ความรู้ทั่วไปในงานสิ่งพิมพ์
ชนิดกระดาษ
1. กระดาษอาร์ต
ลองหยิบนิตยสารขึ้นมาดูสักเล่ม นิตยสารเกือบร้อยทั้งร้อยมักจะใช้กระดาษอาร์ตเป็นปก
รวมทั้งหน้าในที่พิมพ์สี่สีด้วย กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ มีทั้งอาร์ตด้าน และ
อาร์ตมัน เหมาะสำหรับพิมพ์งานสี่สี ยิ่งถ้าเคลือบผิวเข้าไปยิ่งสวยจะเคลือบให้ดูมันวาว
หรือเคลือบด้านก็ได้ มีความหนาหลายระดับ มีตั้งแต่บางๆใช้ทำฉลากเช่นฉลากปลากระ
ป๋อง ไปถึงหนาๆ แข็งๆ เช่น ปกนิตยสาร นอกจากนี้กระดาษอาร์ตยังเหมาะสำหรับงาน
พวกโปสเตอร์ โบรชัวร์ ต่างๆด้วย แต่กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง
2. กระดาษปอนด์
ตัวอย่างกระดาษปอนด์ก็ เช่น หน้าในของสมุดที่นักเรียนนักศึกษาใช้ หรือไม่ก็หน้าในของ
นิตยสารที่พิมพ์ขาวดำ กระดาษปอนด์เป็นกระดาษที่เนื้อแน่นพอสมควร แต่จะไม่เท่ากับ
กระดาษอาร์ต ฉีกขาดง่ายกว่า ทนความชื้นน้อยกว่า ใช้พิมพ์สี่สีก็ได้ แต่ไม่สวยเท่ากระ
อาร์ต แต่เขียนง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ ที่สำคัญราคาถูกกว่ากระดาษอาร์ตมาก พวก
หนังสือพิมพ์ธุรกิจ เช่น ประชาชาติ ฐานเศรษฐกิจ ก็ใช้กระดาษชนิดนี้เหมือนกัน
3. กระดาษปรู๊ฟ
ลองจับกระดาษหนังสือพิมพ์ดู เป็นหนังสือพิมพ์ทั่วไป เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ พวกนี้เป็น
กระดาษปรู๊ฟ เนื้อจะฟู หลวม สีไม่ขาวมาก ออกไปทางเหลืองด้วยซํ้า ไม่ค่อยทนความชื้น
ฉีกขาดง่าย พิมพ์สี่สีก็พอได้แต่ไม่สวยเท่าสองชนิดแรก แล้วพิมพ์ยากกว่าด้วย แต่ก็มีข้อดี
คือราคาถูกกว่าสองชนิดแรก
4. กระดาษแบงค์
กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า จะใช้สำหรับพิมพ์บิลต่างๆ
หรือใบปลิวก็พอไหว
5. กระดาษแอร์เมล์
เนื้อบางมาก นิยมใช้พิมพ์ใบบิลเช่นกัน
6. กระดาษเคมี
กระดาษชนิดนี้เคลือบสารเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วจะติดที่กระดาษแผ่นล่างด้วยเรียก
ง่ายๆก็กระดาษก็อปปี้ในตัว บิลสมัยใหม่ไม่ต้องแทรกกระดาษคาร์บอนแล้ว
7. กระดาษพีวีซี
ลักษณะคล้ายๆพลาสติก ฉีกขาดยาก ทนความชื้นได้ดีมาก นิยมใช้ทำนามบัตรโดยเฉพาะ
การนับสี
เวลาจะให้โรงพิมพ์คิดราคา โรงพิมพ์จะต้องถามว่าพิมพ์กี่สี เพราะจำนวนสีที่พิมพ์มีผล
โดยตรงต่อราคา การนับสีจะนับเฉพาะสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ ตัวอย่างเช่น
ใบเสร็จรับเงินพื้นสีฟ้า พิมพ์ตัวหนังสือสีดำและเส้นเป็นสีเทา อย่างนี้เรียกว่าพิมพ์ 1 สี สี
ฟ้าไม่นับเพราะเป็นสีของกระดาษ ส่วน สีเทาก็คือสีดำที่พิมพ์ให้มีนํ้าหนักอ่อนลง รวม
แล้วทั้งเทาและดำก็นับเป็นสีเดียว
พิมพ์ 1 สี
การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่ม
ทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์
สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลาย
ระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆก็จะ
ได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียวนี่แหละ
