งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
 

ของใช้ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น หนังสือที่เราอ่าน หนังสือพิมพ์ ถุงใส่ขนม กล่องใส่ของ ธนบัตร กระดาษเช็ดหน้าเช็ดปาก ตั๋วรถเมล์ ตลอดจนแผ่นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ตามสถานที่ทั่วไป ล้วนแล้วแต่ทำด้วยกระดาษทั้งสิ้น 
            มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีทำกระดาษเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้วในประเทศจีน โดยเอาฟางมาแช่น้ำทิ้งไว้ ครั้นฟางเปื่อยดีแล้วนำไปตีจนเละจึงกรองเยื่อที่ได้ออก เอาไปล้างให้สะอาดอีกครั้งก็จะได้เยื่อกระดาษ วิธีทำกระดาษให้เป็นแผ่นในสมัยนั้น ทำโดยเอาเยื่อกระดาษที่ล้างสะอาดแล้วมาละลายน้ำอีกครั้งหนึ่งในถังไม้ น้ำที่ใช้ผสมต้องมากประมาณ 10-15 เท่าของเนื้อเยื่อ แล้วใช้ตะแกรงไม้ไผ่ตาถี่ช้อนลงไปในถัง เนื้อเยื่อจะติดตะแกรง พอหมาดดีแล้วลอกเยื่อกระดาษที่ติดตะแกรงเป็นแผ่นออกไปตากแดดจนแห้ง กระดาษจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับความข้นของเยื่อ ถ้าต้องการกระดาษหนาก็ผสมเยื่อให้ข้น กระดาษที่ได้มีสีน้ำตาลเพราะทำจากฟาง จึงเรียกว่า กระดาษฟาง ต่อมามีการใช้ผ้าขี้ริ้วหรือเศษผ้าแช่ กับน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้าแล้วตีจนเละเช่น เดียวกับวิธีทำกระดาษฟาง แต่กระดาษที่ได้มีสีเทา และเนื้อละเอียดกว่ากระดาษฟางมาก 
            เคล็ดลับวิธีทำกระดาษได้ตกทอดไปยังทวีปยุโรป ประเทศอังกฤษได้รู้จักทำกระดาษใช้เมื่อ พ.ศ. 1852 ในสมัยนั้น กรรมวิธีทำกระดาษส่วนใหญ่ยังทำด้วยมือ ต่อมาใน พ.ศ. 2342 จึงมีชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ นิโคลาส โรแบร์ต (Nicolas Robert) ได้ประดิษฐ์เครื่องทำกระดาษขึ้นมา โดยทำเป็นเครื่องมือแบบง่ายๆ และแผ่นกระดาษที่ได้ยังต้องนำไปตากให้แห้งด้วยการผึ่งลมในห้อง 
            วัสดุที่ใช้ทำกระดาษมีหลายอย่าง เช่น เศษผ้า ฟาง ปอ หญ้า ไม้ ไม้ไผ่ และชานอ้อย เช่น โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบสำคัญ โรงงานกระดาษบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ฟางข้าว โรงงานเยื่อกระดาษ ที่จังหวัดขอนแก่น ใช้ปอเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในแถบนั้น ๆ ส่วนโรงงานทำกระดาษที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบยังไม่มี แต่มีโครงการจะตั้งโรงงานผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์โดยใช้ไม้จากป่าสนทาง ภาคเหนือในอนาคต 
            กระดาษประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ รวมเป็นเนื้อเดียวกันกระดาษบางชนิดจะแลเห็นเนื้อเยื่อเหล่านี้ชัดเจนมาก เช่น กระดาษสาที่ใช้ทำตัวว่าวและกระดาษถุงสีน้ำตาล เป็นต้น ไม้ทุกชนิดใช้ทำเยื่อกระดาษได้ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษจะต้องให้เยื่อเหนียว ยาว มียางน้อย เพราะยางไม้ทำให้เปลืองสารเคมีเมื่อต้มเยื่อ และยังทำให้กระดาษขาดง่ายขณะทำเป็นแผ่นต้องเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ปริมาณไม้ต่อเนื้อที่สูงและไม่มีคุณค่าในการทำ เครื่องเรือน 
            ไม้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมักจะเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน ไม้ประเภทสนมีอยู่หลายชนิด ตามลักษณะของใบ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ได้ทดลองปลูกสนชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ผลปรากฏว่าสนหลายชนิดสามารถปลูกขึ้นในประเทศไทย และเจริญเติบโตเร็วกว่าในต่างประเทศ ไม้เนื้ออ่อนบางชนิดที่มีขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศ เช่น ต้นนุ่น งิ้ว ก้ามปู ก็สามารถใช้ทำกระดาษได้ 
            ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ประเทศพม่า อินเดีย ปากีสถาน จีน ต่างก็ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบทั้งสิ้น เนื่องจากไม้ไผ่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณไม้ไผ่ที่ได้ต่อเนื้อที่น้อยกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงยังไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษขนาดใหญ่
            ฟางและชานอ้อยให้เยื่อกระดาษสั้นและไม่เหนียวจึงเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษคุณภาพต่ำ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ แต่ถ้าจะใช้เยื่อที่ได้จากฟางหรือชานอ้อยทำกระดาษคุณภาพดี เช่น กระดาษสมุด ต้องผสมเยื่อยาวที่ได้จากไม้สนหรือไม้ไผ่ลงไปประมาณร้อยละ 30-50

