ความจริงแล้ว สำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์คงได้ใช้ ISBN แบบ 13 หลัก กันแล้ว ซึ่งก็คงใช้เวลาอยู่ไม่น้อยกับการปรับเปลี่ยน และให้ชินกับระบบใหม่ แต่ก็ยังมี อีกหลายสำนักพิมพ์ที่อาจจะยังไม่เข้าใจดีนัก หรือบางท่านอาจจะยังไม่ทราบเรื่องนี้ ดังนั้น จึงขอชวนท่านผู้อ่านได้มาดูที่มาที่ไป ทบทวนทำความเข้าใจเรื่องของ ISBN 13 หลัก กันอีกครั้ง
ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากการผลิตหนังสือของบ้านเรามีมากขึ้นจนเลข ISBN ที่เตรียมไว้มีไม่พอ จึงต้องกำหนดรูปแบบ ISBN ใหม่ขึ้นเพื่อรองรับกับการผลิตหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่จะตีพิมพ์ในอนาคต รวมถึงการปรับรูปแบบให้เข้าระบบ EAN-UCC ซึ่งเป็นระบบบาร์โค้ดของสินค้า เพื่อสะดวกในการเชื่อมโยงกับระบบการค้าธูรกิจทั่วโลก
ผู้ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
ผู้ที่เกี่ยวข้องคงเริ่มต้นกันที่สำนักพิมพ์ ในการขอหมายเลข เพื่อนำมาทำบาร์โค้ดสำหรับหนังสือ ตัวแทนจำหน่ายหนังสือ เช่น ร้านหนังสือ-ขายปลีก, ขายส่ง โปรแกรมของทางร้านต้องรองรับ ISBN 13 หลัก เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หมดปัญหาเรื่องที่หลาย ๆ ครั้ง เราพบว่าบาร์โค้ดหลังปกไม่ตรงกับโปรแกรมหน้าร้าน และจากนั้นคือ ห้องสมุด ซึ่งต้องจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับทั้ง ISBN 13 หลัก และสิ่งพิมพ์ ISBN 10 หลัก (ระบบเดิม)
เริ่มต้นใช้ระบบ ISBN 13 หลัก เมื่อไหร่
เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 แล้ว ทางหอสมุดแห่งชาติ จะเปลี่ยนวิธีการขอหมายเลข ISBN และ CIP ที่จากเดิมทางสำนักพิมพ์จะส่งรายละเอียดของหนังสือไปทางโทรสาร และโทรศัพท์กลับมาขอตัวเลข มาใช้วิธีขอหมายเลขด้วยระบบออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซด์ ตามเอกสารชุด “โครงการพัฒนาระบบการออกหมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)”
ขั้นตอนใหม่ในการใช้บริการ ISBN
- ผู้ขอใช้บริการ (สำนักพิมพ์) ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับทางหอสมุดแห่งชาติ ผ่านทางเวบไซด์ของหอสมุด
- ทางหอสมุดจะทำการบันทึกข้อมูลสมาชิกในระบบ พร้อมระบุชุดของ ISBN ให้กับสมาชิก
- หอสมุดจัดส่งรหัสประจำตัว และรหัสผ่านในการเข้าไปใช้งานในระบบให้กับสมาชิก
- สมาชิก (สำนักพิมพ์) รับรหัสประจำตัวและรหัสผ่าน และสามารถนำไป Log in เข้าสู่ระบบ เพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลที่ได้รับ
- สมาชิก (สำนักพิมพ์) สามารถทำการขอ ISBN ผ่านทางเว็บไซด์ได้ 2 แบบ
5.1 จำนวนข้อมูลทาง ISBN ไม่เยอะ – ทำการขอผ่านทางเว็บไซด์ โดยกรอกแบบฟอร์ม แล้วส่งข้อมูล
5.2 จำนวนข้อมูลขอ ISBN เยอะ – ทำการขอผ่านทางเว็บไซด์ โดยแฟ้มข้อมูลสิ่งพิมพ์ - ทางหอสมุดจะทำการตรวจสอบ คำร้อง พร้อมสร้าง ISBN แล้วส่งกลับสมาชิก
- สมาชิกตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากเว็บไซด์ และนำไปดำเนินการต่อ
- สมาชิกจัดส่งสิ่งพิมพ์ (หนังสือ) ให้กับทางหอสมุดตามจำนวนที่กำหนด
