งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press

กว่าจะมาเป็น e-Book

            หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ  ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
           การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป 

ความหมายของ e-Book

        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
     ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player                      

ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
  ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี
    ภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล 
    (update)ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก
   ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ 
    ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์
    สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง
   หน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ
   สั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน 
    ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ
    จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       

โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
     ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    

สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover)
 หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ
เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction)
       หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น 
3. สารบัญ (Contents)
      หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  

4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย   

            • หน้าหนังสือ (Page Number)
            • ข้อความ (Texts)
            • ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
            • เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
            • ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi
            • จุดเชื่อมโยง (Links) 

5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร
    ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม

 

บทความนี้เขียนโดย ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์
อ้างอิงจากหนังสือ "กลยุทธ์การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมืออาชีพ"


กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ในปีงบประมาณ 2562
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา วพ 320 วัชพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ผู้แต่ง เจนจิรา หม่องอ้น จำนวน 159 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวหนังสือ การออกแบบเทคโนโลยีและระบบพลังงานทดแทนด้านความร้อน ผู้แต่ง นัฐพร ไชยญาติ จำนวน 813 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวบทคัดย่อ สัมมนาวิชาการลาว-ไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยสุภานุวงส์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 98 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
11 กันยายน 2562     |      11102
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนตุลาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวโปสเตอร์: ขนาด 12x18 นิ้ว กระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์: ทำเนียบรุ่นดารารวมใจ ผู้จัดทำ: สมพัฒวรรณ สิทธิสังข์ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: สูจิบัตรการแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ การแปรรูปด้วยความร้อนและไม่ใช้ความร้อน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-289-1 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 206 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ หน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร 1 ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-299-0 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 254 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน เคลือบมัน
26 ตุลาคม 2561     |      4829
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกันยายน 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ ผลิตภัณฑ์ปลารมควัน ผู้แต่ง: ดร.วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการตรวจลงตราและข้อปฏิบัติ การอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว สำหรับนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติที่มาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 52 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสืองานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561 คณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้จัดทำ: คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 24 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ งานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ผู้จัดทำ: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี จำนวนหน้า: 104 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี/ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: เอกสาร การจัดแสดงผลงานหลักสูตรและนวัตกรรม บัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานลมและแสงอาทิตย์/ Wind and Solar Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ.กิตติกร สาสุจิตต์ ISBN: 978-974-8445-96-0 จำนวนหน้า: 394 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
1 ตุลาคม 2561     |      1468
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหยอง ผู้จัดทำ: คณะเทคดนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ หนังปลาทอดกรอบ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลายอ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จัดทำโดย: เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน/ Renewable Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ. ดร.ธเนศ ไชยชนะ พิมพ์ครั้งที่ 2/กรกฎาคม 2561 ฉบับปรับปรุง ISBN: 978-616-474-129-4 จำนวนหน้า: 303 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด A4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ อาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียร์เพื่อลดต้นทุน ผู้แต่ง: สุดาพร ตงศิริ และ วรวิทย์ ชูขวัญนวล ตัวแผ่นพับ: ขนาด A4 พับ 2 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน
19 กรกฎาคม 2561     |      1922