฐานได้ว่ามาจากลายมือแบบอาลักษณ์ เราอาจพบลายมือคล้ายกันนี้ปรากฏอยู่ในสมุดข่อยซึ่งเขียนขึ้นในยุคต้นรัตน โกสินทร์หลายเล่มหากเอาบรัดเลเหลี่ยมมาเปรียบเทียบกับตัวพิมพ์รุ่นก่อนหน้า นั้น ก็จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก บรัดเลเหลี่ยมมีรูปทรงตั้งตรง ตัวรุ่น คำภีร์ ครรภ์ทรักษาฯ ยังเป็นแบบเอนไปข้างหลัง โครงสร้างอักษรของตัวคำภีร์เริ่มชัดเจนแต่ยังไม่ค่อยมีเอกภาพ เช่น เส้นตั้งไม่ได้ขนานกันอย่างสมบูรณ์ ตัว ก ไก่ อ้วนมาก การม้วนของ ห หีบ เป็นเส้นเหลี่ยม หรือถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับรุ่นของยัดสัน จะเห็นว่ารุ่นนั้นถ่ายทอดมาจากลายมือแบบหวัดแกมบรรจง ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน เช่น มีตัวหนังสือที่โย้หน้าบ้างโย้หลังบ้างการแกะตัวพิมพ์เป็นศิลปะอีกแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากการเขียน ถ้าการเขียนหรือจารเป็นงานจิตรกรรม การแกะพั้นช์ แกะแม่ทองแดง และหล่อตัวพิมพ์ ก็เปรียบได้กับงานประติมากรรม ในการถ่ายทอดศิลปะข้ามสื่อนี้ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างของตัวอักษร เพื่อทำให้การแกะง่ายขึ้น เช่น ดัดตัวให้ตรง มีเส้นนอนด้านบนซึ่งหักมุมเหลี่ยมเป็นบุคลิกสำคัญ มีรูปทรง และสัดส่วนของอักษรที่แน่นอน เช่น ก ไก่ มีความกว้างยาวเป็นสัดส่วนราว ๒ ต่อ ๓ และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งนอกจากนั้นบรัดเลเหลี่ยมยังมีการปรับ ปรุงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ทำเส้นตั้ง หรือ “ขา” ให้ตั้งฉากกับเส้นนอน กำหนดหัวกลมโปร่งให้มีเอกภาพและตำแหน่งแน่นอน เส้นมีความหนาและการหักมุมเที่ยงตรงแบบเรขาคณิต แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อยรูปโฉมของบรัดเลเหลี่ยมไม่ได้เป็นเพียงการแต่ง เนื้อแต่งตัวให้แปลกใหม่ทันสมัยมากขึ้น แต่เป็นการสถาปนามาตรฐานใหม่ของอักษรไทย ถือกันว่าเป็นการวางรากฐานสำคัญให้แก่ตัวพิมพ์ไทยกำเนิดโรงพิมพ์หลวง หนังสือพิมพ์และตัวพิมพ์นำความ สนใจมาสู่ชนชั้นผู้นำของสยาม โดยเฉพาะสำหรับเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ท่านโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในวัด โรงพิมพ์นี้มีพระสงฆ์เป็นผู้ทำหน้าที่ทุกอย่างในการพิมพ์ และมีผลงานด้านหนังสือเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ และบทสวดมนต์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ หลังจากที่เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระ-ราชทานนามว่าโรงอักษรพิมพการ และโปรดให้มีฐานะเป็น “โรงพิมพ์หลวง” โรงอักษรพิมพการได้ดำเนินการผลิตหนังสือ และเอกสารสำคัญของแผ่นดินหลายฉบับ เช่น ราชกิจจานุเบกษา หรือหนังสือรวมประกาศข้อบังคับต่าง ๆ ของราชการ ซึ่งพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๐๑ระหว่างที่ทรงดำเนินกิจการโรงพิมพ์ในวัดบวรฯ ด้วยความรอบรู้และเข้าใจในความยากลำบากของการแกะ หล่อและเรียงพิมพ์ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ จึงมีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนอักษรไทยเสียใหม่ เพื่อให้สะดวกแก่การพิมพ์ และประดิษฐ์อักษรไทยแบบใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “อักษรอริยกะ” วิธีการเขียนแบบนี้มีจุดเด่นตรงที่อักษรทั้งหมดถูกจับลงมาอยู่บรรทัดเดียว กัน และเรียงสระและวรรณยุกต์ให้อยู่หลังพยัญชนะ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเลิกใช้รูปอักษรเดิม หันไปใช้รูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายอักษรโรมัน อักษรอริยกะถูกสร้างเป็นตัวพิมพ์เพื่อใช้ในโรงพิมพ์วัดบวรฯ และพิมพ์เอกสารที่เผยแพร่เฉพาะในหมู่สงฆ์ในนิกายธรรมยุติบั้นปลายของหนังสือพิมพ์รุ่นบุกเบิกแม้ว่าชนชั้นสูงของสยามจะรู้สึกหวาดระแวงต่อเนื้อหาและการแจกจ่ายหนังสือ “นอกศาสนา” ของแบรดลีย์ แต่ความแปลกใหม่ และมีประโยชน์ของการพิมพ์ทำให้การสอนศาสนา และการดำเนินธุรกิจของเขาเป็นที่ยอมรับ ผลงานด้านหนังสือพิมพ์ ความรู้ หนังสือแปล และตำราเรียนของเขาแพร่หลายออกไปทีละน้อย หลังจากนั้นโรงพิมพ์อื่นๆ ก็เกิดตามมา เช่น โรงพิมพ์ของมิชชันนารีอีกคนหนึ่งที่ชื่อ แซมมวล จอห์น สมิธ หรือ ครูสมิธในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ แบรดลีย์ได้พิมพ์นิราษเมืองลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (กระต่าย)ซึ่งปรากฏเป็นข่าวเกรียวกราวเนื่องจากเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรก ที่มีการซื้อลิขสิทธิ์กันอย่างเป็นทางการในหนังสือเล่มนี้มีการใช้ตัวพิมพ์ แบบใหม่คือ “บรัดเลโค้ง” เป็นครั้งแรก ชุดนี้มีถึง ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ใช้เรียงเป็นชื่อหนังสือในหน้าแรกๆ ส่วนใน บางกอกรีคอร์เดอร์ซึ่งออกในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ บรัดเลโค้งใช้เป็นตัวพาดหัว หรือตัวดิสเพลย์กิจการโรงพิมพ์ของแบรดลีย์เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ แต่การทำหนังสือพิมพ์ ของเขายุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ด้วยเหตุว่าถูกฟ้องร้องในคดีหมิ่นประมาท แบรดลีย์เชื่อว่าการที่ตนเองแพ้คดีนี้เพราะถูกกลั่นแกล้ง เนื่องจากชนชั้นสูงชาวสยามเริ่มไม่พอใจกับการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ของเขาตัวพิมพ์นั้น หากถือว่าเป็นพัฒนาการในยุคแรกเริ่ม ก็นับว่าเป็นไปอย่างช้าๆ ตราบจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ เรามีตัวพิมพ์สามสี่แบบ ผลงานออกแบบตัวพิมพ์ของแบรดลีย์กลายเป็นรากฐานการออกแบบในยุคต่อไป ตัวพิมพ์ไทยในรุ่นหลังเกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่วิวัฒนาการมาจากตัวพิมพ์ที่ ท่านได้วางเอาไว้ทั้งสิ้นที่มา : เรียบเรียงโดย : ปรีชา สุวีรานนท์โดยการสนับสนุนของ บริษัท เอส. ซี. แมทช์บอกซ์ และนิตยสาร สารคดีรวบรวมมาจาก : http://www.sarakadee.com/feature/2002/09/thaifont.htmรูปภาพจาก Facebook/แกะรอยตัวพิมพ์ไทย
6 พฤศจิกายน 2556     |      3122
การนับสีในงานพิมพ์
เราจะรู้ได้ยังไงว่า งานที่เราพิมพ์นั้นกี่สี บางคนที่ไม่ทราบวิธีนับสีก็จะตกใจ คิดว่ามีสี เยอะมากเป็นสิบเป็นร้อยสี กลัวราคาจะสูงเพราะว่าสีมีผลต่อราคาค่าพิมพ์ต่อหน่วยจริงๆ แล้ว การนับสีมีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1 สีอย่าเพิ่งตกใจ เพราะภาพหรืองานต่างๆ ที่เห็น จะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เขาเรียกกันว่างาน 4 สี นั้นเอง เคยเล่นผสมสีตอนเด็ก หลักการเดียวกัน แม่สี 3 สี และ สีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้คล้ายกัน แต่งานพิมพ์ก็จะมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามา ตามความต้องการใช้งาน เช่นสีทอง สีเงิน ซึ่งเป็นสีพิเศษ ต้องเพิ่มเพลท นับเพิ่มให้เป็น 1 สี เรามาทำความเข้าใจกับการนับสีพิมพ์ 1 สี       การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่มทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลายระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆ ก็จะได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียวพิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษพิมพ์หลายสี       การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำกับแดง หรือดำกับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจำนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วยพิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสีเขียว พิมพ์ 2 สี ฟ้ากับสีดำ สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำและส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ ส้มและแดงพิมพ์สี่สี (แบบสอดสี)       ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อยกี่พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตามที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้องใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกันออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้านสี พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นในนิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่พิมพ์สี Magenta พิมพ์สี Yellow พิมพ์สี Cyan พิมพ์สี Black พิมพ์ทั้งสี่สีพิมพ์สีพิเศษ เช่นสีทอง ซึ่งมีหลายทอง แต่ละทองจะให้ความเงาและด้านต่างกัน สีเงินมีเงินมันวาว เงินด้าน และสีพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่นสีสะท้อนแสง ถ้าอยากได้งานดี งานสวยใช้สีพิเศษแล้วต้องยอมจ่ายเพิ่มอีกหน่อยcredit by : http://www.tac-printing.com/Know%20how/count%20color.htm
3 ธันวาคม 2556     |      2064
ประวัติการพิมพ์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ ในช่วงประมาณ 17,000 - 12,000 ปี ที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้น ยังปรากฏการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) อีก ด้วย โดยวิธีการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนักว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่งในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล (5,000 B.C.) ประมาณ 255 ปี ก่อนคริสตกาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลางและจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press โดยจะเห็นได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดินค.ศ.105 ชาวจีนชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมาค.ศ.175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้น ในประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสี ทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้ (กำธร สถิรกุล. 2515 : 185)ค.ศ.400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้น โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ.2527: 82)สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่งประเทศญี่ปุ่น ในราว ค.ศ.770 โดย พระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจาก ประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำนวนหนึ่งล้านแผ่นซึ่งต้องใช้ เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปี (สนั่น ปัทมะทิน. 2513 : 121)จีนนิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra) (กำธร สถิรกุล. 2515 : 187)ประมาณปี ค.ศ.1041 - 1049 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์นูนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมที่ใช้การแกะไม้เป็นแม่พิมพ์ (เรียกว่า Block) แม่ พิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์ได้เพียงรูปแบบเดียวมาเป็นการใช้แม่พิมพ์ชนิดที่ หล่อขึ้นเป็นตัว ๆ และนำมาเรียงให้เป็นคำเป็นประโยค ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ตัวเรียงพิมพ์ (Movable type) เมื่อพิมพ์เสร็จ แล้ว จะสามารถนำกลับไปเก็บและสามารถนำมาผสมคำใหม่ในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไปได้ ผู้ที่ค้นพบวิธีการใหม่นี้เป็นชาวจีนชื่อ ไป เช็ง (Pi Sheng) โดยใช้ดินเหนียวปั้นให้แห้งแล้วนำไปเผาไฟการสร้างตัวเรียงพิมพ์โลหะ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเกาหลีเมื่อประมาณปี ค.ศ.1241 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์โลหะขึ้นเป็นจำนวนมากตามดำริของกษัตริย์ไทจง (Htai Tjong) (Lechene. 1974  : 1053)ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทยในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่งชื่อ ลาโน(Mgr Laneau) ได้ ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ตามวิธีฝรั่งของสังฆราชลา โนถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก (อำไพ จันทร์จิระ. 2512 : 73 - 74) และ ต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยามกิจการพิมพ์ในสมัย อยุธยาจึงหยุดชะงักและไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่ใน สมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อบ้านเมืองปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่ง คาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และ สันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะพ.ศ.2536 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิพม์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่ง เป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิพม์ภาษา ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อตัวพิพม์ และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198)พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับ ราชการอยู่กับรัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทย ขึ้น และได้จัดพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า "A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่ เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมีเหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหา ได้ในปัจจุบันแหล่งที่มา http://www.europrinting.co.thความหมายของการพิมพ์  Lechene (1974) : “ เป็นวิธีการใช้แรงกดให้หมึกติดเป็นข้อความ หรือภาพบนพื้นผิวของสิ่งที่ต้องการพิมพ์ ” * Mills (1968) : “กรรมวิธี ใด ๆ ในการจำลองภาพหรือสำเนาภาพ หรือหนังสือจากต้นฉบับในลักษณะสองมิติ แบนราบ ทั้งนี้รวมถึง การพิมพ์ผ้า การพิมพ์กระดาษปิดฝาผนังและการอัดรูป” * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 : “การใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้น ให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า” * พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 : “ การ ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา” * กำธร สถิรกุล : “การ จำลองต้นฉบับอันหนึ่ง จะเป็นภาพหรือตัวหนังสือก็ตาม ออกเป็นจำนวนมาก ๆ เหมือนกัน บนวัสดุที่เป็นพื้นแบน หรือใกล้เคียงกับพื้นแบน ด้วยการใช้เครื่องมือกล”ประเภทของการพิมพ์1. สิ่ง พิมพ์ประเภทหนังสือ ประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ที่เป็นสารคดี ซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการให้ความรู้โดยตรง กับสิ่งพิมพ์ที่เป็น บันเทิงคดีซึ่งมีเนื้อหาสาระมิได้มุ่งไปทางวิชาการในสาขาใด สาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ขนาดและรูปแบบของสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสืออาจมีความแตกต่างกันไป2. สิ่ง พิมพ์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสารและสิ่งพิมพ์โฆษณา ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีเทคนิคการพิมพ์ การเข้าเล่ม รูปแบบและชนิดของกระดาษพิมพ์ ที่อาจแตกต่างกันออกไป3. สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่                 - สิ่ง พิมพ์ที่ใช้ในด้านสังคม มีการจัดพิมพ์ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น นามบัตรบุคคล / ห้างร้าน บัตรเชิญ บัตรอวยพรในโอกาสต่าง ๆ เอกสารแจ้งข่าว การขอความร่วมมือ ปฏิทิน สมุดบันทึก              - สิ่ง พิมพ์ในการดำเนินงานธุรกิจ เช่น กระดาษหัวจดหมาย ใบส่งของ ใบเสร็จ ใบรับเงิน ใบเบิกเงิน กระดาษบันทึก แบบพิมพ์อื่น ๆ รายงานประจำปีของธุรกิจ             - สิ่ง พิมพ์ที่เป็นการตกแต่งให้สวยงาม เช่น ภาพพิมพ์กระดาษ ปิดฝาผนัง   การพิมพ์ลวดลายบนไม้ บนวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ งานพิมพ์ที่มีส่วนนูนและส่วนลึก            - สิ่ง พิมพ์ที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การพิมพ์ลงวัสดุต่าง ๆ (กระดาษ ผ้า พลาสติก โลหะ แก้ว ฯ ) เป็นลวดลาย ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการความสำคัญของการพิมพ์โดย ทั่วไปผลิตผลจากการพิมพ์ถูกใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดทักษะ ความรู้ต่าง ๆ การปลูกฝังความเชื่อ คุณค่าทัศนคติที่ดี ของสังคม   และการประชาสัมพันธ์ โฆษณา เผยแพร่ ข้อมูลทางธุรกิจ ซึ่งอาจจำแนกเป็น 4 ประการ ได้แก่1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 2. เพื่อเผยแพร่การเมือง 3. เพื่อเผยแพร่การค้า 4. เพื่อเผยแพร่ศาสนาระบบการพิมพ์1. การพิมพ์ระบบแม่พิมพ์นูน ( Relief printing) เป็นระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์ส่วนใหญ่ที่ใช้พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือตัวอักษรจะนูนสูงขึ้นมาจากระดับที่ไม่ใช้พิมพ์และมีลักษณะ  เป็นด้านกลับ (Reverse) เพื่อจะถ่ายทอดให้ภาพบนชิ้นงานพิมพ์ มีลักษณะเป็นด้านตรง ได้แก่   การพิมพ์เลตเตอร์เพรส   ( letterpress   printing) หรือการพิมพ์ตัวหล่อ การพิมพ์เฟลกโซกราฟี  (flexography printing)2. การพิมพ์ระบบแม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglto printing) เป็น ระบบการพิมพ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับระบบแม่พิมพ์นูน คือ ส่วนที่เป็นภาพหรือตัวหนังสือจะมีระดับลึกลงไป เมื่อทาหมึกพิมพ์ ลงบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จะขังอยู่ในร่องลึกซึ่ง เป็นตัวภาพ ส่วนที่เป็นพื้นจะไม่มีหมึกพิมพ์ติดอยู่ เมื่อนำกระดาษมาวางทาบ บนแม่พิมพ์จะซับหมึกเฉพาะส่วนที่เป็นภาพหรืออักษรขึ้นมาเท่านั้น3. ระบบการพิมพ์พื้นราบ ( Planographic printing) เป็น ระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีระดับเสมอหรือเท่ากันหมด ทั้งตัวภาพ และพื้น แต่บริเวณตัวภาพจะมีลักษณะเป็นไข น้ำไม่สามารถเกาะติด เมื่อเอาน้ำมาทาบริเวณแม่พิมพ์ น้ำจะเกาะติดบริเวณที่เป็นพื้นเท่านั้น หลังจากนำหมึกพิมพ์ทาหรือกลิ้งบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จะติดเฉพาะ ตัวภาพ แต่ไม่ติดพื้น4. ระบบการพิมพ์แม่พิมพ์ฉลุ  ( Serigraphic printing) หรือ เรียกกันทั่วๆ ไปว่า การพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีลักษณะ เป็นพื้นฉลุ   ส่วนที่ไม่ใช่ภาพจะถูกปิดไว้และหมึกพิมพ์จะทะลุลอดเฉพาะ ส่วนที่เป็นรูฉลุ ทำให้เกิดภาพบนวัสดุที่ใช้พิมพ์นอกจากนี้มีระบบการพิมพ์ด้วยแสง (Photographic printing) เป็นระบบการพิมพ์แบบพิเศษ ไม่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นการพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน เช่นระบบพิมพ์อื่น ๆ     ระบบการพิมพ์แบบนี้ เช่น การอัดขยายรูปถ่าย   เครื่องถ่ายเอกสาร การถ่ายพิมพ์เขียวแหล่งที่มา http://www.edu.nu.ac.th
1 มกราคม 2557     |      4228
วิวัฒนาการพิมพ์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสคัวกซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรม ที่มีคุณค่าด้านความงาม ของมนุษยชาติในช่วงประมาณ 17,000-12,000 ปีที่ผ่านมา แล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้นอกจากนั้นยังปรากฏการณ์เริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stencil) อีกด้วย โดยวิธีใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีการหนึ่งวิรุณ ตั้งเจริญ, 2523 : 9)ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.) เมื่อ 1300 ปีก่อนคริสต์กาล จีนได้คิดหนังสือขึ้นใช้ โดยเขียนบนใบลานและเขียนบนไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ แล้วร้อยเชือกให้อยู่เป็นปึกเดียวกันม้วนคลี่อ่านได้ วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 31) ต่อมาเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนเริ่มเขียนหนังสือบนผ้าไหม หลังจากนั้นประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนรู้จักการแกะสลักลงบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์ งาช้าง และนำไปประทับบนขี้ผึ้งหรือดินเหนียว วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 30) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และกลายเป็นวัสดุสำคัญ สำหรับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2530 : 3) หนังสือกรีกเป็นหนังสือแบบม้วน กว้างประมาณ 10 นิ้ว และยาวถึง 35 ฟุต ลักษณะการเขียนใช้วิธีเขียนเป็นคอลัมน์ กว้างประมาณ 3 นิ้วเว้นช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไว้เป็นขอบชาวอังกฤษและโรมัน นิยมเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นไม้จากต้นบีช (Beech) ซึ่งภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า "BOC" จึงเป็นคำที่มาของคำว่า "Book" ในภาษาอังกฤษพวกโรมันมีวิธีรวมเล่มหนังสือ โดยการเจาะรูแผ่นไม้แล้วร้อยด้วยวงแหวน และเรียกหนังสือนี้ว่า โคเค็กซ์ (Codex) ซึ่งเรียกว่าหนังสือแผ่น แผ่นไม้ ที่ใช้เขียนหนังสือ มีลักษณะที่แปลก คือ แผ่นไม้จะเคลือบด้วยกาวผสมชอลก์หลายๆชั้น ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อแห้งสนิทดีแล้วและเคลือบพับด้วยขี้ผึ้งสีดำบางๆ ดังนั้นเวลาเขียนด้วยเหล็กจาร ก็จะปรากฏเป็นตัวอักษร สีขาวบนพื้นดำ แผ่นเคลือบนี้ใช้สำหรับการเขียนที่ไม่ถาวรเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถลบได้ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเก็บบันทึกไว้ พวกโรมันก็จะใช้กระดาษม้วนปาไปรัส แบบกรีกแทนจุดกำเนิดของหนังสือที่มีลักษณะเหมือนในยุคปัจจุบัน เริ่มจากในคริสตศตวรรษที่ 1 มีการนำหนังสือที่เขียนบนแผ่น กระดาษปาไปรัสผนึกทับบนกระดาษคู่หนึ่ง ซึ่งพับเข้าหากันได้คล้ายกับหนังสือที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พวกโรมันชอบหนังสือแบบนี้มาก เพราะนำติดตัวได้ง่าย และสามารถเอาเนื้อหามาวางเทียบกันได้จึงรับหนังสือแผ่นนี้มาใช้ หนังสือม้วนจึงถูกยกเลิกไปราวๆ คริสตศวรรษที่ 4 วิวัฒนาการนำหนังมาเป็นหนังสือม้วน เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปี ก่อนคริสตกาลหนังที่นำมาใช้ต้องผ่านการฟอกและ ขัดจนเรียบ ราคาจึงแพง แต่มีข้อได้เปรียบกว่ากระดาษปาไปรัส เพราะใช้เขียนได้ 2 หน้า และสามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันได้ทั้งเก็บได้หนากว่าสีน้ำหรือสีหมึกในคริสตวรรษที่ 6 มี การตั้ง "โรงเรียน" (Scriptoria) ขึ้นในอิตาลี เป็นที่สำหรับใช้ให้ บรรดาพวกพระทำการคัดลอกและ เขียนต้นฉบับหนังสือ วิธีการนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หนังสือที่เกิดจากฝีมือ พวกพระในสมัยระหว่างคริสตศตวรรษ ที่ 5-15 นี้ เขียนบน แผ่นหน้าเป็นส่วนมาก ใช้แผ่นหนัง 4 ผืน ซ้อนกันแล้วพับครึ่ง เย็บด้ายตรงรอยพับ นับเป็นยกหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับ 8 แผ่น หรือ 16 หน้า จะเขียนทีละหน้าและมีการประดิษฐ์หัวเรื่องให้ สวยงาม โดยใช้สีต่างๆอักษรตัวแรก