พิมพ์หลายสี
การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลาย
สี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำกับแดง หรือดำกับ
นํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรง
พิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย
พิมพ์สี่สี (แบบสอดสี)
ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี
เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อยกี่
พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตามที่
ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้องใช้
แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกัน
ออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้านสีเลย พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นใน
นิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่ ลองดูตัวอย่างดีกว่า
การเข้าเล่ม
การเข้าเล่มไม่มีอะไรซับซ้อน ขอแนะนำแบบต่างๆที่นิยมใช้กันดังนี้
1. เข้าเล่มกาวหัว
การเข้าเล่มแบบนี้ใช้สำหรับพวกใบเสร็จต่างๆ หรือไม่ก็พวกสมุดฉีก กระดาษโน้ต memo
เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้โดยเฉพาะ วิธีการก็ง่ายมาก
เอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้ง แล้วเอากาวลาเท็กซ์ ทาที่ขอบด้านบน ที่สัน ตรงหัว
กระดาษนั่นแหละ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ "กาวหัว"
2. เข้าเล่มแบบไสกาว(ไสสันทากาว)
ลองดูการเข้าเล่มของนิตยสารดูสิ เข้าเล่มแบบไสกาวทั้งนั้น พวกพ็อคเก็ตบุคส์ หนังสือ
เรียน ส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้น เพราะราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แค่พอใช้ได้
นิตยสารเล่มหนา เปิดไปเปิดมาจะมีหน้ากระดาษหลุดออกมาเป็นแผ่นๆ ยิ่งพยายาม
กางหนังสือออกมากๆก็จะหลุดง่าย การเข้าเล่มแบบนี้กางหนังสือออกได้ไม่มาก พอ
ปล่อยมือหน้ากระดาษจะดีดกลับ หุบเข้ามาเหมือนเดิม ถ้ากางมากๆ( เช่น เวลาเอา
ไปถ่ายเอกสาร) ก็มักจะหลุดออกจากกัน วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว เขาจะนำกระดาษที่เรียง
หน้าเป็นเล่มแล้ว มาไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาว ที่ต้องไสสันก่อนก็เพื่อให้
กาวแทรกซึมเข้าไป การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นเป็นที่มาของคำว่า "ไสกาว"
3.การเข้าเล่มแบบเย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา
แบบนี้ง่าย นิยมใช้เย็บสมุดของนักเรียนนักศึกษา หรือหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่
เกิน 60 หน้า หรืออย่างมากก็ 80 หน้า วิธีการก็คือ เอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับ
ครึ่งตามแนวตั้ง จากนั้นใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บ เป็นอันจบพิธี
4.เข้าเล่มแบบเย็บกี่
การเข้าเล่มแบบเย็บกี่นี่ทนสุดๆกางออกได้มาก ลองดูพวก พจนานุกรม ดิคชันนารี
สารานุกรมเล่มใหญ่ๆ จำนวนหน้ามากๆ บางเล่มเป็นพันหน้าก็มี เขาเข้าเล่มด้วยการ
เย็บกี่ทั้งนั้น วิธีการก็ยุ่งยากพอสมควร โดยเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกออกเป็นส่วนย่อย
หลายๆส่วน แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือน เย็บอกในข้อสาม แต่ใช้ด้ายเย็บ จาก
นั้นเอาเล่มย่อยๆมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้น
คำศัพท์ทางการพิมพ์
เพลท = แม่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ตแม่พิมพ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ
เคลือบด้วยสารเคมีบางอย่าง จะเป็นสารอะไรบ้างคงไม่ต้องลงลึกถึงขั้นนั้น แต่ที่
ต้องรู้ไว้ก็คือ ต้นทุนในการทำแม่พิมพ์เป็นต้นทุนคงที่ เช่น แม่พิมพ์ 4 สี สมมติว่าต้นทุน
10,000 บาท ถ้าคุณพิมพ์ โปสเตอร์ 1 ใบก็ต้องเสียค่าแม่พิมพ์ 10,000 บาท แต่ถ้าพิมพ์
1,000 ใบค่าแม่พิมพ์เฉลี่ยแล้วเหลือใบละ 10 บาท ดังนั้นถ้า
พิมพ์ยอดน้อยๆก็ต้องทำใจว่า ต้นทุนต่อหน่วยค่อนข้างจะสูง
ใบชุด = จำนวนสำเนาของใบเสร็จแต่ละชุด (รวมต้นฉบับ) คือเวลาพิมพ์ใบเสร็จ 1 เล่ม
จะมี 50 ชุด แต่ละชุดจะมีสำเนา ถ้าบอกว่าใบเสร็จ 4 ใบชุด หมายถึงใบเสร็จแต่ละชุด
(แต่ละเลขที่) จะมี สำเนา 3 ใบรวมต้นฉบับเป็น 4 ใบ
เจียน = คือการตัดขอบกระดาษที่เผื่อไว้ในตอนพิมพ์ออก โดยปกติเวลาพิมพ์งาน โรง
พิมพ์จะพิมพ์กระดาษแผ่นใหญ่แล้วค่อยมาตัดแบ่งออกเป็นชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ
เช่น โบรชัวร์ขนาด A4 โรงพิมพ์อาจจะพิมพ์ครั้งละ 8 หน้าแล้วค่อยมาตัดแบ่งเป็น A4
ภายหลัง ในการตัดแบ่งนี่แหละที่จะต้องตัดขอบออก อาจจะตัดหยาบๆออกเป็น 8 แผ่น
ก่อน ตัดมาแล้วขนาดอาจจะยังไม่ถูกต้องดี เช่น ใหญ่กว่าสัก 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นจึง
ต้องเอาแต่ละแผ่นมาตัดละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ที่เล่ามาทั้งหมดนี่แหละค่ะที่เรียกว่า "เจียน"
ไดคัท = มีสองความหมาย
ความหมายแรก คือการตัดขอบกระดาษแต่ไม่เหมือนกับการเจียน การเจียนจะตัดเป็น
เส้นตรง ส่วนไดคัท เป็นการตัดขอบตามรูปทรงต่างๆ จะหยักจะโค้งอย่างไรก็ได้ ค่าใช้
จ่ายจะสูงกว่าการเจียน
ความหมายที่สอง คือการลบฉากหลังของภาพออก เช่น ถ่ายภาพบ้านจัดสรรมาแล้ว
ฉากหลังไม่สวยงาม จึงลบฉากหลังออกเพื่อนำไปวางลงบนฉากหลังอื่น หรือไม่เช่นนั้น
ก็ปล่อยให้เป็นฉากหลังขาว
พิมพ์กี่สี = การนับจำนวนสี นับจากสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ เช่นกระดาษพื้นมี
ชมพู พิมพ์สีดำ อย่างนี้เรียกพิมพ์ 1 สี ในงานพิมพ์อาจจะมีสีเทาอ่อน เทาแก่ก็นับเป็นสี
เดียว เพราะเป็นการลดนํ้าหนักสี แต่หมึกที่ใช้เป็นหมึกสีดำ
กระดาษเคมี = เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเสร็จที่เขียนด้านบนแล้ว จะติดลงไปถึงแผ่น
ที่อยู่ด้านล่างด้วย โดยไม่ต้องใช้กระดาษคาร์บอน หรือจะเรียกว่ากระดาษก็อปปี้ในตัว
ก็ได้
ที่มา http://www.artnana.com/articles/view.php?topic=40