- ทางหอสมุดรับสิ่งพิมพ์ (หนังสือ) และทำการบันมึกรับสิ่งพิมพ์เข้าสู่ระบบ แล้วรายการสิ่งพิมพ์
นั้นจะปรากฏที่หน้าแรกของเว็บไซด์ ของหอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สนใจทำการเข้ามาค้นหา
สิ่งพิมพ์ (หนังสือได้)
ทำไมต้องเปลี่ยน ISBN จาก 10 หลัก ที่ใช้อยู่เป็น 13 หลัก
รวมถึงต้องมีการแปลงเลข (Convert) สำหรับสิ่งพิมพ์ที่ขาดตลาด (Cut of print) ซึ่งคาดว่าจะมีการสั่งซื้อในอนาคตด้วย สำนักพิมพ์ / ร้านจำหน่ายหนังสือ / ตัวแทนจำหน่าย จะต้องดำเนินการกับราคาสินค้าที่มีอยู่ในสต็อค / บัญชีรายชื่อ (แคตาลอก) / ข้อตกลงสัญญาซื้อขาย แม้กระทั่งระบบการจัดทำรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรม (Bibliographic data) ของห้องสมุด ล้วนแต่รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ ISBN ระบบใหม่กำหนดให้ใช้เลข 10 หลักเป็น 13 หลัก แทนทั้งสิ้น กล่าวคือ
- ร้านจำหน่ายหนังสือ (Bookseller) จำเป็นต้องเปลี่ยนจาก 10 หลัก เป็น 13 หลัก ด้วยเช่นกัน ในส่วนของการสั่งซื้อ การแสดงใบแจ้งราคาสินค้า / ใบส่งของ (Invoice) จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 (ค.ศ.2007)
- ห้องสมุด ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ระบบฐานข้อมูลต้องมีทั้ง 2 ระบบ คือ ISBN 10 หลัก และ 13 หลัก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเอกสารที่มีอยู่เดิม (Old collection) หรือเอกสารที่เข้ามาใหม่ ห้องสมุดต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลบังคับใช้ในวันข้าง หน้า
แม้ว่าวันที่ 1 มกราคม 2550 (ค.ศ.2007) ISBN 13 หลัก จึงจะมีผลบังคับใช้ก็ตาม แต่ก็ต้องมีสำนักพิมพ์ และ ร้านจำหน่ายหนังสือเริ่มปรับตัวนำระบบ ISBN 13 หลักมาใช้แล้ว โดยระบุ ISBN 13 หลัก เทียบกับ ISBN 10 หลัก บนตัวเล่มหนังสือด้วย
การเปรียบเทียบโครงสร้างระหว่าง ISO 2108:1992 ( ISBN ระบบเดิม = 10 หลัก ) กับ ISO 2108 ระบบใหม่ (ISBN 13 หลัก)
เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น คงต้องเท้าความย้อนกลับไปดูโครงสร้างของ ISBN ระบบเดิม ISO 2108 : 1992 ซึ่งโครงสร้างของ ISBN เดิมนั้นประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 10 หลัก แบ่งเป็น 4 ส่วน
- ส่วนที่ 1 รหัสกลุ่มประเทศ (Group identifier) แสดงถึงกลุ่มประเทศ มีการจัดแบ่งประเทศตามลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ หรือภาษา (สำหรับเลขที่ใช้แสดงรหัสกลุ่มของประเทศไทยคือ 974)
- ส่วนที่ 2 รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher identifier) แสดงกลุ่มสำนักพิมพ์
- ส่วนที่ 3 รหัสชื่อเรื่อง (Title identifier) แสดงลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตมาจากสำนักพิมพ์นั้นๆ
- ส่วนที่ 4 เลขตรวจสอบ (Check digit) เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณเลข 9 หลักแรกใช้สำหรับตรวจสอบ ความถูกต้องโดยใช้สูตรโมดูลัส 11 (Modulus 11)