ของประโยคก็เป็นอักษร ประดิษฐ์เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเสร็จ มีการตรวจทานให้ถูกต้อง และส่งไปทำปกในส่วนของปกก็มีการ ออกแบบลวดลาย ให้สวยงามในคริสตศตวรรษที่ 13 มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในยุโรปหลายแห่ง ความต้องการหนังสือตำราต่างๆ มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจ้างเสมียนคัดลอกและเก็บรักษาหนังสือสำหรับให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เข้าไปใช้และเมื่อมีการนำกระดาษมาใช้แทนหนังราคาหนังสือก็ถูกลง จึงมีการทำขายแทนการเช่า การผลิตหนังสือก็ต้องเปลี่ยนโฉมหน้าให้ทันกับความต้องการ ทั้งปริมาณ และความรวดเร็ว ดังนั้น การสนใจเรื่องการประดิษฐ์เพื่อความสวยงามก็ลดน้อยลงไป ทัศนะเดิมที่เคยถือกันว่า "หนังสือเป็นงานอวดฝีมือ และศิลปะ" ก็เปลี่ยนมาเป็น "หนังสือเพื่อความรู้" แทนและเมื่อ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สำเร็จในราวกลาง คริสตศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้หนังสือเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ยุคการพิมพ์ จึงเป็นการสิ้นสุดหนังสือยุคก่อน การพิมพ์วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2515 : 29-33ที่มา : http://www.keereerat.ac.th
7 ธันวาคม 2559     |      1109
เทคนิคการพิมพ์ของกระดาษชนิดต่างๆ
ประเภทของกระดาษอาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.1. กระดาษไม่เคลือบ แบบเรียบ     A. กระดาษปอนด์ขาว, สี (White & Colour Woodfree) กระดาษที่ผลิตจากเยื่อแท้(Virgin Pulp) และไม่มี การเคลือบหน้าแป้ง ได้แก่ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษ K-One 120, 140 แกรม, กระดาษถ่ายสี KTV, กระดาษ K-Colour, กระดาษ Sirio, กระดาษ Extra Strong, กระดาษไข             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133 - 150 lpi            2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            6. โปรดระวังความชื้นขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น โดยเฉพาะกระดาษไขซึ่งมีลักษณะการอมความชื้นในอากาศได้มากกว่ากระดาษทั่วไปถึง 2 เท่า     B. กระดาษการ์ดขาว, สี (White & Colour Briefcard) กระดาษที่ผลิตเป็นจากเยื่อแท้ และ เศษกระดาษ บางโรงงานก็ใช้วิธีการประกบแผ่นกระดาษก็ได้ ตัวอย่างกระดาษ การ์ดขาวทั่วไป, K-Card, K-One 165 แกรมขึ้นไป            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150 lpi            2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 2. กระดาษไม่เคลือบ แบบมีลาย      A. กระดาษลายนูนปกติ (Feltmarked Paper) กระดาษที่ผลิตด้วยเยื่อยาวหรือ Recycle และมีการปั้มลายในกระบวนการผลิตกระดาษ (Feltmarked) เช่น ACQ,Tintoretto, Tin-M, Corolla, Galgo Laid, Galgo Linen             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi (แล้วแต่ความลึกของลาย)             2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น     B. กระดาษปั้มลายนูน (Embossed Paper) กระดาษที่ผลิตด้วยเยื่อยาวหรือ Recycle และมีการปั้มลายจากกระดาษเรียบ (Offline Embossed) เช่น กระดาษหนังช้าง, Woodstock, Tweed            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi (แล้วแต่ความลึกของลาย)             2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 3. กระดาษเคลือบ แบบเรียบ     A. กระดาษอาร์ตมัน (Glossy Coated Paper) กระดาษอาร์ตด้าน (Matt Coated Paper) กระดาษที่มี การเคลือบหน้าแป้งทั้งหน้าเดียว และ 2 หน้า เช่น กระดาษอาร์ตมัน-ด้าน JP, กระดาษอาร์ตการ์ดมันด้าน NBS,NV ,กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว Zenith และกระดาษ Symbol ต่าง ๆ             1 เม็ดสกรีน (Screen Line) 175-200 lpi             2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เฉพาะอาร์ตมันเท่านั้น ส่วนอาร์ตด้านอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ และจะมีความสวยงามมากขึ้น ถ้าอาร์ตมันทำการเคลือบพลาสติกด้านก่อน             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น       B. กระดาษเคลือบมุก (Pearlize Coated Paper) กระดาษที่มีการเคลือบผงมุก, เงิน หรือ ทอง เช่น กระดาษ Stardream, Stardream Seta, Astrosilver             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)             2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่อาร์ตมันควรทำการเคลือบพลาสติกด้านก่อนถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น     C. กระดาษเคลือบแก้ว (Cast Coated Paper)             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi             2. ไม่เหมาะกับการพิมพ์ 4 สี แต่ถ้าต้องการพิมพ์ ควรใช้หมึก UV เหมือนการพิมพ์บนพลาสติก เพราะการรับหมึกน้อยมาก ๆ             3. ไม่เหมาะกับการเคลือบพลาสติก(Poly Lamination)            4. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้             5. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             6. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             7. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 4. กระดาษเคลือบ แบบมีลาย A. กระดาษอาร์ตอัดลาย (Embossed Coated Paper) เป็นกระดาษที่มีการเคลือบหน้าแป้งแล้วนำมาปั้มลายนูนทีหลัง ได้แก่ กระดาษ Raster            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)            2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดและลายนูน ทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป            6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น B. กระดาษลายนูนเคลือบแป้งชนิดบางเบา (Slightly Coated Paper) เป็นกระดาษลายนูนที่มีการเคลือบหน้าแป้งบางๆ เพื่อทำให้ผลของการพิมพ์รับหมึกดีขึ้น ได้แก่ กระดาษ Insize Chagall            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)            2. สามารถพิมพ์ 4 สีได้ดีเหมือนกระดาษหน้าแป้ง แต่อัตราการแห้งตัวของหมึกจะมากกว่า            3. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดและลายนูน ทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ            4. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            5. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            6. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            7. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่นถ้าน้ำหนักปั้มกดทับมากเกินไป แหล่งที่มา : www.paperlandonline.com
1 มกราคม 2557     |      3444
ความรู้ในงานสิ่งพิมพ์
