งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
การบริการของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   บริการระบบการพิมพ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยากได้หนังสือหรือสิ่งพิมพ์เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยการพิมพ์ระบบดิจิตอลแบบ Print on Demand เหมาะกับงานที่ต้องการพิมพ์ไม่มีจำนวนขั้นต่ำ(รายละเอียดต่อ)บริการของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   บริการระบบการพิมพ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยากได้หนังสือหรือสิ่งพิมพ์เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยการพิมพ์ระบบดิจิตอลแบบ Print on Demand เหมาะกับงานที่ต้องการพิมพ์ไม่มีจำนวนขั้นต่ำ เช่น  แคตตาล๊อก รายงานประจำปี ปฏิทิน สมุดโน้ต แผ่นพับ โปสเตอร์  นามบัตร เป็นต้น  สำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์หนังสือเร่งด่วน  พิมพ์โดยไม่มีจำนวนขั้นต่ำ  สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้  หรือพิมพ์งานตามสั่ง  สำนักพิมพ์ฯ ยินดีให้บริการด้วยงานคุณภาพและราคาไม่แพง1.พิมพ์หนังสือด่วน  :  ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยากได้หนังสือเร็วที่สุด ไม่มีจำนวนขั้นต่ำ ทำได้ตั้งแต่ 1 เล่ม เช่น  หนังสือพ๊อกเก็ตบุ๊ค หนังสือที่พิมพ์เพื่อจำหน่ายเอง หนังสือที่พิมพ์เพื่อเก็บเป็นที่ระลึก2.พิมพ์งานจำนวนน้อย : ระบบการพิมพ์แบบปริ๊นท์พอดี คือ ระบบการพิมพ์แบบ Print on Demand เหมาะสำหรับงานที่ต้องการพิมพ์จำนวนน้อย  ไม่ต้องพิมพ์จำนวนมากเพื่อเก็บสต๊อก  หนังสือไม่เก่า เปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ เช่น  หนังสือตำราเรียน3.พิมพ์เปลี่ยนข้อมูล :  รองรับการพิมพ์งานจากฐานข้อมูล คือ สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่พิมพ์ได้ทุกใบ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ รูปภาพ หรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะบุคคล เช่น บทสรุปผู้บริหารหรือหนังสือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์  ผลงานทางวิชาการ  พิมพ์เล่มเดียวหรือเป็นชุด  และให้บริการออกแบบปก4.พิมพ์ตามสั่ง : บริการงานที่ผลิตขึ้นมา โดยเฉพาะกลุ่มหรือบุคคล ซึ่งทำได้ด้วยพิมพ์ระบบดิจิตอล จะพิมพ์สีทุกหน้าหรือพิมพ์สีและขาวดำสลับกันได้  เช่น  แม็กกาซีน ปฏิทินตั้งโต๊ะ สมุดโน๊ต  หนังสือรุ่น  หนังสืองานศพ
10 กุมภาพันธ์ 2556     |      2553
ออกแบบปกหนังสือคุณทำเองได้
แนวทางการออกแบบปกหนังสือ (Cover Design) ทำเองได้ไม่ยาก1. การออกแบบปกหนังสือ (Cover Design) ปกหนังสือเป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นเนื้อหา และแสดงให้ทราบว่าเนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องอะไร รายละเอียดบนแผ่นปกจะประกอบด้วยชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ ซื่อผู้ประพันธ์หรือชื่อผู้แปล และรูปภาพประกอบ ทั้งสามส่วนมีความสำคัญเท่ากัน ผู้ออกแบบจะต้องจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมสวยงามตามคุณลักษณะของการจัดวางองค์ประกอบ และคำนึงถึงลักษณะของหนังสือ ลักษณะของผู้บริโภค อาจมีหลักที่ต้องพิจารณาก่อนการดำเนินงานดังนี้  1.1 พิจารณาถึงประเภทหนังสือหนังสือแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว และรูปแบบแตกต่างกันอย่างมาก