 

ไม้ที่ใช้ทำกระดาษ เมื่อขนส่งมาถึงโรงงาน จะถูกปอกเปลือกออกหรืออาจจะลอกเปลือกออกทันทีด้วย เครื่องจักรหรือมือหลังการโค่น การลอกเปลือกทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ใส่ท่อนไม้ที่ตัดสั้นลงไปในถังใหญ่ที่หมุนในแนวระดับ ไม้จะถูกันเองจนเปลือกหลุด หรืออาจใช้น้ำที่มีความดันสูงระหว่าง 1,500-2,500 ปอนด์ตารางนิ้ว ฉีดบนท่อนซุง แรงดันของน้ำทำให้เปลือกไม้หลุดออกได้ เปลือกไม้จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไปในโรงงานทำกระดาษนั่นเอง จากนี้ท่อนซุงที่ปราศจากเปลือกแล้วจะถูกนำไปทำให้กลายเป็นเยื่อกระดาษต่อไป กรรมวิธีทำเยื่อกระดาษมีอยู่ 2 วิธีคือ 
            1. กรรมวิธีบด ท่อนซุงที่ปอกเปลือกแล้ว จะถูกนำป้อนเข้าไปฝนกับโม่หิน โดยมีน้ำฉีดเพื่อให้โม่หินเย็นลง และหาเยื่อกระดาษออกไปทำกระดาษต่อไป
            2. กรรมวิธีทางเคมี ท่อนซุงจะถูกทำให้เป็นเยื่อกระดาษโดยสารเคมี เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีนี้จะมีสีขาวกว่า แต่จะมีราคาแพงกว่ากระดาษที่ทำด้วยกรรมวิธีบด ท่อนซุงจะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผ่านไปยังหม้อย่อยไม้ เศษไม้จะถูกต้มกับสารเคมีนาน 6-24 ชั่วโมง จึงจะได้เยื่อกระดาษที่จะทำเป็นกระดาษต่อไป 

                        สารเคมีสำคัญๆ ที่ใช้ต้ม มีอยู่ 3 ประเภท ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ได้จึงมี 3 ประเภทตามชนิดของสารเคมีที่ใช้ คือ เยื่อกระดาษโซดา (soda pulp) ใช้สารละลายด่างแก่ หรือโซดาแผดเผา (caustic soda) เยื่อกระดาษซัลไฟด์ (sulfide pulp) ใช้แคลเซียมไบซัลเฟต (calcium bisulfate) และเยื่อกระดาษ ซัลเฟต (sulfate pulp) ใช้โซเดียมซัลเฟต (sodium sulfate) รวมกับโซดาแผดเผา โซเดียมซัลไฟด์ (sodium sulfide) และโซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate) สารเคมีแต่ละชนิดทำให้เยื่อกระดาษมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน เช่น เยื่อกระดาษโซดาจะอ่อนนุ่มและขาวสะอาดเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสมุดหนังสือ และหนังสือพิมพ์ เยื่อกระดาษซัลไฟด์จะเหนียวกว่า เหมาะที่จะใช้ทำกระดาษที่เหนียวขึ้น ส่วนเยื่อกระดาษซัลเฟตนั้นเหนียวมาก และยังฟอกสีให้ขาวได้ยาก จึงเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสีน้ำตาล ใช้ห่อของ บางทีเราเรียกว่า กระดาษคราฟต์ (kraft paper คำว่า kraft ในภาษาเยอรมันแปลว่า ความแข็งแรง) กระดาษชนิดนี้เริ่มผลิตในประเทศเยอรมันจึงได้ชื่อมาจนทุกวันนี้ 

