งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสคัวกซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรม ที่มีคุณค่าด้านความงาม ของมนุษยชาติในช่วงประมาณ 17,000-12,000 ปีที่ผ่านมา แล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้

นอกจากนั้น ยังปรากฏการณ์เริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stencil) อีกด้วย โดยวิธีใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีการหนึ่ง (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2523 : 9)

ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.) เมื่อ 1300 ปีก่อนคริสต์กาล จีนได้คิดหนังสือขึ้นใช้
โดยเขียนบนใบลานและเขียนบนไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ แล้วร้อยเชือกให้อยู่เป็นปึกเดียวกันม้วนคลี่อ่านได้

(วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 31) ต่อมาเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนเริ่มเขียนหนังสือบนผ้าไหม
หลังจากนั้นประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนรู้จักการแกะสลักลงบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์ งาช้าง และนำไปประทับบนขี้ผึ้งหรือดินเหนียว (วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 30) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และกลายเป็นวัสดุสำคัญ สำหรับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2530 : 3)


หนังสือกรีกเป็นหนังสือแบบม้วน กว้างประมาณ 10 นิ้ว และยาวถึง 35 ฟุต ลักษณะการเขียนใช้วิธีเขียนเป็นคอลัมน์ กว้างประมาณ 3 นิ้วเว้นช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไว้เป็นขอบชาวอังกฤษและโรมัน นิยมเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นไม้จากต้นบีช (Beech) ซึ่งภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า "BOC"
จึงเป็นคำที่มาของคำว่า "
Book" ในภาษาอังกฤษพวกโรมันมีวิธีรวมเล่มหนังสือ โดยการเจาะรูแผ่นไม้แล้วร้อยด้วยวงแหวน และเรียกหนังสือนี้ว่า โคเค็กซ์ (Codex) ซึ่งเรียกว่าหนังสือแผ่น แผ่นไม้ ที่ใช้เขียนหนังสือ มีลักษณะที่แปลก คือ แผ่นไม้จะเคลือบด้วยกาวผสมชอลก์หลายๆชั้น ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อแห้งสนิทดีแล้ว และเคลือบพับด้วยขี้ผึ้งสีดำบางๆ ดังนั้นเวลาเขียนด้วยเหล็กจาร ก็จะปรากฏเป็นตัวอักษร
สีขาวบนพื้นดำ

แผ่นเคลือบนี้ใช้สำหรับการเขียนที่ไม่ถาวรเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถลบได้ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเก็บบันทึกไว้ พวกโรมันก็จะใช้กระดาษม้วนปาไปรัส แบบกรีกแทนจุดกำเนิดของหนังสือที่มีลักษณะเหมือนในยุคปัจจุบัน เริ่มจากในคริสตศตวรรษที่ 1 มีการนำหนังสือที่เขียนบนแผ่น กระดาษปาไปรัสผนึกทับบนกระดาษคู่หนึ่ง ซึ่งพับเข้าหากันได้คล้ายกับหนังสือที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พวกโรมันชอบหนังสือแบบนี้มาก เพราะนำติดตัวได้ง่าย และสามารถเอาเนื้อหามาวางเทียบกันได้จึงรับหนังสือแผ่นนี้มาใช้ หนังสือม้วนจึงถูกยกเลิกไปราวๆ
คริสตศวรรษที่
4


วิวัฒนาการนำหนังมาเป็นหนังสือม้วน เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปี ก่อนคริสตกาลหนังที่นำมาใช้ต้องผ่านการฟอกและ ขัดจนเรียบ ราคาจึงแพง แต่มีข้อได้เปรียบกว่ากระดาษปาไปรัส เพราะใช้เขียนได้ 2 หน้า และสามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันได้ ทั้งเก็บได้หนากว่าสีน้ำหรือสีหมึกในคริสตวรรษที่ 6 มี
การตั้ง "โรงเรียน" (
Scriptoria) ขึ้นในอิตาลี เป็นที่สำหรับใช้ให้ บรรดาพวกพระทำการคัดลอกและ
เขียนต้นฉบับหนังสือ วิธีการนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หนังสือที่เกิดจากฝีมือ พวกพระในสมัยระหว่างคริสตศตวรรษ ที่
5-15 นี้ เขียนบน แผ่นหน้าเป็นส่วนมาก ใช้แผ่นหนัง 4 ผืน ซ้อนกันแล้วพับครึ่ง
เย็บด้ายตรงรอยพับ นับเป็นยกหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับ
8 แผ่น หรือ 16 หน้า จะเขียนทีละหน้าและมีการประดิษฐ์หัวเรื่องให้ สวยงาม โดยใช้สีต่างๆอักษรตัวแรก ของประโยคก็เป็นอักษร ประดิษฐ์เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเสร็จ มีการตรวจทานให้ถูกต้อง และส่งไปทำปกในส่วนของปกก็มีการ ออกแบบลวดลาย ให้สวยงาม