จากนั้นมาดูความแตกต่างของโครงสร้างของ ISBN ระบบใหม่ ISO 2108 : 2005 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 13 หลัก และแบ่งเป็น 5 ส่วน
- ส่วนที่ 1 Prefix element นำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก (978) ของรหัส EAN ซึ่งเป็นรหัสบาร์โค้ดแสดงสินค้า/ ผลิตภัณฑ์
- ส่วนที่ 2 Registration group element (รหัสกลุ่มประเทศ) กำหนดโดย International ISBN Agency แสดงถึงกลุ่มประเทศ มีการจัดแบ่งประเทศตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือภาษา (สำหรับเลขที่ ใช้แสดงรหัสกลุ่มของประเทศคือ 974)
- ส่วนที่ 3 Registrant element (รหัสสำนักพิมพ์) เป็นตัวเลขแสดงหน่วยงาน/สำนักพิมพ์ (Publisher) ที่ ขอรับเลข ISBN
- ส่วนที่ 4 Publication element (รหัสชื่อเรื่อง) เป็นตัวเลขประจำสิ่งพิมพ์ที่ผลิตมาจากสำนักพิมพ์นั้นๆ
- ส่วนที่ 5 Check digit (เลขตรวจสอบ) เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณเลข 12 หลักแรก ใช้สำหรับ ตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้สูตรโมดูลัส (Modulus 10)
ISBN 2108 ระบบใหม่ ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก โดยมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้
หมายเหตุ : 979 ซึ่งเป็นตัวเลข 3 หลักของ EAN -13 จะใช้กะบ ISBN 13 หลัก หลังวันที่ 1 มกราคม 2550
978 ซึ่งเป็นตัวเลข 3 หลักของ EAN -13 จะใช้กับ ISBN 10 หลัก เพื่อแปลงเป็น 13 หลักเท่านั้น
หากต้องการแปลงเลข ISBN 10 หลัก เป็น 13 หลัก จะทำอย่างไร?
มีสูตรวิธีการแปลงที่ไม่ยุ่งยาก ดังนี้
- เติมเลข 3 หลัก (978) นำหน้าเลข ISBN หลักที่ 1-9 (ส่วนที่ 1 + 2 + 3) ระบบเดิม
- ตามด้วยเลข ISBN หลักที่ 1-9 ระบบเดิม (ส่วนที่ 1 + 2 + 3)
- ตามด้วยตัวเลขตรวจสอบ ส่วนที่ 4 เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำสณเลข 12 หลัก โดยใช้สูตร โมดูลัส 10 หรืออาจใช้เครื่องมือช่วยแปลงเลข ISBN เป็น 13 หลัก (ISBN -13 Converter) ซึ่งจัดทำโดย International ISBN Agency โดยคลิกไปที่ http://www.isbn-international.org/converter/converter.html
ตัวอย่าง
ISBN 10 หลัก 0-901690-54-6
ISBN 13 หลัก 978-0-901690-54-8
EAN : 9780901690548 แสดงบนบาร์โค้ด ไม่ต้องใส่เครื่องหมายยติภังค์ (-) (hyphen)
ตัวอย่างบัตรรายการที่ให้ข้อมูล ISBN 10 หลัก และ 13 หลัก
การกำหนดเลข ISBN
- เลข ISBN ที่กำหนดให้ห้ามนำไปดัดแปลง / ใช้แทน / ใช้ซ้ำ
- เลข ISBN สามารถกำหนดให้กับสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์แยกเล่มโดยสำนักพิมพ์เดียวกัน หรือ กำหนด เลข ISBN ให้กับสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ต่างภาษากัน
- รูปแบบการตีพิมพ์ (Product Form) ที่แตกต่างกัน (เล่มเอกสารหนังสือเบลล์ วีดีโอ สิ่งพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์ (ออนไลน์) สามารถกำหนดเลข ISBN แยกกันได้ รูปแบบของสิ่งพิมพ์ อิเลคทรอนิกส์ (.lit / .pdf / .html / .pdb) ที่พิมพ์แยกกันสามารถใช้เลข ISBN ได้
- กรณีที่มีการแบ่งเป็นตอนๆ (part) สามารถกำหนดเลข ISBN ให้ได้