วัตถุประสงค์ในการสร้างหนังสือก็ไม่เหมือนกัน เช่น หนังสือที่เป็นตำราอ้างอิง หนังสือวิชาการ แบบเรียน หนังสือโอกาสพิเศษ หนังสืออ่านเสริม นวนิยาย นิทานสำหรับเด็ก หนังสือภาพ หนังสือบันเทิง หนังสือกีฬา ฯลฯ การออกแบบหนังสือวิชาการหรือแบบเรียน มีลักษณะแบบเป็นทางการ รูปแบบตัวอักษรแบบเรียบ ๆ กำหนดภาพอยู่ในกรอบ หรือมีเฉพาะตัวอักษร ข้อความ หรือผู้แต่งเท่านั้น การออกแบบหนังสือบันเทิงเริงรมย์ กีฬา นวนิยาย หรือสารคดี จะมีรูปแบบอิสระ มีการออกแบบชื่อหนังสือที่แปลกตาออกไป การออกแบบจัดภาพประกอบปกก็เน้นความสวยงามมากกว่าการถ่ายทอดเนื้อหา เน้นสีสันที่สดใส สะดุดตา การจัดวางรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของหนังสือ การออกแบบหนังสือสำหรับเด็ก เน้นที่รูปภาพประกอบบนปกที่มีความสวยงามเป็นหลัก ตัวอักษรเป็นแบบเรียบง่าย ดูสบายตา ไม่นิยมการจัดระเบียบและการกำหนดกรอบ ใช้สีสันสดเข้ม ฉูดฉาด รูปภาพคมชัดแสดงสาระของเรื่องราว 1.2 พิจารณาถึงบุคลิกของหนังสือบุคลิกของหนังสือจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของสาระเนื้อหา และเทคนิคการออกแบบ ในปัจจุบันการแข่งขันในเรื่องของหนังสือมีสูงมาก มีหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นมากมาย นักออกแบบจะต้องออกแบบหนังสือนั้นให้สวยงาม มีความโดดเด่น แปลกตามากกว่าคู่แข่ง 1.3 พิจารณาถึงแนวทางสร้างสรรค์รูปแบบควรยึดหลักการออกแบบ 3 ประการ คือ การจัดองค์ประกอบศิลป์ การออกแบบรูปภาพ และการกำหนดแบบตัวอักษรของหนังสือ ทั้งนี้หลักการทั้งหมดต้องให้สอดคล้องและเหมาะสมกับประเภทของหนังสือ และต้องสร้างรูปแบบแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของหนังสือนั้นด้วย 1.4 พิจารณาถึงวิธีการผลิตการผลิตปัจจุบันค่อนข้างมีความสะดวก สามารถตอบสนองความต้องการของการผลิตงานพิมพ์ได้เป็นอย่างดี การออกแบบปกหนังสือที่ดีต้องไม่สร้างความยุ่งยากสับสนในการพิมพ์และการผลิต เพราะถ้ามีหลายคำสั่ง ใช้วิธีการหลายอย่าง บางครั้งจะทำให้การผลิตมีโอกาสผิดพลาดได้  1.5 พิจารณาถึงวัสดุที่ใช้ทำปก ปกหนังสือมีหลายชนิด เช่น ปกแข็ง ปกอ่อน ปกกระดาษหุ้มด้วยแรกซีนหรือผ้าไหม การกำหนดวัสดุกับการออกแบบต้องสอดคล้องกัน เช่น ปกพิมพ์ออฟเซต 4 สี ควรเลือกใช้กระดาษเนื้อแน่น ละเอียด เช่น กระดาษอาร์ต กระดาษนิวเอช ภาพจะได้มีความคมชัดสีสันสวยงาม ถ้าต้องการพิมพ์ปั๊มนูน ควรกำหนดให้กระดาษมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้การปั๊มนูนมีความคมชัด นอกจากเนื้อกระดาษแล้วก็ควรพิจารณาถึงขนาดกระดาษ และความหนาด้วย2. การออกแบบจัดหน้า สิ่งพิมพ์แต่ละประเภทมีหน้าที่และบทบาทแตกต่างกันออกไปตามบุคลิกของหนังสือนั้น ๆ การออกแบบจัดหน้าจะสอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและลักษณะของรูปเล่ม ซึ่งจะเปลี่ยนไปตลอดเวลา ในการคิดและวางแผนการออกแบบจึงควรศึกษาถึงวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน และในการออกแบบการจัดหน้าก็มีบทบาทในอันที่จะมีส่วนร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาให้สื่อเหล่านั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น พอจะแบ่งลักษณะการจัดหน้าได้เป็น 3 ลักษณะใน 3 กลุ่มสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือสำหรับเด็กที่มา : “เทคนิคการออกแบบกราฟิก” พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์
22 มีนาคม 2560     |      6087
