งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press

 

 

ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่ 

บรัดเลย์  โดย  แดน บีช แบรดลีย์  พ.ศ. 2384 – 2411

ปฐมบทของการพิมพ์และการออกแบบตัวพิมพ์ของไทย เริ่มขึ้นเมื่อนายแพทย์ แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล และมิชชันนารีคณะแบปติสต์จากสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ เขาได้ก่อตั้งโรงพิมพ์และจัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวพิมพ์ภาษาไทย ในปีพ.ศ. ๒๓๘๒ กิจการหนังสือพิมพ์และโรงพิมพ์ของคณะฯ เจริญเติบโตจนเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว มีการออกหนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม และสั่งซื้อแท่นพิมพ์เพิ่มขึ้นในปีต่อๆ มานั่นคือช่วงเวลาหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาเบอร์นี่ และสยามประเทศอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ในด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาการ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ เครื่องจักรไอน้ำ และสิ่งประดิษฐ์นานาชนิด กำลังหลั่งไหลเข้ามา ในด้านความรู้และภูมิปัญญา สังคมไทยกำลังเผชิญกับการท้าทายของแนวคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบกฎหมาย แบบแผนประเพณี ตลอดจนความหมายของชุมชนที่จะเรียกกันว่า ชาติหนังสือและตัวพิมพ์ซึ่งเป็นผลงานของแบรดลีย์คือที่รวมของความเปลี่ยน แปลงทั้งสองด้านนั้น ในด้านเทคโนโลยี มันเป็นแบบอย่างของการผลิตซ้ำอย่างกลไกด้วยเครื่องจักรประสิทธิภาพการพิมพ์ ในสมัยนั้นช่วยย่นย่อระยะเวลา และขจัดข้อผิดพลาดของการทำงานแบบเก่าซึ่งในที่นี้ก็คือการคัดลอกด้วยมือใน ด้านความรู้และภูมิปัญญา เนื้อหาของสิ่งพิมพ์อันได้แก่ หนังสือสอนศาสนาคริสต์ ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนภูมิ-ดาราศาสตร์ได้เข้ามาสั่นคลอนรากฐานความรู้และคติความเชื่อเดิม ของสังคมไทย นอกจากนั้น บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยของเขา ยังได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาด้วย

กำเนิดตัวพิมพ์ไทย : เส้นทางอันยอกย้อน

กำเนิดตัวพิมพ์ไทยมีความซับซ้อนที่น่าสนใจ ก่อนยุคของ แบรดลีย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานยุคแรกสุดเช่นหนังสือ James Low’s Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แนนซี่ ยัดสันและ ช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่าในราวพ.ศ.๒๓๗๐ เข้าใจว่าในเวลาต่อมา เมื่อแบรดลีย์เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน ตัวพิมพ์ชุดนี้ก็ถูกนำเข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ แบรดลีย์รับจ้างราชการไทยจัดพิมพ์เอกสารที่เรียกกันว่า แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น ขึ้นตามพระราชโองการของรัชกาลที่ ๓ เพื่อแจกจ่ายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร เอกสารชิ้นนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ เข้าใจว่าคณะมิชชันนารีได้ส่งคนในคณะฯ ไปดูแลการทำแม่แบบที่ปีนัง และนำไปหล่อที่มะละกาการหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทยทำสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ แบบตัวชุดนี้มีความสวยงามกว่า และมีขนาดเล็กกว่าที่เคยสั่งหล่อจากสิงคโปร์ หนึ่งในสิ่งพิมพ์ชิ้นแรกๆ ที่ใช้ตัวเรียงพิมพ์ที่หล่อเป็นครั้งแรกในเมืองไทยคือ หนังสือของแบรดลีย์เอง ชื่อ คำภีร์ ครรภ์ทรักษา, แปลย่นความออกจากกำภิร์ครรภ์ทรักษา แห่งแพทย์หมออะเมริกา. ส่วนตัวพิมพ์ที่เรียกกันว่า “บรัดเลเหลี่ยม” นั้นเป็นผลงานรุ่นถัดมา ปรากฏการใช้เป็นครั้งแรกใน บางกอกรีคอร์เดอร์ หรือหนังสือจดหมายเหตุฯI ซึ่งออกในปี พ.ศ.๒๓๘๗ ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย

 (ชื่อตัวพิมพ์ดังกล่าวตั้งขึ้นในภายหลังโดย กำธร สถิรกุล ใน ตัวหนังสือและตัวพิมพ์)