ความรู้ทั่วไปในงานสิ่งพิมพ์ ชนิดกระดาษ  1. กระดาษอาร์ต ลองหยิบนิตยสารขึ้นมาดูสักเล่ม นิตยสารเกือบร้อยทั้งร้อยมักจะใช้กระดาษอาร์ตเป็นปก รวมทั้งหน้าในที่พิมพ์สี่สีด้วย กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ มีทั้งอาร์ตด้าน และ อาร์ตมัน เหมาะสำหรับพิมพ์งานสี่สี ยิ่งถ้าเคลือบผิวเข้าไปยิ่งสวยจะเคลือบให้ดูมันวาว หรือเคลือบด้านก็ได้ มีความหนาหลายระดับ มีตั้งแต่บางๆใช้ทำฉลากเช่นฉลากปลากระ ป๋อง ไปถึงหนาๆ แข็งๆ เช่น ปกนิตยสาร นอกจากนี้กระดาษอาร์ตยังเหมาะสำหรับงาน พวกโปสเตอร์ โบรชัวร์ ต่างๆด้วย แต่กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง 2. กระดาษปอนด์ ตัวอย่างกระดาษปอนด์ก็ เช่น หน้าในของสมุดที่นักเรียนนักศึกษาใช้ หรือไม่ก็หน้าในของ นิตยสารที่พิมพ์ขาวดำ กระดาษปอนด์เป็นกระดาษที่เนื้อแน่นพอสมควร แต่จะไม่เท่ากับ กระดาษอาร์ต ฉีกขาดง่ายกว่า ทนความชื้นน้อยกว่า ใช้พิมพ์สี่สีก็ได้ แต่ไม่สวยเท่ากระ อาร์ต แต่เขียนง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ ที่สำคัญราคาถูกกว่ากระดาษอาร์ตมาก พวก หนังสือพิมพ์ธุรกิจ เช่น ประชาชาติ ฐานเศรษฐกิจ ก็ใช้กระดาษชนิดนี้เหมือนกัน 3. กระดาษปรู๊ฟ ลองจับกระดาษหนังสือพิมพ์ดู เป็นหนังสือพิมพ์ทั่วไป เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ พวกนี้เป็น กระดาษปรู๊ฟ เนื้อจะฟู หลวม สีไม่ขาวมาก ออกไปทางเหลืองด้วยซํ้า ไม่ค่อยทนความชื้น ฉีกขาดง่าย พิมพ์สี่สีก็พอได้แต่ไม่สวยเท่าสองชนิดแรก แล้วพิมพ์ยากกว่าด้วย แต่ก็มีข้อดี คือราคาถูกกว่าสองชนิดแรก 4. กระดาษแบงค์ กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า จะใช้สำหรับพิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิวก็พอไหว 5. กระดาษแอร์เมล์ เนื้อบางมาก นิยมใช้พิมพ์ใบบิลเช่นกัน 6. กระดาษเคมี กระดาษชนิดนี้เคลือบสารเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วจะติดที่กระดาษแผ่นล่างด้วยเรียก ง่ายๆก็กระดาษก็อปปี้ในตัว บิลสมัยใหม่ไม่ต้องแทรกกระดาษคาร์บอนแล้ว 7. กระดาษพีวีซี ลักษณะคล้ายๆพลาสติก ฉีกขาดยาก ทนความชื้นได้ดีมาก นิยมใช้ทำนามบัตรโดยเฉพาะ การนับสี  เวลาจะให้โรงพิมพ์คิดราคา โรงพิมพ์จะต้องถามว่าพิมพ์กี่สี เพราะจำนวนสีที่พิมพ์มีผล โดยตรงต่อราคา การนับสีจะนับเฉพาะสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ ตัวอย่างเช่น ใบเสร็จรับเงินพื้นสีฟ้า พิมพ์ตัวหนังสือสีดำและเส้นเป็นสีเทา อย่างนี้เรียกว่าพิมพ์ 1 สี สี ฟ้าไม่นับเพราะเป็นสีของกระดาษ ส่วน สีเทาก็คือสีดำที่พิมพ์ให้มีนํ้าหนักอ่อนลง รวม แล้วทั้งเทาและดำก็นับเป็นสีเดียว พิมพ์ 1 สี  การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่ม ทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์ สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลาย ระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆก็จะ ได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียวนี่แหละ พิมพ์หลายสี  การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลาย สี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำกับแดง หรือดำกับ นํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรง พิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย พิมพ์สี่สี (แบบสอดสี)  ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อยกี่ พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตามที่ ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้องใช้ แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกัน ออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้านสีเลย พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นใน นิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่ ลองดูตัวอย่างดีกว่า การเข้าเล่ม  การเข้าเล่มไม่มีอะไรซับซ้อน ขอแนะนำแบบต่างๆที่นิยมใช้กันดังนี้ 1. เข้าเล่มกาวหัว การเข้าเล่มแบบนี้ใช้สำหรับพวกใบเสร็จต่างๆ หรือไม่ก็พวกสมุดฉีก กระดาษโน้ต memo เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้โดยเฉพาะ วิธีการก็ง่ายมาก เอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้ง แล้วเอากาวลาเท็กซ์ ทาที่ขอบด้านบน ที่สัน ตรงหัว กระดาษนั่นแหละ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ "กาวหัว" 2. เข้าเล่มแบบไสกาว(ไสสันทากาว) ลองดูการเข้าเล่มของนิตยสารดูสิ เข้าเล่มแบบไสกาวทั้งนั้น พวกพ็อคเก็ตบุคส์ หนังสือ เรียน ส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้น เพราะราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แค่พอใช้ได้  นิตยสารเล่มหนา เปิดไปเปิดมาจะมีหน้ากระดาษหลุดออกมาเป็นแผ่นๆ ยิ่งพยายาม กางหนังสือออกมากๆก็จะหลุดง่าย การเข้าเล่มแบบนี้กางหนังสือออกได้ไม่มาก พอ ปล่อยมือหน้ากระดาษจะดีดกลับ หุบเข้ามาเหมือนเดิม ถ้ากางมากๆ( เช่น เวลาเอา ไปถ่ายเอกสาร) ก็มักจะหลุดออกจากกัน วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว เขาจะนำกระดาษที่เรียง หน้าเป็นเล่มแล้ว มาไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาว ที่ต้องไสสันก่อนก็เพื่อให้ กาวแทรกซึมเข้าไป การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นเป็นที่มาของคำว่า "ไสกาว" 3.การเข้าเล่มแบบเย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา แบบนี้ง่าย นิยมใช้เย็บสมุดของนักเรียนนักศึกษา หรือหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่ เกิน 60 หน้า หรืออย่างมากก็ 80 หน้า วิธีการก็คือ เอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับ ครึ่งตามแนวตั้ง จากนั้นใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บ เป็นอันจบพิธี 4.เข้าเล่มแบบเย็บกี่ การเข้าเล่มแบบเย็บกี่นี่ทนสุดๆกางออกได้มาก ลองดูพวก พจนานุกรม ดิคชันนารี สารานุกรมเล่มใหญ่ๆ จำนวนหน้ามากๆ บางเล่มเป็นพันหน้าก็มี เขาเข้าเล่มด้วยการ เย็บกี่ทั้งนั้น วิธีการก็ยุ่งยากพอสมควร โดยเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกออกเป็นส่วนย่อย หลายๆส่วน แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือน เย็บอกในข้อสาม แต่ใช้ด้ายเย็บ จาก นั้นเอาเล่มย่อยๆมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้น คำศัพท์ทางการพิมพ์  เพลท = แม่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ตแม่พิมพ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ เคลือบด้วยสารเคมีบางอย่าง จะเป็นสารอะไรบ้างคงไม่ต้องลงลึกถึงขั้นนั้น แต่ที่ ต้องรู้ไว้ก็คือ ต้นทุนในการทำแม่พิมพ์เป็นต้นทุนคงที่ เช่น แม่พิมพ์ 4 สี สมมติว่าต้นทุน 10,000 บาท ถ้าคุณพิมพ์ โปสเตอร์ 1 ใบก็ต้องเสียค่าแม่พิมพ์ 10,000 บาท แต่ถ้าพิมพ์ 1,000 ใบค่าแม่พิมพ์เฉลี่ยแล้วเหลือใบละ 10 บาท  ดังนั้นถ้า พิมพ์ยอดน้อยๆก็ต้องทำใจว่า ต้นทุนต่อหน่วยค่อนข้างจะสูง ใบชุด = จำนวนสำเนาของใบเสร็จแต่ละชุด (รวมต้นฉบับ) คือเวลาพิมพ์ใบเสร็จ 1 เล่ม จะมี 50 ชุด แต่ละชุดจะมีสำเนา ถ้าบอกว่าใบเสร็จ 4 ใบชุด หมายถึงใบเสร็จแต่ละชุด (แต่ละเลขที่) จะมี สำเนา 3 ใบรวมต้นฉบับเป็น 4 ใบ เจียน = คือการตัดขอบกระดาษที่เผื่อไว้ในตอนพิมพ์ออก โดยปกติเวลาพิมพ์งาน โรง พิมพ์จะพิมพ์กระดาษแผ่นใหญ่แล้วค่อยมาตัดแบ่งออกเป็นชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ เช่น โบรชัวร์ขนาด A4 โรงพิมพ์อาจจะพิมพ์ครั้งละ 8 หน้าแล้วค่อยมาตัดแบ่งเป็น A4 ภายหลัง ในการตัดแบ่งนี่แหละที่จะต้องตัดขอบออก อาจจะตัดหยาบๆออกเป็น 8 แผ่น ก่อน ตัดมาแล้วขนาดอาจจะยังไม่ถูกต้องดี เช่น ใหญ่กว่าสัก 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นจึง ต้องเอาแต่ละแผ่นมาตัดละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ที่เล่ามาทั้งหมดนี่แหละค่ะที่เรียกว่า "เจียน" ไดคัท = มีสองความหมาย ความหมายแรก คือการตัดขอบกระดาษแต่ไม่เหมือนกับการเจียน การเจียนจะตัดเป็น เส้นตรง ส่วนไดคัท เป็นการตัดขอบตามรูปทรงต่างๆ จะหยักจะโค้งอย่างไรก็ได้ ค่าใช้ จ่ายจะสูงกว่าการเจียน ความหมายที่สอง คือการลบฉากหลังของภาพออก เช่น ถ่ายภาพบ้านจัดสรรมาแล้ว ฉากหลังไม่สวยงาม จึงลบฉากหลังออกเพื่อนำไปวางลงบนฉากหลังอื่น หรือไม่เช่นนั้น ก็ปล่อยให้เป็นฉากหลังขาว พิมพ์กี่สี = การนับจำนวนสี นับจากสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ เช่นกระดาษพื้นมี ชมพู พิมพ์สีดำ อย่างนี้เรียกพิมพ์ 1 สี ในงานพิมพ์อาจจะมีสีเทาอ่อน เทาแก่ก็นับเป็นสี เดียว เพราะเป็นการลดนํ้าหนักสี แต่หมึกที่ใช้เป็นหมึกสีดำ กระดาษเคมี = เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเสร็จที่เขียนด้านบนแล้ว จะติดลงไปถึงแผ่น ที่อยู่ด้านล่างด้วย โดยไม่ต้องใช้กระดาษคาร์บอน หรือจะเรียกว่ากระดาษก็อปปี้ในตัว ก็ได้  ที่มา http://www.artnana.com/articles/view.php?topic=40
1 มกราคม 2557     |      3982
การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโปสเตอร์โปสเตอร์ (poster) เป็นแผ่นภาพโฆษณา หรือประกาศบอกข่าวสารที่มีมาแต่สมัยโบราณ เช่น ที่ชาวฟินิเชียน และชาวเมืองปอมเปอิ ได้วาดภาพบนผนังข้างนอกอาคารร้านค้าของตนเพื่อบอกกล่าวว่าร้านตนเป็นร้านขาย จนมปัง ไวน์ หรือเครื่องปั้นดินเผา นับได้ว่าโปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารที่สำคัญในสมัยโบราณอีกประการหนึ่ง นอกเหนือไปจากการบอกข่าวบ่าวร้องด้วยคำพูดจากปาก ต่อมาเมื่อถึงยุคกำเนิดการพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์ใบปลิวเผยแพร่ข่าวสารขึ้น โปสเตอร์ ก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาเป็นรูปแบบใบปลิวด้วย และเมื่อมีการค้นพบวิธีการพิมพ์หินขึ้นอีกในประเทศเยอรมนี ก็เป็นการเปิดทางแนวใหม่ให้โปสเตอร์เปลี่ยนรูปลักษณะมาเป็นโปสเตอร์ใน ปัจจุบัน คือทำให้ให้สมาชิกสามารถพิมพ์เป็น “รูปภาพ” ออกมาได้คราวละเป็นจำนวนมาก            โปสเตอร์ ได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่โปสเตอร์มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านศิลปะการออกแบบ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเทคนิควิธีการผลิต โปสเตอร์ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ในกิจกรรมนานา ประการ เช่น ส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา และดนตรี โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดเล็กใช้ได้ทั้งเป็นสื่อสำหรับการโฆษณา และเป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องมีผู้นิยมกันถึงขั้นสะสมกันเหมือนกับสะสม แสตมป์ เนื่องจากอิทธิพลของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของดารานักร้องที่มีกลุ่มแฟนคลับสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมาก เพื่อจำหน่ายให้แฟนเพลงวัยรุ่นที่ยอมรับโปสเตอร์ ในลักษณะเป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะซึ่งแสดงออกถึงวัฒนธรรมของกลุ่มวัยของเขา             จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ โปสเตอร์ยังคงมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในวงการโฆษณาสินค้า นอกจากวงการโฆษณาแล้ว โปสเตอร์ยังเป็นประโยชน์กับวงการอื่น ๆ อีกมาก เช่น วงการการเมือง การกุศล มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น เพราะโปสเตอร์เป็นช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารที่มีประสิทธิภาพช่องทางหนึ่งใน ท่ามกลางช่องทางการสื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในสังคมปัจจุบันขนาดรูปทรงและประเภทของโปสเตอร์            โปสเตอร์มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ใช้แขวนหรือปิดประดับผนังห้อง ปิดตามที่สาธารณะ ตู้โชว์สินค้าตามร้านค้า ติดประกาศบนกำแพง ไปจนถึงขนาดใหญ่มากหลายสิบฟุตที่ติดตั้งริมถนนหนทาง หรือบนผนังตึกใหญ่ ๆ            นอกจากนี้โปสเตอร์ยังมีรูปทรงหลายแบบ เช่นแบบปกติที่เป็นลักษณะกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง จนถึงรูปทรงที่ผิดแปลกออกไปจากรูปกรอบทรงเรขาคณิตคือใช้ลักษณะของรูปภาพเป็น กรอบไปในตัว เช่น รูปทรงต้นไม้ รูปทรงของร่างกาย            ส่วนประเภทของโปสเตอร์นั้น ถ้าเราจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้หรือเนื้อหาของข่าวสารที่ปรากฎ เราก็จะได้ประเภทโปสเตอร์เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการ และโปสเตอร์ซึ่งมิใช่เพื่อการค้า เช่น โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์เพื่อการกุศล เป็นต้น แต่ถ้าเราจะจำแนก            ประเภทโปสเตอร์ตามลักษณะสถานที่ตั้งโปสเตอร์ เราก็จะได้โปสเตอร์ที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น บิลล์บอร์ด(Billboard) ในวงการโฆษณา ซึ่งหมายถึงโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งไว้ตามข้างถนนหนทาง หรือตั้งไว้บนกำแพงผนังตึกริมถนน คำว่า บิลล์บอร์ด นี้มีที่มาจากวงการโฆษณาในประเทศ            สหรัฐอเมริกาตอนต้น ค.ศ.1900 เมื่อกิจการร้านค้าต่าง ๆ ได้เช่าพื้นที่บนกระดานไม้ (board) ไว้คอยติดประกาศข้อความโฆษณาของตน (bill) ถึงแม้ว่าในสมัยปัจจุบันนี้ แผ่นกระดานไม้ที่ปิดป้ายโฆษณาจะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นไปแล้ว เช่น อะลูมิเนียมแต่ศัพท์คำว่า บิลล์บอร์ด นี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ตลอดมา            โปสเตอร์ประเภทที่ปิดไว้ตามยวนยานพาหนะที่เป็นบริการสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทาง นั้นเรียกว่า คาร์การ์ด(car cards) ซึ่งปิดไว้ได้ทั้งข้างในรถ ที่ปิดไว้ท้ายรถภายนอกมักจะเรียกว่า บัสแบค(bus back) และถ้าปิดด้านข้างจะเรียกว่า บัสไซด์ นอกจากตามยานพาหนะแล้ว ยังมีโปสเตอร์ซึ่งปรากฎปิดอยู่ตามที่สาธารณะอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสารประจำทาง ป้ายรถประจำทาง องค์ประกอบของโปสเตอร์             โปสเตอร์โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือเป็นประเทศใดก็ตาม จะมีองค์ประกอบดังนี้ รูปภาพของสินค้า หรือบริการหรือเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร มีถ้อยคำที่เป็นตัวอักษรประกอบ ซึ่งโดยมาเป็นข้อความที่ไม่ยาวนัก ชื่อของผู้เป็นสปอนเซอร์ หรือผู้ที่ผลิตโปสเตอร์นั้น สำหรับโปสเตอร์โฆษณาสินค้า ในบางครั้งก็อาจเพิ่มเติม เครื่องหมายการค้า (trade mark) หรือคำขวัญเข้าไปด้วยๅ ข้อควรคำนึงถึงก่อนการลงมือออกแบบโปสเตอร์             โปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างไป จากสื่อสิ่งพิมพ์อื่นคือ โปสเตอร์ติดอยู่กับที่ที่ติดตั้ง ต้องรอคอยให้ผู้ดูเป็นฝ่ายเดินทางไปถึงจุดที่ตั้งแสดงอยู่ ในขณะที่สื่ออื่น ๆ เช่นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ จะเสนอเนื้อหาข่าวสารไปถึงผู้อ่าน ผู้ชม ในที่อยู่อาศัยโดยตรง ดังนั้นงานสำคัญที่ผู้ออกแบบโปสเตอร์จะต้องพยายามทำให้สำเร็จก็คือจะต้อง สร้างและยึดความสนใจของผู้ที่มองเห็นโปสเตอร์แล้วให้ได้ตั้งแต่เขาชายตา ชำเลืองมองในครั้งแรกหัวใจสำคัญของวิธีการที่จะจับความสนใจผู้ดูโปสเตอร์ นั้นก็คือ ความง่าย (simplicity) และความตรงไปตรงมา (directness) ในการสื่อสาร ความง่ายในที่นี้หมายถึง ความง่ายที่เข้าใจในองค์ประกอบของโปสเตอร์ โดยเฉพาะองค์ประกอบสำคัญก็คือส่วนที่เป็นภาพ และส่วนที่เป็นถ้อยคำ ตัวอักษร ที่ประกอบกันแล้วจะต้องสอดคล้องกันเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและประทับใจวิธีที่จะทำให้โปสเตอร์ดูเข้าใจได้ง่ายมีดังนี้            1. องค์ประกอบส่วนที่เป็นภาพ ควรเป็นภาพจำลองของจริง ซึ่งเมื่อมองเห็นแล้วก็ สามารถเข้าใจได้ทันที ไม่ควรเป็นภาพที่แสดงระดับงานศิลป์ที่สูงส่ง ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะเป็นพื้นฐานลึกซึ้งเพียงพอที่จะเข้าใจ ได้ และไม่ควรเป็นภาพประเภทแอบสแทรค (abstract) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลแปลความหมายของภาพไปได้นานาประการ            2. เป็นภาพจำลองของจริงซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนในลักษณะขยายใหญ่ (closeup) เฉพาะในส่วนที่เป็นหัวใจของเรื่องที่ต้องการเสนอ ผู้ดูจะรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพห่างไม่กี่ฟุตทั้งที่โดยความจริงแล้วอาจจะยืน ดูภาพอยู่เป็นระยะทางไกลหลายช่วงตึกก็ได้            3. ในส่วนที่เป็นตัวอักษร ควรคำนึงถึงเรื่องหลักของการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ เช่น การใช้สีตัดกันของตัวอักษรกับพื้นภาพ ตามหลักควรให้ตัวอักษรเป็นสีเข้ม ส่วนพื้นที่เป็นสีอ่อนดีกว่าจะใช้ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นสีเข้ม สีที่ดีที่สุดของตัวอักษรสำหรับโปสเตอร์ที่จะทำให้เห็นได้ชัดและอ่านได้ง่าย โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องมองดูในระยะไกล คือตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง            4. ในการเลือกแบบตัวอักษร ไม่ควรเลือกแบบตัวอักษรที่มีลักษณะผอมสูง และไม่ควรให้ช่องไฟเบียดติดกัน สำหรับขนาดก็ควรใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่ ๆ ได้สัดส่วนกับพื้นที่และองค์ประกอบอื่น หากจำเป็นจะต้องวางตัวอักษรทับไปบนส่วนที่เป็นภาพ ไม่ควรให้พื้นภาพบริเวณที่ ตัวอักษรจะทบลงไปนั้นเป็นลวดลาย เราะจะทำให้เห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน ไม่สะดวกกับการอ่าน ที่มา : http://viriya.sru.ac.th  
4 ตุลาคม 2555     |      6271
เกร็ดความรู้เรื่อง โหมดสี
โหมดสี (Color Mode) โหมดสีมีด้วยกันหลายโหมด แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้งานกันบ่อยๆ แล้วจะมีอยู่ 4 โหมด ดังนี้ 1. โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง, สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งการสร้างงานกราฟฟิคนั้น เราจะใช้โหมด RGB นี้เป็นหลัก โหมด RGB นี้สีจะเกิดขึ้นจากการผสมแสงสามสี ให้เกิดเป็นจุดสี ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเห ของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วงและต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลืองและถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาวจากคุณสมบัติของแสงนี้ เราได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น 2. โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) (โหมดสีนี้เป็นโหมดสีสำหรับงานพิมพ์ออฟเซ็ท) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ โหมดสีนี้จะใช้ในการเตรียมพิมพ์การพิมพ์สี่สี ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงินแต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan) แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(Magenta) แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี(CMYK) ระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100% 3. โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำแต่จะมีระดับความเข้มของสีดำ 255 ระดับ รวมกับสีขาวอีกหนึ่งสี ในโหมดนี้ก็จะมีเพียง 256 สี 4. โหมด Indexed Color คือ โหมดสี 8 bit channel หรือ 256 สี (2 ยกกำลัง 8 = 256 สี) โดยไม่มีการกำหนดตายตัวว่าสีทั้ง 256 สีนั้นจะต้องเป็นสีใดๆ บ้าง ซึ่งเราสามารถกำหนดชุดสีที่ใช้ ว่าจะใช้สีใดๆ บ้าง (แต่ต้องไม่เกิน 256 สี) ที่มา http://www.bangkokprint.com
3 มกราคม 2555     |      2026
การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์ ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ มีความสดใส สวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณภาพอีกด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด ทฤษฎีของสี อารมณ์และความรู้สึกจะเป็น ตัวกำหนดความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีของแต่ละคน แต่ละกลุ่มเป้าหมายมีส่วนที่จะชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจ และเข้าใจถึงคุณค่าของภาพเหล่านั้นสามารถตอบสนองแรงกระตุ้นได้ตามวัตถุ ประสงค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบมีทฤษฎีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องของสี ที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่าง ในเรื่องของความหมายและอิทธิพลของสีที่มีต่อการรับรู้ต่อการมองเห็นภาพที่ ปรากฏ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย วงล้อสีธรรมชาติ ในส่วนของวงล้อสีธรรมชาติมีรายละเอียด ดังนี้            * มีทุกสีในวงล้อสีเป็นสีแท้หรือฮิว เพราะทุกสีจะมีความเข้มหรือความสดในในตัวของมันเอง ซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี            * เมื่อนำสีทุกสีมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน จะทำให้เกิดเป็นสีที่เป็นกลางหรือนิวทรัล            * สีที่อยู่ใกล้กันจะมีความกลมกลืนกัน เพราะเป็นการผสมสีจากสีร่วมกัน            * สีที่ตรงกันข้ามกันในวงล้อจะมีลักษณะของสีที่ตัด กัน โทนของสี โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอยู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ            1. โทนสีร้อน (warmtone)            2. โทนสีเย็น (cooltone) จิตวิทยาในการเลือกใช้สี สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่มีความแตกต่าง หลากหลายของสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ หลักการพิจารณาในการเลือกใช้สี  การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้งานนั้นมีความสวย งามน่าดู น่าชม หรือส่งเสริมให้เนื้อหาสาระที่นำเสนอมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งคนแต่ละวัยจะมีความสนใจกลุ่มสีที่แตกต่างกันที่มา : http://pdc.ac.th
11 เมษายน 2560     |      5861
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
กว่าจะมาเป็น e-Book            หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ  ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้            การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต      เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป ความหมายของ e-Book        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์         คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไปโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Bookโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่ 1. โปรแกรมชุด Flip Album 2. โปรแกรม DeskTop Author 3. โปรแกรม Flash Album Deluxe      ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย 1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer 1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader 1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player                      ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป   ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น 1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ 2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี     ภาพเคลื่อนไหวได้ 3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้ 4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล      (update)ได้ง่าย 5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก    ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้ 6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ      ประหยัด 7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์     สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด 8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง    หน้าจอคอมพิวเตอร์ 9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ    สั่งพิมพ์ (print)ได้ 10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน      ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต) 11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ     จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD 12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)      ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1. หน้าปก (Front Cover)  หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง 2. คำนำ (Introduction)        หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น  3. สารบัญ (Contents)       หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย               • หน้าหนังสือ (Page Number)             • ข้อความ (Texts)             • ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff             • เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi             • ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi             • จุดเชื่อมโยง (Links) 5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้ 6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร     ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง 7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่มบทความนี้เขียนโดย ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ อ้างอิงจากหนังสือ "กลยุทธ์การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมืออาชีพ"
10 กุมภาพันธ์ 2556     |      17147
เรื่องของหนังสือ
หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ อีบุ๊ก (e-book)อ่านต่อหนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ อีบุ๊ก (e-book)การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อวิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิมหลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อโทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกันประเภทของหนังสือแบ่งตามการเผยแพร่ เช่นนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์แบ่งตามเนื้อหา เช่น หนังสือแบบเรียน หนังสือการ์ตูน หนังสือราชการ หนังสือภาพการผลิตหนังสือหนังสือในปัจจุบันส่วนใหญ่จัดทำโดยวิธีการพิมพ์ โดยมีเทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ การผลิตหนังสือจำนวนมากมีแหล่งผลิตเรียกว่าโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หนังสือบางส่วนที่ผลิตโดยใช้คนทำเรียกว่าหนังสือทำมือการจัดเก็บหนังสือในสถานที่สำคัญเช่นโรงเรียน มีการจัดเก็บหนังสือไว้ในห้องสมุดเพื่อให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ โดยใครอ่านหนังสือมากๆ ก็จะเรียกว่าหนอนหนังสือส่วนบางคนที่ชอบการสะสมหนังสือจะมักจัดเก็บหนังสือบนชั้นวางหนังสือ หรือ ตู้หนังสือหนังสือในประเทศไทยประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 เฉลี่ยมีหนังสือใหม่ออกมาสู่ตลาดประมาณเดือนละ 995 ชื่อเรื่อง หรือประมาณ 11,460 ชื่อเรื่องทั้งปี ซึ่งยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทั่วประเทศมีร้านขายหนังสือประมาณ 1900 ร้าน และมีสำนักพิมพ์ประมาณ 500 แห่ง ร้านขายหนังสือที่เปิดเป็นสาขาในประเทศไทยเช่น ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านนายอินทร์, B2S, ดอกหญ้า และ ซีเอ็ดบุคส์เซนเตอร์ เป็นต้น สำนักพิมพ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในไทยปริมาณมากได้แก่ นานมีบุ๊คส์, แพรวสำนักพิมพ์, มติชน, สำนักพิมพ์ใยไหม, แจ่มใสพับลิชชิ่ง เป็นต้น งานมหกรรมหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากที่มา : วิกิพีเดีย
11 มกราคม 2554     |      1733
กระดาษถนอมสายตา
กระดาษ ถนอมสายตา เป็นกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว สีของกระดาษจะออกสีตุ่นๆ ไม่ขาวจั๊วะเหมือนกระดาษขาวทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษถ่าย เอกสาร, กระดาษคอมพิวเตอร์, กระดาษแอร์เมล์ เป็นต้น แต่แตกต่างตรงกรรมวิธีการผลิต(อ่านต่อ)กระดาษถนอมสายตา(Green read)กระดาษ ถนอมสายตา เป็นกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว สีของกระดาษจะออกสีตุ่นๆ ไม่ขาวจั๊วะเหมือนกระดาษขาวทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษถ่าย เอกสาร, กระดาษคอมพิวเตอร์, กระดาษแอร์เมล์ เป็นต้น แต่แตกต่างตรงกรรมวิธีการผลิต            เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกเยื่อกระดาษ การเตรียมเยื่อ แล้วผ่านกระบวนการผลิตที่ควบคุมค่าพิเศษ รวมทั้งการควบคุมสีที่ต่างจากกระดาษขาวทั่วไป ...ส่งผลให้กระดาษถนอมสายตา มีคุณสมบัติพิเศษที่อ่านสบายตาถนอมสายตา พื้นผิวของกระดาษไม่เนียนละเอียด มีTexture, มี ความทึบแสง, มีความฟู (Bulk) แต่มีน้ำหนักเบา และสามารถเก็บรักษากระดาษได้นาน โดยสภาพกระดาษและสีดูไม่เก่า จึงเหมาะกับการนำไปพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นชีท เช่น แบบเรียนทั่วไป นวนิยาย หนังสือวิชาการ หรือเอกสารวิชาการ            สำหรับการพิมพ์พ๊อกเก็ตบุ๊ค เนื่องจากกระดาษถนอมสายตามีความฟูและทึบแสงมากกว่ากระดาษปอนด์แกรมเดียวกัน ดังนั้นเมื่อสำนักพิมพ์ เลือกใช้กระดาษถนอมสายตาขนาด 65 แกรม แทนกระดาษปอนด์ 80 แกรม เพื่อพิมพ์เป็นพ๊อกเก็ตบุ๊ค จะทำให้ได้หนังสือที่มีรูปเล่มที่ฟูหนาเท่ากับพ๊อกเก็ตบุ๊คกระดาษปอนด์ 80 แกรม แต่จะมีน้ำหนักเบากว่า อันจะส่งผลดีต่อรูปเล่มที่ฟูหนาสวยงาม และมีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการพกพาของผู้อ่าน ขนาดของกระดาษถนอมสายตาเมื่อตอนผลิตออกมา จะมีขนาดม้วนเหมือนกับกระดาษทั่วไป หากจะตัดขนาด ก็มีขนาดใหญ่ A0 เช่นเดียวกัน และที่มีขายเป็นขนาดกระดาษ A4 (1 รีม 500 แผ่น)ก็ มี ส่วนหนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค คือกระดาษ A0 ที่ถูกตัดขนาดให้ เหลือขนาดเท่ากับ A5 ข้อดีของกระดาษถนอมสายตาเป็นกระดาษสีเหลืองอ่อน นวลตา ผิวของกระดาษที่ไม่เรียบ, ความสว่างของสีมีปริมาณน้อย, ดูด กลืนแสงในช่วงแสงสีน้ำเงินได้ดี, ทำให้ลดการสะท้อนแสงเข้าตา ประมาณ15 % ซึ่งช่วยทำให้ถนอมสายตา อ่านหนังสือได้นาน และยิ่งความหนาแน่นเสมือน ของกระดาษที่ต่ำ ก็ยิ่งทำให้แสงถูกดูดกลืนได้มากขึ้นด้วย ตำราเรียนของต่าง ประเทศส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษถนอมสายตา เช่น ประเทศสิงคโปร์, ญี่ปุ่น สีของกระดาษ จะคงทน ไม่คล้ำ หรือไม่เปลี่ยนสี ทำให้หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษชนิดนี้ ไม่ดูเก่าลง มีน้ำหนักเบาแต่ฟูกว่ากระดาษปอนด์ขาวทั่วไป ทำให้เมื่อพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม จะดูหนากว่า น่าจับต้องกว่า แต่มีน้ำหนักเบากว่า พกพาสะดวกกว่า....หากเทียบกับกระดาษปอนด์ขาว ที่จำนวนแกรมเท่ากัน กระดาษถนอมสายตาจะมีน้ำหนักเบากว่า 30% ที่มา : http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/169509
1 มกราคม 2557     |      1756
ทั้งหมด 2 หน้า