            เยื่อกระดาษที่ได้จะมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแก่ แล้วแต่กรรมวิธีที่ผลิตเยื่อ ถ้าต้องการเยื่อสีขาวสำหรับกระดาษสมุดหรือกระดาษพิมพ์จะต้องผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ฟอกสีกระดาษ ได้แก่ ก๊าซคลอรีน ผงฟอกสี คลอรีนไดออกไซด์ เป็นต้น เมื่อได้เยื่อกระดาษมาแล้ว นำไปทำเป็นแผ่นกระดาษโดยเอาเยื่อกระดาษมากวน กับน้ำให้เข้ากันในถังใหญ่ ใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผสมสีทำให้กระดาษมีสีต่าง ๆ กัน ผสมแป้งหรือยางไม้ บางชนิดทำให้หมึกไม่ซึมเวลาพิมพ์ เป็นต้น จากนั้นจะถูกผ่านไปบนตะแกรงลวด ซึ่งทำเป็นสายพานเกลี่ยให้เป็นแผ่นกว้าง น้ำจะถูกดูดซึมออก เกิดเป็นแผ่นกระดาษเปียก ๆ จากนั้นจึงนำไปผ่านลูกกลิ้งเพื่อทำให้เรียบ แล้วนำไปผ่านลูกกลิ้งอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้น้ำในกระดาษระเหยจนแห้งและในที่สุดกระดาษจะมีผิวเรียบ มัน แล้วจึงม้วนเข้าเป็นม้วนใหญ่พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป 
            วิวัฒนาการของการผลิตกระดาษ และความต้องการใช้กระดาษในปัจจุบัน ทำให้เราใช้กระดาษเพิ่มมากขึ้น นอกจากทำกระดาษสมุดและหนังสือธรรมดาแล้ว เรายังทำกระดาษแข็ง ทำประตู ฝากั้นห้อง ท่อระบายน้ำ หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องซัก ในอนาคตเราอาจมีผลิตผลอื่น ๆ ที่ทำด้วยกระดาษเพิ่มขึ้นอีกมาก

 

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK2/chapter5/t2-5-l4.htm  

 


กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ในปีงบประมาณ 2562
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา วพ 320 วัชพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ผู้แต่ง เจนจิรา หม่องอ้น จำนวน 159 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวหนังสือ การออกแบบเทคโนโลยีและระบบพลังงานทดแทนด้านความร้อน ผู้แต่ง นัฐพร ไชยญาติ จำนวน 813 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวบทคัดย่อ สัมมนาวิชาการลาว-ไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยสุภานุวงส์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 98 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
11 กันยายน 2562     |      11102
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนตุลาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวโปสเตอร์: ขนาด 12x18 นิ้ว กระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์: ทำเนียบรุ่นดารารวมใจ ผู้จัดทำ: สมพัฒวรรณ สิทธิสังข์ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: สูจิบัตรการแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ การแปรรูปด้วยความร้อนและไม่ใช้ความร้อน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-289-1 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 206 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ หน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร 1 ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-299-0 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 254 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน เคลือบมัน
26 ตุลาคม 2561     |      4829
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกันยายน 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ ผลิตภัณฑ์ปลารมควัน ผู้แต่ง: ดร.วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการตรวจลงตราและข้อปฏิบัติ การอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว สำหรับนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติที่มาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 52 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสืองานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561 คณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้จัดทำ: คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 24 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ งานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ผู้จัดทำ: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี จำนวนหน้า: 104 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี/ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: เอกสาร การจัดแสดงผลงานหลักสูตรและนวัตกรรม บัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานลมและแสงอาทิตย์/ Wind and Solar Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ.กิตติกร สาสุจิตต์ ISBN: 978-974-8445-96-0 จำนวนหน้า: 394 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
1 ตุลาคม 2561     |      1468
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหยอง ผู้จัดทำ: คณะเทคดนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ หนังปลาทอดกรอบ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลายอ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จัดทำโดย: เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน/ Renewable Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ. ดร.ธเนศ ไชยชนะ พิมพ์ครั้งที่ 2/กรกฎาคม 2561 ฉบับปรับปรุง ISBN: 978-616-474-129-4 จำนวนหน้า: 303 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด A4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ อาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียร์เพื่อลดต้นทุน ผู้แต่ง: สุดาพร ตงศิริ และ วรวิทย์ ชูขวัญนวล ตัวแผ่นพับ: ขนาด A4 พับ 2 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน
19 กรกฎาคม 2561     |      1922