เมื่อตัวพิมพ์ยืดตัวตรง และโครงสร้างถูกจัดระเบียบ

แบบอักษรของบรัดเลเหลี่ยมนั้นถ่ายทอดมาจากตัวเขียนลายมืออย่างไม่ต้อง สงสัย ตัวเขียนที่แบรดลีย์ใช้เป็นต้นแบบ สันนิษฐานได้ว่ามาจากลายมือแบบอาลักษณ์ เราอาจพบลายมือคล้ายกันนี้ปรากฏอยู่ในสมุดข่อยซึ่งเขียนขึ้นในยุคต้นรัตน โกสินทร์หลายเล่มหากเอาบรัดเลเหลี่ยมมาเปรียบเทียบกับตัวพิมพ์รุ่นก่อนหน้า นั้น ก็จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก บรัดเลเหลี่ยมมีรูปทรงตั้งตรง ตัวรุ่น คำภีร์ ครรภ์ทรักษาฯ ยังเป็นแบบเอนไปข้างหลัง โครงสร้างอักษรของตัวคำภีร์เริ่มชัดเจนแต่ยังไม่ค่อยมีเอกภาพ เช่น เส้นตั้งไม่ได้ขนานกันอย่างสมบูรณ์ ตัว ก ไก่ อ้วนมาก การม้วนของ ห หีบ เป็นเส้นเหลี่ยม หรือถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับรุ่นของยัดสัน จะเห็นว่ารุ่นนั้นถ่ายทอดมาจากลายมือแบบหวัดแกมบรรจง ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน เช่น มีตัวหนังสือที่โย้หน้าบ้างโย้หลังบ้างการแกะตัวพิมพ์เป็นศิลปะอีกแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากการเขียน ถ้าการเขียนหรือจารเป็นงานจิตรกรรม การแกะพั้นช์ แกะแม่ทองแดง และหล่อตัวพิมพ์ ก็เปรียบได้กับงานประติมากรรม ในการถ่ายทอดศิลปะข้ามสื่อนี้ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างของตัวอักษร เพื่อทำให้การแกะง่ายขึ้น เช่น ดัดตัวให้ตรง มีเส้นนอนด้านบนซึ่งหักมุมเหลี่ยมเป็นบุคลิกสำคัญ มีรูปทรง และสัดส่วนของอักษรที่แน่นอน เช่น ก ไก่ มีความกว้างยาวเป็นสัดส่วนราว ๒ ต่อ ๓ และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งนอกจากนั้นบรัดเลเหลี่ยมยังมีการปรับ ปรุงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ทำเส้นตั้ง หรือ “ขา” ให้ตั้งฉากกับเส้นนอน กำหนดหัวกลมโปร่งให้มีเอกภาพและตำแหน่งแน่นอน เส้นมีความหนาและการหักมุมเที่ยงตรงแบบเรขาคณิต แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อยรูปโฉมของบรัดเลเหลี่ยมไม่ได้เป็นเพียงการแต่ง เนื้อแต่งตัวให้แปลกใหม่ทันสมัยมากขึ้น แต่เป็นการสถาปนามาตรฐานใหม่ของอักษรไทย ถือกันว่าเป็นการวางรากฐานสำคัญให้แก่ตัวพิมพ์ไทย

กำเนิดโรงพิมพ์หลวง

 หนังสือพิมพ์และตัวพิมพ์นำความ สนใจมาสู่ชนชั้นผู้นำของสยาม โดยเฉพาะสำหรับเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ท่านโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในวัด โรงพิมพ์นี้มีพระสงฆ์เป็นผู้ทำหน้าที่ทุกอย่างในการพิมพ์ และมีผลงานด้านหนังสือเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ และบทสวดมนต์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ หลังจากที่เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระ-ราชทานนามว่าโรงอักษรพิมพการ และโปรดให้มีฐานะเป็น “โรงพิมพ์หลวง” โรงอักษรพิมพการได้ดำเนินการผลิตหนังสือ และเอกสารสำคัญของแผ่นดินหลายฉบับ เช่น ราชกิจจานุเบกษา หรือหนังสือรวมประกาศข้อบังคับต่าง ๆ ของราชการ ซึ่งพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๐๑ระหว่างที่ทรงดำเนินกิจการโรงพิมพ์ในวัดบวรฯ ด้วยความรอบรู้และเข้าใจในความยากลำบากของการแกะ หล่อและเรียงพิมพ์ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ จึงมีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนอักษรไทยเสียใหม่ เพื่อให้สะดวกแก่การพิมพ์ และประดิษฐ์อักษรไทยแบบใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “อักษรอริยกะ” วิธีการเขียนแบบนี้มีจุดเด่นตรงที่อักษรทั้งหมดถูกจับลงมาอยู่บรรทัดเดียว กัน และเรียงสระและวรรณยุกต์ให้อยู่หลังพยัญชนะ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเลิกใช้รูปอักษรเดิม หันไปใช้รูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายอักษรโรมัน อักษรอริยกะถูกสร้างเป็นตัวพิมพ์เพื่อใช้ในโรงพิมพ์วัดบวรฯ และพิมพ์เอกสารที่เผยแพร่เฉพาะในหมู่สงฆ์ในนิกายธรรมยุติ