- กรณีที่พิมพ์รายการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปบบการพิมพ์ (Product form) โดยสำนักพิมพ์เดิม (รวมถึงกรณีการเปลี่ยนแปลงราคา และกรณีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่น การพิมพ์ผิด) จะไม่กำหนดเลข ISBN ให้ใหม่
ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่ต้องขอเลข ISBN
ISBN ครอบคลุมหนังสือทั้งส่วนที่เป็นสิ่งตีพิมพ์ และวัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ รูปแบบต่างๆ เช่น
- หนังสือตัวนูน
- ฟิล์ม / วีดีโอ / แผ่นใส เนื้อหาทางการศึกษา
- CD / DVD / Cassette ที่จัดทำเป็นงานวิชาการเหมือนสิ่งพิมพ์
- สิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ออนไลน์ เช่นงานวิชาการจากระบบอินเตอร์เน็ท (Internet)
- สิ่งพิมพ์ในรูปของวัสดุย่อส่วน (Microform publications)
- ซอฟท์แวร์ด้านการศึกษา
- สื่อผสมที่ประกอบด้วยตัวหนังสือเป็นหลัก (Text-based) เป็นต้น
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องขอเลข ISBN ได้แก่
- สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่กำหนดออกเป็นวาระ (วารสาร)
- สิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น สื่อโฆษณา
- เนื้อเพลง
- งานศิลปะที่ไม่มีหน้าชื่อเรื่อง หรือเนื้อหา
- ข้อมูลส่วนบุคคล (แฟ้มประวัติ การศึกษา)
- บัตรอวยพร
- แผ่นบันทึกเสียงเพลง
- ซอฟท์แวร์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพื่อการศึกษา
- กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Board)
- จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
- เกมส์ เป็นต้น
ตำแหน่งที่แสดง ISBN
1. เอกสาร / สิ่งพิมพ์
- หน้าปกใน / ส่วนล่างของหน้าปกใน / หน้าแสดงลิขสิทธิ์
- ปกหลัง / ส่วนล่างหรือตำแหน่งที่ชัดเจนบริเวณปกนอก
- กรณีที่แสดง ISBN เป็นบาร์โค้ด (ฺBarcode) ด้วยระบบ EAN ต้องเป็นไปตาม ISO / IEC 15420
ซึ่งต้องแสดงให้คนทั่วไปสามารถอ่านได้
2. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ตีพิมพ์
- สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถมองเห็นได้ (สิ่งพิมพ์ออนไลน์) ต้องแสดงเลข ISBN อยู่ที่หน้าที่
มีชื่อเรื่องปรากฏอยู่ (อาจแสดงยู่ที่หน้าแรกที่เข้ามาถึง (First access) หรือหน้าแสดงลิขสิทธิ์ - สิ่งพิมพ์ที่จัดทำในรูป CD / cassette / diskette เลข ISBN ต้องแสดงอยู่บนฉลากที่ติดถาวรที่
ปรากฏบนสื่อ หรือหากไม่สามรถติดเลข ISBN ในตำแหน่งดังกล่าวได้ให้ระบุเลข ISBN ไว้ที่
ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ (Packging) ที่หุ้มห่อสื่อนั้นๆ - เลข ISBN พร้อมรายละเอียดของหนังสือ / สิ่งพิมพ์แต่ละรายการ (metadata) ควรระบุอยู่บนตัวเล่ม ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน
3. กรณีที่มีการจัดทำที่หลากหลายรูปแบบ (Format) ต้องมี ISBN แต่ละรูปแบบที่จัดทำด้วย ทั้งนี้ต้องจัดทำบัญชีที่ระบุรายการ ISBN กำกับไว้ด้วย
ที่มา : เว็บไซต์ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย