งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555
สิ่งพิมพ์ให้บริการประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ชื่อสิ่งพิมพ์ :ปกเอกสารประกอบการบรรยาย โครงการ Q อาสา สถาบันบริการตรวจสอบ คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ออกแบบปก)ชื่อสิ่งพิมพ์ :สมุดบันทึกโครงการ Q อาสา สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือ การฝึกซ้อมรับพระราชทาน ปริญญาบัตร พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ 34 หน้าชื่อสิ่งพิมพ์ :วารสาร พวงแสด ช่อที่ 29 ประจำปี 2554/ ชมรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ 113 หน้า ชื่อสิ่งพิมพ์ :วารสาร ส.น.ญ.(น.) ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน 2554/ สมาคม นักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานภาคเหนือ/ 16 หน้า ชื่อสิ่งพิมพ์ :สูจิบัตรพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ครั้งที่ 34 ประจำปีการศึกษา 2553-2554/ 178 หน้า 
4 พฤษภาคม 2555     |      1711
เกร็ดความรู้เรื่อง โหมดสี
โหมดสี (Color Mode) โหมดสีมีด้วยกันหลายโหมด แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้งานกันบ่อยๆ แล้วจะมีอยู่ 4 โหมด ดังนี้ 1. โหมด RGB (Red, Green, Blue) ประกอบด้วยสีสามสี คือ สีแดง, สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งการสร้างงานกราฟฟิคนั้น เราจะใช้โหมด RGB นี้เป็นหลัก โหมด RGB นี้สีจะเกิดขึ้นจากการผสมแสงสามสี ให้เกิดเป็นจุดสี ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเห ของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วงและต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลืองและถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาวจากคุณสมบัติของแสงนี้ เราได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น 2. โหมด CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) (โหมดสีนี้เป็นโหมดสีสำหรับงานพิมพ์ออฟเซ็ท) ประกอบด้วยสีสี่สี คือ สีเขียวปนน้ำเงิน, สีม่วงแดงเข้ม, สีเหลือง และสีดำ โหมดสีนี้จะใช้ในการเตรียมพิมพ์การพิมพ์สี่สี ระบบสี CMYK เป็นระบบสีชนิดที่เป็นวัตถุ คือสีแดง เหลือง น้ำเงินแต่ไม่ใช่สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีวัตถุธาตุ แม่สีในระบบ CMYK เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสงหรือระบบสีRGB คือ แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan) แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง(Magenta) แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow) สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี(CMYK) ระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละสี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้าลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง100% 3. โหมดขาวดำ (Grayscale) โหมดนี้จะมีเพียงสองสีคือ สีขาวและสีดำแต่จะมีระดับความเข้มของสีดำ 255 ระดับ รวมกับสีขาวอีกหนึ่งสี ในโหมดนี้ก็จะมีเพียง 256 สี 4. โหมด Indexed Color คือ โหมดสี 8 bit channel หรือ 256 สี (2 ยกกำลัง 8 = 256 สี) โดยไม่มีการกำหนดตายตัวว่าสีทั้ง 256 สีนั้นจะต้องเป็นสีใดๆ บ้าง ซึ่งเราสามารถกำหนดชุดสีที่ใช้ ว่าจะใช้สีใดๆ บ้าง (แต่ต้องไม่เกิน 256 สี) ที่มา http://www.bangkokprint.com
3 มกราคม 2555     |      2252
การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์
การใช้สีกับสื่อสิ่งพิมพ์ ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ มีความสดใส สวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณภาพอีกด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด ทฤษฎีของสี อารมณ์และความรู้สึกจะเป็น ตัวกำหนดความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีของแต่ละคน แต่ละกลุ่มเป้าหมายมีส่วนที่จะชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจ และเข้าใจถึงคุณค่าของภาพเหล่านั้นสามารถตอบสนองแรงกระตุ้นได้ตามวัตถุ ประสงค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบมีทฤษฎีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องของสี ที่จะช่วยให้เกิดความกระจ่าง ในเรื่องของความหมายและอิทธิพลของสีที่มีต่อการรับรู้ต่อการมองเห็นภาพที่ ปรากฏ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย วงล้อสีธรรมชาติ ในส่วนของวงล้อสีธรรมชาติมีรายละเอียด