บั้นปลายของหนังสือพิมพ์รุ่นบุกเบิก

แม้ว่าชนชั้นสูงของสยามจะรู้สึกหวาดระแวงต่อเนื้อหาและการแจกจ่ายหนังสือ “นอกศาสนา” ของแบรดลีย์ แต่ความแปลกใหม่ และมีประโยชน์ของการพิมพ์ทำให้การสอนศาสนา และการดำเนินธุรกิจของเขาเป็นที่ยอมรับ ผลงานด้านหนังสือพิมพ์ ความรู้ หนังสือแปล และตำราเรียนของเขาแพร่หลายออกไปทีละน้อย หลังจากนั้นโรงพิมพ์อื่นๆ ก็เกิดตามมา เช่น โรงพิมพ์ของมิชชันนารีอีกคนหนึ่งที่ชื่อ แซมมวล จอห์น สมิธ หรือ ครูสมิธในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ แบรดลีย์ได้พิมพ์นิราษเมืองลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (กระต่าย)ซึ่งปรากฏเป็นข่าวเกรียวกราวเนื่องจากเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรก ที่มีการซื้อลิขสิทธิ์กันอย่างเป็นทางการในหนังสือเล่มนี้มีการใช้ตัวพิมพ์ แบบใหม่คือ “บรัดเลโค้ง” เป็นครั้งแรก ชุดนี้มีถึง ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ใช้เรียงเป็นชื่อหนังสือในหน้าแรกๆ ส่วนใน บางกอกรีคอร์เดอร์ซึ่งออกในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ บรัดเลโค้งใช้เป็นตัวพาดหัว หรือตัวดิสเพลย์กิจการโรงพิมพ์ของแบรดลีย์เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ แต่การทำหนังสือพิมพ์ ของเขายุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ด้วยเหตุว่าถูกฟ้องร้องในคดีหมิ่นประมาท แบรดลีย์เชื่อว่าการที่ตนเองแพ้คดีนี้เพราะถูกกลั่นแกล้ง เนื่องจากชนชั้นสูงชาวสยามเริ่มไม่พอใจกับการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ของเขาตัวพิมพ์นั้น หากถือว่าเป็นพัฒนาการในยุคแรกเริ่ม ก็นับว่าเป็นไปอย่างช้าๆ ตราบจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ เรามีตัวพิมพ์สามสี่แบบ ผลงานออกแบบตัวพิมพ์ของแบรดลีย์กลายเป็นรากฐานการออกแบบในยุคต่อไป ตัวพิมพ์ไทยในรุ่นหลังเกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่วิวัฒนาการมาจากตัวพิมพ์ที่ ท่านได้วางเอาไว้ทั้งสิ้น

ที่มา : เรียบเรียงโดย : ปรีชา สุวีรานนท์

โดยการสนับสนุนของ บริษัท เอส. ซี. แมทช์บอกซ์ และนิตยสาร สารคดี

รวบรวมมาจาก : http://www.sarakadee.com/feature/2002/09/thaifont.htm

รูปภาพจาก Facebook/แกะรอยตัวพิมพ์ไทย


กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ในปีงบประมาณ 2562
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา วพ 320 วัชพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ผู้แต่ง เจนจิรา หม่องอ้น จำนวน 159 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวหนังสือ การออกแบบเทคโนโลยีและระบบพลังงานทดแทนด้านความร้อน ผู้แต่ง นัฐพร ไชยญาติ จำนวน 813 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวบทคัดย่อ สัมมนาวิชาการลาว-ไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยสุภานุวงส์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 98 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
11 กันยายน 2562     |      11102
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนตุลาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวโปสเตอร์: ขนาด 12x18 นิ้ว กระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์: ทำเนียบรุ่นดารารวมใจ ผู้จัดทำ: สมพัฒวรรณ สิทธิสังข์ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: สูจิบัตรการแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ การแปรรูปด้วยความร้อนและไม่ใช้ความร้อน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-289-1 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 206 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ หน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร 1 ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-299-0 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 254 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน เคลือบมัน
26 ตุลาคม 2561     |      4829
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกันยายน 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ ผลิตภัณฑ์ปลารมควัน ผู้แต่ง: ดร.วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการตรวจลงตราและข้อปฏิบัติ การอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว สำหรับนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติที่มาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 52 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสืองานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561 คณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้จัดทำ: คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 24 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ งานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ผู้จัดทำ: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี จำนวนหน้า: 104 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี/ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: เอกสาร การจัดแสดงผลงานหลักสูตรและนวัตกรรม บัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานลมและแสงอาทิตย์/ Wind and Solar Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ.กิตติกร สาสุจิตต์ ISBN: 978-974-8445-96-0 จำนวนหน้า: 394 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
1 ตุลาคม 2561     |      1468
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหยอง ผู้จัดทำ: คณะเทคดนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ หนังปลาทอดกรอบ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลายอ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จัดทำโดย: เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน/ Renewable Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ. ดร.ธเนศ ไชยชนะ พิมพ์ครั้งที่ 2/กรกฎาคม 2561 ฉบับปรับปรุง ISBN: 978-616-474-129-4 จำนวนหน้า: 303 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด A4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ อาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียร์เพื่อลดต้นทุน ผู้แต่ง: สุดาพร ตงศิริ และ วรวิทย์ ชูขวัญนวล ตัวแผ่นพับ: ขนาด A4 พับ 2 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน
19 กรกฎาคม 2561     |      1922