ในคริสตศตวรรษที่ 13 มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในยุโรปหลายแห่ง ความต้องการหนังสือตำราต่างๆ มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจ้างเสมียนคัดลอกและเก็บรักษาหนังสือสำหรับให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เข้าไปใช้และเมื่อมีการนำกระดาษมาใช้แทนหนังราคาหนังสือก็ถูกลง จึงมีการทำขายแทนการเช่า การผลิตหนังสือก็ต้องเปลี่ยนโฉมหน้าให้ทันกับความต้องการ ทั้งปริมาณ และความรวดเร็ว ดังนั้น การสนใจเรื่องการประดิษฐ์เพื่อความสวยงามก็ลดน้อยลงไป ทัศนะเดิมที่เคยถือกันว่า "หนังสือเป็นงานอวดฝีมือ และศิลปะ" ก็เปลี่ยนมาเป็น "หนังสือเพื่อความรู้" แทนและเมื่อ โจฮัน
กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สำเร็จในราวกลาง คริสตศตวรรษที่
15 ก็ทำให้หนังสือเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ยุคการพิมพ์ จึงเป็นการสิ้นสุดหนังสือยุคก่อน การพิมพ์ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2515 : 29-33

  ที่มา :  http://www.keereerat.ac.th

 


กลุ่มข่าวสาร : บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ในปีงบประมาณ 2562
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา วพ 320 วัชพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ ผู้แต่ง เจนจิรา หม่องอ้น จำนวน 159 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวหนังสือ การออกแบบเทคโนโลยีและระบบพลังงานทดแทนด้านความร้อน ผู้แต่ง นัฐพร ไชยญาติ จำนวน 813 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวบทคัดย่อ สัมมนาวิชาการลาว-ไทย ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยสุภานุวงส์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 98 หน้า ขนาด A4 ปกกระดาษอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบเงา เนื้อในกระดาษปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
11 กันยายน 2562     |      11102
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนตุลาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์หลักสูตร เทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวโปสเตอร์: ขนาด 12x18 นิ้ว กระดาษอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์: ทำเนียบรุ่นดารารวมใจ ผู้จัดทำ: สมพัฒวรรณ สิทธิสังข์ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในอาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: สูจิบัตรการแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ การแปรรูปด้วยความร้อนและไม่ใช้ความร้อน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-289-1 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 206 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ หน่วยปฏิบัติการทางวิศวกรรมอาหาร 1 ผู้แต่ง: ฤทธิชัย อัศวราชันย์ ISBN: 978-616-478-299-0 ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2561 จำนวนหน้า: 254 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแสดงและการประกวดกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ผู้จัดทำ: ศูนย์กล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน เคลือบมัน
26 ตุลาคม 2561     |      4829
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกันยายน 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ ผลิตภัณฑ์ปลารมควัน ผู้แต่ง: ดร.วาธิณี อินทรพงษ์นุวัฒน์ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการตรวจลงตราและข้อปฏิบัติ การอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว สำหรับนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติที่มาศึกษา แลกเปลี่ยน หรือปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ: กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 52 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสืองานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561 คณะผลิตกรรมการเกษตร ผู้จัดทำ: คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 24 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ งานแสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ผู้จัดทำ: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี จำนวนหน้า: 104 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี/ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: เอกสาร การจัดแสดงผลงานหลักสูตรและนวัตกรรม บัณฑิตศึกษา ผู้จัดทำ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า: 40 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อในปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานลมและแสงอาทิตย์/ Wind and Solar Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ.กิตติกร สาสุจิตต์ ISBN: 978-974-8445-96-0 จำนวนหน้า: 394 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด เอ4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาว
1 ตุลาคม 2561     |      1468
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2561
ชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหยอง ผู้จัดทำ: คณะเทคดนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ หนังปลาทอดกรอบ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ การแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ปลายอ ผู้จัดทำ: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตัวแผ่นพับ: ขนาด เอ4 พับ 3 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้านชื่อสิ่งพิมพ์: คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จัดทำโดย: เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ ตัวเล่ม: ขนาด เอ5 ปกอาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี เข้าเล่มมุงหลังคาชื่อสิ่งพิมพ์: หนังสือ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน/ Renewable Energy Technology ผู้แต่ง: ผศ. ดร.ธเนศ ไชยชนะ พิมพ์ครั้งที่ 2/กรกฎาคม 2561 ฉบับปรับปรุง ISBN: 978-616-474-129-4 จำนวนหน้า: 303 หน้า ตัวเล่ม: ขนาด A4 ปกอาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบมัน เนื้อใน ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เข้าเล่มไสกาวชื่อสิ่งพิมพ์: แผ่นพับ อาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียร์เพื่อลดต้นทุน ผู้แต่ง: สุดาพร ตงศิริ และ วรวิทย์ ชูขวัญนวล ตัวแผ่นพับ: ขนาด A4 พับ 2 อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 2 ด้าน
19 กรกฎาคม 2561     |      1922