ดังนี้            * มีทุกสีในวงล้อสีเป็นสีแท้หรือฮิว เพราะทุกสีจะมีความเข้มหรือความสดในในตัวของมันเอง ซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี            * เมื่อนำสีทุกสีมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน จะทำให้เกิดเป็นสีที่เป็นกลางหรือนิวทรัล            * สีที่อยู่ใกล้กันจะมีความกลมกลืนกัน เพราะเป็นการผสมสีจากสีร่วมกัน            * สีที่ตรงกันข้ามกันในวงล้อจะมีลักษณะของสีที่ตัด กัน โทนของสี โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอยู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ            1. โทนสีร้อน (warmtone)            2. โทนสีเย็น (cooltone) จิตวิทยาในการเลือกใช้สี สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่มีความแตกต่าง หลากหลายของสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ หลักการพิจารณาในการเลือกใช้สี  การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้งานนั้นมีความสวย งามน่าดู น่าชม หรือส่งเสริมให้เนื้อหาสาระที่นำเสนอมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งคนแต่ละวัยจะมีความสนใจกลุ่มสีที่แตกต่างกันที่มา : http://pdc.ac.th
11 เมษายน 2560     |      6497
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
กว่าจะมาเป็น e-Book            หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ  ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้            การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต      เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป ความหมายของ e-Book        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์         คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไปโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Bookโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่ 1. โปรแกรมชุด Flip Album 2. โปรแกรม DeskTop Author 3. โปรแกรม Flash Album Deluxe      ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย 1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer 1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader 1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player                      ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป   ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น 1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ 2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสร้างให้มี     ภาพเคลื่อนไหวได้ 3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้ 4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล      (update)ได้ง่าย 5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออก    ไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้ 6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ      ประหยัด 7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์     สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด 8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทาง    หน้าจอคอมพิวเตอร์ 9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถ    สั่งพิมพ์ (print)ได้ 10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกัน      ได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต) 11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละ     จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ใน Handy Drive หรือ CD 12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม       โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)      ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 1. หน้าปก (Front Cover)  หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่า หนังสือ เล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง 2. คำนำ (Introduction)        หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น  3. สารบัญ (Contents)       หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย               • หน้าหนังสือ (Page Number)             • ข้อความ (Texts)             • ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff             • เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi             • ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi             • จุดเชื่อมโยง (Links) 5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้ 6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษร     ให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง 7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่มบทความนี้เขียนโดย ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์ อ้างอิงจากหนังสือ "กลยุทธ์การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมืออาชีพ"
10 กุมภาพันธ์ 2556     |      27791
เรื่องของหนังสือ
หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ อีบุ๊ก (e-book)อ่านต่อหนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่างๆกัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่างๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ อีบุ๊ก (e-book)การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือถือเป็นสื่อที่มีความเก่าแก่ และมีอายุยาวนานที่สุดในบรรดาสื่อทั้งหมด เคยมีการทำนายไว้ว่า เมื่อวิทยุเกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่เมื่อวิทยุถือกำเนิดขึ้นจริง หนังสือก็ยังคงได้รับความนิยมเหมือนเดิมหลังจากนั้นมีการทำนายว่า เมื่อโทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็อาจจะหมดความสำคัญไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหลังจาก โทรทัศน์เกิดขึ้น หนังสือก็ยังคงได้รับความสำคัญเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกันประเภทของหนังสือแบ่งตามการเผยแพร่ เช่นนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์แบ่งตามเนื้อหา เช่น หนังสือแบบเรียน หนังสือการ์ตูน หนังสือราชการ หนังสือภาพการผลิตหนังสือหนังสือในปัจจุบันส่วนใหญ่จัดทำโดยวิธีการพิมพ์ โดยมีเทคโนโลยีการพิมพ์หลายแบบ การผลิตหนังสือจำนวนมากมีแหล่งผลิตเรียกว่าโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หนังสือบางส่วนที่ผลิตโดยใช้คนทำเรียกว่าหนังสือทำมือการจัดเก็บหนังสือในสถานที่สำคัญเช่นโรงเรียน มีการจัดเก็บหนังสือไว้ในห้องสมุดเพื่อให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ โดยใครอ่านหนังสือมากๆ ก็จะเรียกว่าหนอนหนังสือส่วนบางคนที่ชอบการสะสมหนังสือจะมักจัดเก็บหนังสือบนชั้นวางหนังสือ หรือ ตู้หนังสือหนังสือในประเทศไทยประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 เฉลี่ยมีหนังสือใหม่ออกมาสู่ตลาดประมาณเดือนละ 995 ชื่อเรื่อง หรือประมาณ 11,460 ชื่อเรื่องทั้งปี ซึ่งยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยทั่วประเทศมีร้านขายหนังสือประมาณ 1900 ร้าน และมีสำนักพิมพ์ประมาณ 500 แห่ง ร้านขายหนังสือที่เปิดเป็นสาขาในประเทศไทยเช่น ศูนย์หนังสือจุฬา, ร้านนายอินทร์, B2S, ดอกหญ้า และ ซีเอ็ดบุคส์เซนเตอร์ เป็นต้น สำนักพิมพ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในไทยปริมาณมากได้แก่ นานมีบุ๊คส์, แพรวสำนักพิมพ์, มติชน, สำนักพิมพ์ใยไหม, แจ่มใสพับลิชชิ่ง เป็นต้น งานมหกรรมหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากที่มา : วิกิพีเดีย
11 มกราคม 2554     |      1772
กระดาษถนอมสายตา
กระดาษ ถนอมสายตา เป็นกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว สีของกระดาษจะออกสีตุ่นๆ ไม่ขาวจั๊วะเหมือนกระดาษขาวทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษถ่าย เอกสาร, กระดาษคอมพิวเตอร์, กระดาษแอร์เมล์ เป็นต้น แต่แตกต่างตรงกรรมวิธีการผลิต(อ่านต่อ)กระดาษถนอมสายตา(Green read)กระดาษ ถนอมสายตา เป็นกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว สีของกระดาษจะออกสีตุ่นๆ ไม่ขาวจั๊วะเหมือนกระดาษขาวทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษถ่าย เอกสาร, กระดาษคอมพิวเตอร์, กระดาษแอร์เมล์ เป็นต้น แต่แตกต่างตรงกรรมวิธีการผลิต            เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกเยื่อกระดาษ การเตรียมเยื่อ แล้วผ่านกระบวนการผลิตที่ควบคุมค่าพิเศษ รวมทั้งการควบคุมสีที่ต่างจากกระดาษขาวทั่วไป ...ส่งผลให้กระดาษถนอมสายตา มีคุณสมบัติพิเศษที่อ่านสบายตาถนอมสายตา พื้นผิวของกระดาษไม่เนียนละเอียด มีTexture, มี ความทึบแสง, มีความฟู (Bulk) แต่มีน้ำหนักเบา และสามารถเก็บรักษากระดาษได้นาน โดยสภาพกระดาษและสีดูไม่เก่า จึงเหมาะกับการนำไปพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นชีท เช่น แบบเรียนทั่วไป นวนิยาย หนังสือวิชาการ หรือเอกสารวิชาการ            สำหรับการพิมพ์พ๊อกเก็ตบุ๊ค เนื่องจากกระดาษถนอมสายตามีความฟูและทึบแสงมากกว่ากระดาษปอนด์แกรมเดียวกัน ดังนั้นเมื่อสำนักพิมพ์ เลือกใช้กระดาษถนอมสายตาขนาด 65 แกรม แทนกระดาษปอนด์ 80 แกรม เพื่อพิมพ์เป็นพ๊อกเก็ตบุ๊ค จะทำให้ได้หนังสือที่มีรูปเล่มที่ฟูหนาเท่ากับพ๊อกเก็ตบุ๊คกระดาษปอนด์ 80 แกรม แต่จะมีน้ำหนักเบากว่า อันจะส่งผลดีต่อรูปเล่มที่ฟูหนาสวยงาม และมีน้ำหนักเบาสะดวกต่อการพกพาของผู้อ่าน ขนาดของกระดาษถนอมสายตาเมื่อตอนผลิตออกมา จะมีขนาดม้วนเหมือนกับกระดาษทั่วไป หากจะตัดขนาด ก็มีขนาดใหญ่ A0 เช่นเดียวกัน และที่มีขายเป็นขนาดกระดาษ A4 (1 รีม 500 แผ่น)ก็ มี ส่วนหนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค คือกระดาษ A0 ที่ถูกตัดขนาดให้ เหลือขนาดเท่ากับ A5 ข้อดีของกระดาษถนอมสายตาเป็นกระดาษสีเหลืองอ่อน นวลตา ผิวของกระดาษที่ไม่เรียบ, ความสว่างของสีมีปริมาณน้อย, ดูด กลืนแสงในช่วงแสงสีน้ำเงินได้ดี, ทำให้ลดการสะท้อนแสงเข้าตา ประมาณ15 % ซึ่งช่วยทำให้ถนอมสายตา อ่านหนังสือได้นาน และยิ่งความหนาแน่นเสมือน ของกระดาษที่ต่ำ ก็ยิ่งทำให้แสงถูกดูดกลืนได้มากขึ้นด้วย ตำราเรียนของต่าง ประเทศส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษถนอมสายตา เช่น ประเทศสิงคโปร์, ญี่ปุ่น สีของกระดาษ จะคงทน ไม่คล้ำ หรือไม่เปลี่ยนสี ทำให้หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษชนิดนี้ ไม่ดูเก่าลง มีน้ำหนักเบาแต่ฟูกว่ากระดาษปอนด์ขาวทั่วไป ทำให้เมื่อพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม จะดูหนากว่า น่าจับต้องกว่า แต่มีน้ำหนักเบากว่า พกพาสะดวกกว่า....หากเทียบกับกระดาษปอนด์ขาว ที่จำนวนแกรมเท่ากัน กระดาษถนอมสายตาจะมีน้ำหนักเบากว่า 30% ที่มา : http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/169509
1 มกราคม 2557     |      1822
การออกแบบโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์
การโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ในปัจจุบันนี้ก็ได้แพร่หลายขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์และรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการก้าวหน้า ไปกว่าเดิมอย่างรวดเร็ว อาจครอบคลุมไปถึงสื่อตัวกลางทุกประเภทที่จะสามารถใช้เป็นพื้นที่ที่พิมพ์ข้อความโฆษณาลงไปได้ (อ่านต่อ)การโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ในปัจจุบันนี้ก็ได้แพร่หลายขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์และรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์มีวิวัฒนาการก้าวหน้า ไปกว่าเดิมอย่างรวดเร็ว อาจครอบคลุมไปถึงสื่อตัวกลางทุกประเภทที่จะสามารถใช้เป็นพื้นที่ที่พิมพ์ข้อความโฆษณาลงไปได้ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิว เอกสารแผ่นพับ ป้ายประกาศโฆษณา(โปสเตอร์) หีบ ห่อ กล่องบรรจุสินค้า ฯลฯ ในการออกแบบโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด หลักพื้นฐานที่นักออกแบบโฆษณาควรจะต้องทราบ ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ขั้นตอนของการทำงานออกแบบ และหลักเกณฑ์ในการออกแบบ อย่างไรก็ดีแบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง ด้อยรสนิยม และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้ อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะ 1. องค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์ โดยทั่วไปองค์ประกอบของโฆษณาในสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยองค์ ประกอบใหญ่ 4 ประการ ดังนี้             1.1 พาดหัวโฆษณา (headline) คือ ส่วนที่เป็นตัวอักษรมักมีลักษณะเป็นประโยคที่ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ อาจมีประโยคเดียว บรรทัดเดียว หรือหลายบรรทัด หรือหลายประโยค หลายบรรทัดก็ได้ ในกรณีที่พาดหัวโฆษณายาว อาจจัดแบ่งเป็นพาดหัวใหญ่และพาดหัวรอง พาดหัวรองก็จะเป็นส่วนขยายพาดหัวใหญ่ ใช้ตัวอักษรขนาดเล็กกว่า หรืออาจจะให้แบบตัวอักษรต่างจากพาดหัวใหญ่ก็ได้ ดังนั้นในพาดหัวโฆษณาจึงอาจมีแบบของตัวอักษรได้มากกว่าหนึ่งแบบอย่างไรก็ดี แบบของตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาหนึ่ง ๆ ก็ไม่ควรจะมีมากเกินไปนัก เพราะถ้าหากมากแบบไป อาจจะทำให้แลดูยุ่งเหยิง ด้อยรสนิยม และอาจทำให้หาจุดเด่น คือ พาดหัวสำคัญไม่พบก็ได้             อาจกล่าวได้ว่าพาดหัวโฆษณาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชิ้นงานโฆษณา เพราะเป็นส่วนที่นำเสนอแก่น หรือหัวใจของงานโฆษณานั้น ถ้าผู้อ่านเพียงแต่อ่านพาดหัวก็อาจจะสามารถรู้ทุกสิ่งที่ผู้โฆษณาต้องการจะบอกกล่าวก็ได้ ดังนี้ในบางครั้งโฆษณาทั้งชิ้นอาจมีเพียงแต่พาดหัวโฆษณาแล้วมีชื่อผู้โฆษณาต่อท้ายเท่านั้น ก็เรียกว่าเป็นชิ้นงานโฆษณาที่สมบูรณ์ชิ้นหนึ่งแล้ว พาดหัวโฆษณาอาจจะปรากฏที่ตำแหน่งใดในพื้นที่ชิ้นงานโฆษณานั้นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนบน ส่วนกลาง หรือส่วนกลาง หรืออาจจะตะแคงพาดมุมซ้าย มุมขวาก็ได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมเมื่อประกอบกับองค์ประกอบนั้น ๆ และวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบว่าต้องการจะใช้พาดหัวโฆษณานั้นให้เกิดผลประการใดต่อผู้อ่าน             นอกจากเรื่องการออกแบบและการกำหนดขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้อหาและอารมณ์ ของโฆษณาแล้ว สิ่งที่ผู้ออกแบบพึงระวังเกี่ยวกับเรื่องพาดหัวโฆษณาก็คือ การแบ่งประโยคของพาดหัว หากเป็นกรณีที่พาดหัวมีขนาดยาว หรือพื้นที่โฆษณาจำกัด จำต้องแบ่งพาดหัวเป็นหลายบรรทัด ถ้าแบ่งประโยคผิด ก็อาจทำให้ความหมายของพาดหัวนั้นคลาดเคลื่อนและทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ผิดก็ได้ อีกประการหนึ่ง คือ เรื่องเครื่องหมายวรรคตอน ควรจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษาด้วย             1.2 เนื้อหาความโฆษณา (copy block) คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียดของโฆษณาทั้งหมด เป็นส่วนขยายของพาดหัวโฆษณา มักจะเรียงเป็นคอลัมน์หรือบล็อก ขนาดตัวอักษรของเนื้อหาความจะมีขนาดเล็ก บทบาทหน้าที่ของเนื้อความ คือ ช่วยย้ำความมั่นใจของผู้อ่านส่วนมากวิธีการเขียนเนื้อความ มักจะเขียนให้สั้น กะทัดรัด และรวบรัด แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับการโฆษณาสินค้าบางชนิดที่จำเป็นจะต้องเขียนให้ยาวและ อธิบายละเอียด เช่นการโฆษณาบริการที่ไม่อาจจะแสดงภาพให้เห็นชัด และจำเป็นต้องอธิบายชักจูงใจให้มาก เพื่อสร้างความมั่นใจกับลูกค้า เช่น บริการประกันชีวิต เป็นต้น และนอกจากนี้ การโฆษณาบางประเภทก็อาจจะเน้นที่เนื้อความโดยตรง เช่น โฆษณาส่งถึงลูกค้าโดยตรงทางไปรษณีย์และสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ จำเป็นจะต้องใช้เนื้อความยาวและอธิบายละเอียด            ในกรณีที่เนื้อความมีความยาวมาก ผู้ออกแบบควรจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นบล็อกสั้น ๆ แต่ละบล็อกอาจมีหัวเรื่องซึ่งเป็นใจความสำคัญของบล็อกนั้นเป็นบรรทัดนำ แล้วล้อมรอบทั้งหัวเรื่องและบล็อกนั้นไว้ด้วยพื้นที่ว่างสีขาว ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตาเป็นช่วง ๆ             1.3 ภาพ (art) ที่จริง คำว่า “art” ในที่นี้มีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ได้เป็นตัวอักษร คือ หมายความถึง ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด ภาพระบายสี กรอบของภาพ เครื่องประดับตกแต่ง แท่งสีต่าง ๆ พื้นสีเทาโทนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นหลังของชิ้นงานโฆษณานั่น พื้นที่ว่างสีขาว ตลอดจนแบบของตัวอักษรเอง ก็สามารถจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะในงานโฆษณาได้ สำหรับภาพถ่ายและภาพวาดนั้น ต่างก็มีประโยชน์ต่องานโฆษณาไปในแง่มุมที่แตกต่างกัน ภาพถ่ายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และให้ความรู้สึกกับคนดูภาพว่า เป็นของจริงและพร้อมจะเชื่อถือ ส่วนภาพวาดนั้นสามารถที่จะแสดงจินตนาการทุกอย่างได้ในขณะที่ภาพถ่ายอาจจะทำ ไม่ได้ นอกจากนี้ภาพวาดก็ไม่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพฤดูกาลดินฟ้าอากาศเหมือนอย่างการ ถ่ายภาพด้วย กรอบภาพเป็นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่น่าคำนึงถึง เพราะนอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว ยังมีประโยชน์มากในแง่แยกโฆษณาซึ่งงานของเราไม่ได้ไปปะปนกับงานโฆษณา ซึ่งมีขนาดเท่ากันหรืออยู่ข้างเคียงกัน             1.4 ชื่อผู้โฆษณา (signature) องค์ประกอบสุดท้าย เป็นส่วนที่จะบอกกล่าวกับผู้อ่าน โฆษณาว่า ใครเป็นเจ้าของโฆษณาชิ้นนั้น โดยปกติชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณามักจะใช้แบบตัวอักษรที่แตกต่างไปจาก ตัวอย่างของเนื้อความโฆษณา เพราะเมื่อจบเนื้อความโฆษณาแล้วในบางชิ้นงานโฆษณาก็จะต่อท้ายด้วยชื่อและที่ ออยู่ของผู้โฆษณาเลย ดังนั้น ก็ควรจะเล่นลวดลายตัวอักษรให้ต่างกัน อย่างไรก็ตามชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ท้ายเนื้อความ โฆษณาเสมอ ไป อาจจะไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ส่วนมากมักจะอยู่ตอนล่างสุดของเนื้อที่ โฆษณา ศัพท์คำว่าชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณานี้ อาจจะมีศัพท์คำอื่นที่ใช้แทนได้ และก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว้างขวางในวงการโฆษณาด้วย เช่น คำว่า “logotype” หรือ “logo” นอกจากชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณาแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีกสองประการสำหรับองค์ประกอบสุดท้ายนี้ คือ เครื่องหมายการค้าและคำขวัญ ซึ่งมักจะอยู่รวมกับกลุ่มกันกับชื่อและที่อยู่ของผู้โฆษณา 2.ขั้นตอนในการปฏิบัติงานออกแบบโฆษณา การปฏิบัติงานออกแบบโฆษณาซึ่งเรียกกันว่า ทำเลย์เอ้าท์นั้นมีหลายขั้นตอนและมี คุณภาพหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นหยาบ หรือคร่าวๆ ที่สุดขึ้นไป จนถึงขั้นละเอียดที่สุด จนอาจจะมองไม่ออกว่าเป็นการวาดหรือเป็นการพิมพ์กันแน่น การทำงานออกแบบจะหยาบหรือละเอียดอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า จะใช้การออกแบบนั้นเพื่ออะไร เช่น ถ้าหากว่าเพื่อจะส่งให้คนเขียนเนื้อความโฆษณาเอาไปพิจารณาเรื่องขนาด เนื้อที่ที่เขาควรจะเขียนข้อความหรือให้ช่างภาพดูเพื่อเป็นแนวทางว่าควรจะ จัดภาพอย่างไร หรือเป็นแนวทางให้ช่างพิมพ์ให้ขนาดตัวพิมพ์ ถ้าเป็นเช่นนั้น การออกแบบก็ไม่ต้องละเอียดมาก แต่ถ้าเป็นกรณีเสนอต่อลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนที่เขาจะต้องจ่าย เงินเป็นจำนวนมาก เพื่อโฆษณาสินค้าของเขาการออกแบบก็ควรจะต้องละเอียดมากขึ้น การทำเลย์เอ้าท์ ไม่ใช่ว่าคิดแบบแรกได้แล้ว ก็จะสามารถใช้ได้ทันที กว่าที่กระบวนการการทำเลย์เอ้าท์จะเสร็จสิ้นเป็นที่ตกลงใจกันได้ทุกฝ่ายนั้น โฉมหน้าของเลย์เอ้าท์ อาจจะเปลี่ยนไปจากความคิดครั้งแรกห่างไกลจนเป็นคนละภาพเลยก็เป็นได้ ระดับขั้นตอนความละเอียดของการทำเลย์เอ้าท์             2.1 ภาพร่าง (thumbnail) เป็นขั้นตอนแรกของการทำเลย์เอ้าท์ ส่วนมากมักจะใช้ขนาดพื้นที่ราว 1/4 ของพื้นที่จริงของโฆษณา ในพื้นที่ย่อส่วนจากของจริงนี้ นักออกแบบก็จะสะดวกเข้าในการสเกตคร่าว ๆ เช่น ลากเส้นขยุกขยิกแทนภาพ ใช้ดินสอแรเงาเป็นฟันปลาแทนตัวอักษร ในขั้นภาพร่างนี้ เรื่องที่สำคัญกว่าละเอียดของภาพ คือ เรื่องสัดส่วนไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของรูปภาพ ขนาดตัวอักษร ความยาวของเนื้อความโฆษณา ถึงจะย่อลงมาจากของจริงก็จะต้องย่อลงมาในลักษณะที่ถูกสัดส่วน             2.2 รูปแบบสำเร็จ (finished layout) เป็นการทำเลย์เอ้าขั้นละเอียดขึ้นมากกว่าภาพร่าง แต่ก็ยังไม่ละเอียดที่สุด ในขั้นนี้มีการออกแบบตัวอักษรในพาดหัวโฆษณาเห็นชัดทั้งในรูปแบบ สไตล์และขนาด สำหรับภาพก็ไม่ใช้เส้นขยุกขยิกแสดงสัดส่วนภาพเท่านั้น แต่เป็นการแสดงภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพวาด - ภาพเขียน - ภาพถ่าย ก็ได้เหมือนกัน เมื่อโฆษณาจะออกสู่สายตาสาธารณชน ขนาดตัวอักษรของข้อความโฆษณาตลอดจนกรอบเนื้อที่ก็จะกำหนดอย่างถูกต้อง             2.3 รูปแบบสมบูรณ์ (comprehensives) เป็นการออกแบบพื้นที่ละเอียดกว่า ข้นที่ 2 เป็น การนำเสนอชิ้นงานโฆษณาต่อลูกค้า ดังนั้น จึงต้องมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาก่อนตกลงใจเสียเงินเป็นจำนวนมาก ในขั้นนี้ตัวอักษรพาดหัวจะต้องเขียนเหมือนของจริงทุกประการ ส่วนภาพถ้าใช้วาดก็จะต้องวาดให้เหมือนจริง หากเป็นภาพถ่ายก็จะถูกปะไว้ในจุดที่เป็นจริง ข้อความโฆษณาจะต้องทำให้เห็นขนาดเนื้อที่ถูกต้อง ถ้าไม่พิมพ์ให้เหมือนจริงก็จะต้องลาก เส้นคู่แสดงขนาดตัวอักษรให้แน่นอน เมื่อเสร็จแล้วก็มีการเข้ากรอบปิดด้วยแผ่นพลาสติกใส เพื่อให้ปลอดภัยคงสภาพดีจนไปถึงมือลูกค้า ถ้าชิ้นงานโฆษณานั้นจะต้องพิมพ์ในระบบออฟเซต การทำเลย์เอ้าท์ก็ต้องมีขั้นตอนเพิ่มอีกขั้นหนึ่ง คือ การตัดองค์ประกอบทุกอย่างที่จัดทำไว้ปะ (paste up)ลงไปในขนาดพื้นที่เท่าจริง ให้ทุกอย่างประกอบกันในลักษณะที่เหมือนของจริงที่สำเร็จรูปแล้ว ทุกประการ เพื่อเอาไปทำแม่พิมพ์ ที่มา : http://viriya.sru.ac.th  
11 มกราคม 2554     |      6016
แนะนำ PP Poster
PP Poster หรือ โปสเตอร์พลาสติคสื่อการสอนที่กำลังได้รับความนิยม มีบริการให้สั่งทำแล้วสำหรับอาจารย์ที่ต้องการสื่อการสอนในรูปโปสเตอร์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)PP Poster หรือ โปสเตอร์พลาสติค อีกทางเลือกของอาจารย์ และผู้สนใจ ที่ต้องการนำเสนอเป็นโปสเตอร์วิชาการหรือสื่อการสอนในรูปโปสเตอร์ ทำได้รวดเร็ว ใช้สะดวก สีสันสดใส เก็บรักษาง่าย มีบริการให้สั่งทำแล้ว  ขนาด 80 x 100 ซม. ในราคาเพียง 640 บาทเท่านั้น พร้อมเคลือบเงา และออกแบบให้ฟรี ง่ายๆ เพียงแต่ท่านส่งข้อมูลเป็นไฟล์ word และไฟล์รูปภาพเท่านั้น ติดต่อสอบถามและสั่งทำได้ที่ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 0 5387 5490 ในวันและเวลาราชการ
6 มิถุนายน 2555     |      2756
ความสำคัญของกระดาษ
ของใช้ในชีวิตประจำวันที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น หนังสือที่เราอ่าน หนังสือพิมพ์ ถุงใส่ขนม กล่องใส่ของ ธนบัตร กระดาษเช็ดหน้าเช็ดปาก ตั๋วรถเมล์ ตลอดจนแผ่นป้ายโฆษณาที่ติดอยู่ตามสถานที่ทั่วไป ล้วนแล้วแต่ทำด้วยกระดาษทั้งสิ้น  มนุษย์เริ่มรู้จักวิธีทำกระดาษเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้วในประเทศจีน โดยเอาฟางมาแช่น้ำทิ้งไว้ ครั้นฟางเปื่อยดีแล้วนำไปตีจนเละจึงกรองเยื่อที่ได้ออก เอาไปล้างให้สะอาดอีกครั้งก็จะได้เยื่อกระดาษ วิธีทำกระดาษให้เป็นแผ่นในสมัยนั้น ทำโดยเอาเยื่อกระดาษที่ล้างสะอาดแล้วมาละลายน้ำอีกครั้งหนึ่งในถังไม้ น้ำที่ใช้ผสมต้องมากประมาณ 10-15 เท่าของเนื้อเยื่อ แล้วใช้ตะแกรงไม้ไผ่ตาถี่ช้อนลงไปในถัง เนื้อเยื่อจะติดตะแกรง พอหมาดดีแล้วลอกเยื่อกระดาษที่ติดตะแกรงเป็นแผ่นออกไปตากแดดจนแห้ง กระดาษจะหนาหรือบางขึ้นอยู่กับความข้นของเยื่อ ถ้าต้องการกระดาษหนาก็ผสมเยื่อให้ข้น กระดาษที่ได้มีสีน้ำตาลเพราะทำจากฟาง จึงเรียกว่า กระดาษฟาง ต่อมามีการใช้ผ้าขี้ริ้วหรือเศษผ้าแช่ กับน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้าแล้วตีจนเละเช่น เดียวกับวิธีทำกระดาษฟาง แต่กระดาษที่ได้มีสีเทา และเนื้อละเอียดกว่ากระดาษฟางมาก  เคล็ดลับวิธีทำกระดาษได้ตกทอดไปยังทวีปยุโรป ประเทศอังกฤษได้รู้จักทำกระดาษใช้เมื่อ พ.ศ. 1852 ในสมัยนั้น กรรมวิธีทำกระดาษส่วนใหญ่ยังทำด้วยมือ ต่อมาใน พ.ศ. 2342 จึงมีชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งชื่อ นิโคลาส โรแบร์ต (Nicolas Robert) ได้ประดิษฐ์เครื่องทำกระดาษขึ้นมา โดยทำเป็นเครื่องมือแบบง่ายๆ และแผ่นกระดาษที่ได้ยังต้องนำไปตากให้แห้งด้วยการผึ่งลมในห้อง  วัสดุที่ใช้ทำกระดาษมีหลายอย่าง เช่น เศษผ้า ฟาง ปอ หญ้า ไม้ ไม้ไผ่ และชานอ้อย เช่น โรงงานกระดาษ จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบสำคัญ โรงงานกระดาษบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ฟางข้าว โรงงานเยื่อกระดาษ ที่จังหวัดขอนแก่น ใช้ปอเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ในแถบนั้น ๆ ส่วนโรงงานทำกระดาษที่ใช้ไม้เป็นวัตถุดิบยังไม่มี แต่มีโครงการจะตั้งโรงงานผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์โดยใช้ไม้จากป่าสนทาง ภาคเหนือในอนาคต  กระดาษประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ รวมเป็นเนื้อเดียวกันกระดาษบางชนิดจะแลเห็นเนื้อเยื่อเหล่านี้ชัดเจนมาก เช่น กระดาษสาที่ใช้ทำตัวว่าวและกระดาษถุงสีน้ำตาล เป็นต้น ไม้ทุกชนิดใช้ทำเยื่อกระดาษได้ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิดที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษจะต้องให้เยื่อเหนียว ยาว มียางน้อย เพราะยางไม้ทำให้เปลืองสารเคมีเมื่อต้มเยื่อ และยังทำให้กระดาษขาดง่ายขณะทำเป็นแผ่นต้องเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ปริมาณไม้ต่อเนื้อที่สูงและไม่มีคุณค่าในการทำ เครื่องเรือน  ไม้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมักจะเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน ไม้ประเภทสนมีอยู่หลายชนิด ตามลักษณะของใบ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ได้ทดลองปลูกสนชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ผลปรากฏว่าสนหลายชนิดสามารถปลูกขึ้นในประเทศไทย และเจริญเติบโตเร็วกว่าในต่างประเทศ ไม้เนื้ออ่อนบางชนิดที่มีขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศ เช่น ต้นนุ่น งิ้ว ก้ามปู ก็สามารถใช้ทำกระดาษได้  ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ประเทศพม่า อินเดีย ปากีสถาน จีน ต่างก็ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบทั้งสิ้น เนื่องจากไม้ไผ่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ปริมาณไม้ไผ่ที่ได้ต่อเนื้อที่น้อยกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ จึงยังไม่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมกระดาษขนาดใหญ่             ฟางและชานอ้อยให้เยื่อกระดาษสั้นและไม่เหนียวจึงเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษคุณภาพต่ำ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ แต่ถ้าจะใช้เยื่อที่ได้จากฟางหรือชานอ้อยทำกระดาษคุณภาพดี เช่น กระดาษสมุด ต้องผสมเยื่อยาวที่ได้จากไม้สนหรือไม้ไผ่ลงไปประมาณร้อยละ 30-50 ไม้ที่ใช้ทำกระดาษ เมื่อขนส่งมาถึงโรงงาน จะถูกปอกเปลือกออกหรืออาจจะลอกเปลือกออกทันทีด้วย เครื่องจักรหรือมือหลังการโค่น การลอกเปลือกทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ใส่ท่อนไม้ที่ตัดสั้นลงไปในถังใหญ่ที่หมุนในแนวระดับ ไม้จะถูกันเองจนเปลือกหลุด หรืออาจใช้น้ำที่มีความดันสูงระหว่าง 1,500-2,500 ปอนด์ตารางนิ้ว ฉีดบนท่อนซุง แรงดันของน้ำทำให้เปลือกไม้หลุดออกได้ เปลือกไม้จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไปในโรงงานทำกระดาษนั่นเอง จากนี้ท่อนซุงที่ปราศจากเปลือกแล้วจะถูกนำไปทำให้กลายเป็นเยื่อกระดาษต่อไป กรรมวิธีทำเยื่อกระดาษมีอยู่ 2 วิธีคือ              1. กรรมวิธีบด ท่อนซุงที่ปอกเปลือกแล้ว จะถูกนำป้อนเข้าไปฝนกับโม่หิน โดยมีน้ำฉีดเพื่อให้โม่หินเย็นลง และหาเยื่อกระดาษออกไปทำกระดาษต่อไป             2. กรรมวิธีทางเคมี ท่อนซุงจะถูกทำให้เป็นเยื่อกระดาษโดยสารเคมี เยื่อกระดาษที่ได้จากวิธีนี้จะมีสีขาวกว่า แต่จะมีราคาแพงกว่ากระดาษที่ทำด้วยกรรมวิธีบด ท่อนซุงจะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผ่านไปยังหม้อย่อยไม้ เศษไม้จะถูกต้มกับสารเคมีนาน 6-24 ชั่วโมง จึงจะได้เยื่อกระดาษที่จะทำเป็นกระดาษต่อไป สารเคมีสำคัญๆ ที่ใช้ต้ม มีอยู่ 3 ประเภท ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ได้จึงมี 3 ประเภทตามชนิดของสารเคมีที่ใช้ คือ เยื่อกระดาษโซดา (soda pulp) ใช้สารละลายด่างแก่ หรือโซดาแผดเผา (caustic soda) เยื่อกระดาษซัลไฟด์ (sulfide pulp) ใช้แคลเซียมไบซัลเฟต (calcium bisulfate) และเยื่อกระดาษ ซัลเฟต (sulfate pulp) ใช้โซเดียมซัลเฟต (sodium sulfate) รวมกับโซดาแผดเผา โซเดียมซัลไฟด์ (sodium sulfide) และโซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate) สารเคมีแต่ละชนิดทำให้เยื่อกระดาษมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน เช่น เยื่อกระดาษโซดาจะอ่อนนุ่มและขาวสะอาดเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสมุดหนังสือ และหนังสือพิมพ์ เยื่อกระดาษซัลไฟด์จะเหนียวกว่า เหมาะที่จะใช้ทำกระดาษที่เหนียวขึ้น ส่วนเยื่อกระดาษซัลเฟตนั้นเหนียวมาก และยังฟอกสีให้ขาวได้ยาก จึงเหมาะที่จะใช้ทำกระดาษสีน้ำตาล ใช้ห่อของ บางทีเราเรียกว่า กระดาษคราฟต์ (kraft paper คำว่า kraft ในภาษาเยอรมันแปลว่า ความแข็งแรง) กระดาษชนิดนี้เริ่มผลิตในประเทศเยอรมันจึงได้ชื่อมาจนทุกวันนี้ เยื่อกระดาษที่ได้จะมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแก่ แล้วแต่กรรมวิธีที่ผลิตเยื่อ ถ้าต้องการเยื่อสีขาวสำหรับกระดาษสมุดหรือกระดาษพิมพ์จะต้องผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ฟอกสีกระดาษ ได้แก่ ก๊าซคลอรีน ผงฟอกสี คลอรีนไดออกไซด์ เป็นต้น เมื่อได้เยื่อกระดาษมาแล้ว นำไปทำเป็นแผ่นกระดาษโดยเอาเยื่อกระดาษมากวน กับน้ำให้เข้ากันในถังใหญ่ ใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผสมสีทำให้กระดาษมีสีต่าง ๆ กัน ผสมแป้งหรือยางไม้ บางชนิดทำให้หมึกไม่ซึมเวลาพิมพ์ เป็นต้น จากนั้นจะถูกผ่านไปบนตะแกรงลวด ซึ่งทำเป็นสายพานเกลี่ยให้เป็นแผ่นกว้าง น้ำจะถูกดูดซึมออก เกิดเป็นแผ่นกระดาษเปียก ๆ จากนั้นจึงนำไปผ่านลูกกลิ้งเพื่อทำให้เรียบ แล้วนำไปผ่านลูกกลิ้งอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้น้ำในกระดาษระเหยจนแห้งและในที่สุดกระดาษจะมีผิวเรียบ มัน แล้วจึงม้วนเข้าเป็นม้วนใหญ่พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป  วิวัฒนาการของการผลิตกระดาษ และความต้องการใช้กระดาษในปัจจุบัน ทำให้เราใช้กระดาษเพิ่มมากขึ้น นอกจากทำกระดาษสมุดและหนังสือธรรมดาแล้ว เรายังทำกระดาษแข็ง ทำประตู ฝากั้นห้อง ท่อระบายน้ำ หรือแม้กระทั่งกางเกงชั้นในชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องซัก ในอนาคตเราอาจมีผลิตผลอื่น ๆ ที่ทำด้วยกระดาษเพิ่มขึ้นอีกมากที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK2/chapter5/t2-5-l4.htm  
1 ธันวาคม 2559     |      6588
ทั้งหมด 12 หน้า