แนะนำหนังสือใหม่
แนะนำหนังสือจัดพิมพ์ใหม่ ชื่อหนังสือ การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมชุมชนที่น่าอยู่อาศัย และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชนรายละเอียดหนังสือชื่อหนังสือ :เอกสารการสอนวิชา ภส 332 การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 2 การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมชุมชนที่น่าอยู่อาศัยและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชน (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) เรียบเรียงโดย :จรัสพิมพ์ บุญญานันต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบวางแผนสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า : 107 หน้า ขนาด : 20.5 x 28.5 ซม. เนื้อหา : การออกแบบวางผังโครงการขนาดกลาง การออกแบบสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นขนาดเล็กในชุมชนที่พักอาศัย การวางผังอาคาร ระบบ สัญจรภายในโครงการ การจัดสถานที่ต่างๆ ภายในโครงการ
1 มกราคม 2557     |      1267
ความเป็นมาของ ISBN 13 หลัก
ทำไม ISBN ถึงเปลี่ยนจาก 10 หลักเป็น 13 หลักความจริงแล้ว สำนักพิมพ์หลายสำนักพิมพ์คงได้ใช้ ISBN แบบ 13 หลัก กันแล้ว ซึ่งก็คงใช้เวลาอยู่ไม่น้อยกับการปรับเปลี่ยน และให้ชินกับระบบใหม่ แต่ก็ยังมี อีกหลายสำนักพิมพ์ที่อาจจะยังไม่เข้าใจดีนัก หรือบางท่านอาจจะยังไม่ทราบเรื่องนี้ ดังนั้น จึงขอชวนท่านผู้อ่านได้มาดูที่มาที่ไป ทบทวนทำความเข้าใจเรื่องของ ISBN 13 หลัก กันอีกครั้ง ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง  เนื่องจากการผลิตหนังสือของบ้านเรามีมากขึ้นจนเลข ISBN ที่เตรียมไว้มีไม่พอ จึงต้องกำหนดรูปแบบ ISBN ใหม่ขึ้นเพื่อรองรับกับการผลิตหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่จะตีพิมพ์ในอนาคต รวมถึงการปรับรูปแบบให้เข้าระบบ EAN-UCC ซึ่งเป็นระบบบาร์โค้ดของสินค้า เพื่อสะดวกในการเชื่อมโยงกับระบบการค้าธูรกิจทั่วโลก ผู้ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องคงเริ่มต้นกันที่สำนักพิมพ์ ในการขอหมายเลข เพื่อนำมาทำบาร์โค้ดสำหรับหนังสือ ตัวแทนจำหน่ายหนังสือ เช่น ร้านหนังสือ-ขายปลีก, ขายส่ง โปรแกรมของทางร้านต้องรองรับ ISBN 13 หลัก เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หมดปัญหาเรื่องที่หลาย ๆ ครั้ง เราพบว่าบาร์โค้ดหลังปกไม่ตรงกับโปรแกรมหน้าร้าน และจากนั้นคือ ห้องสมุด ซึ่งต้องจัดทำฐานข้อมูลเพื่อรองรับทั้ง ISBN 13 หลัก และสิ่งพิมพ์ ISBN 10 หลัก (ระบบเดิม) เริ่มต้นใช้ระบบ ISBN 13 หลัก เมื่อไหร่ เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 แล้ว ทางหอสมุดแห่งชาติ จะเปลี่ยนวิธีการขอหมายเลข ISBN และ CIP ที่จากเดิมทางสำนักพิมพ์จะส่งรายละเอียดของหนังสือไปทางโทรสาร และโทรศัพท์กลับมาขอตัวเลข มาใช้วิธีขอหมายเลขด้วยระบบออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซด์ ตามเอกสารชุด “โครงการพัฒนาระบบการออกหมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)”ขั้นตอนใหม่ในการใช้บริการ ISBN ผู้ขอใช้บริการ (สำนักพิมพ์) ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับทางหอสมุดแห่งชาติ ผ่านทางเวบไซด์ของหอสมุดทางหอสมุดจะทำการบันทึกข้อมูลสมาชิกในระบบ พร้อมระบุชุดของ ISBN ให้กับสมาชิกหอสมุดจัดส่งรหัสประจำตัว และรหัสผ่านในการเข้าไปใช้งานในระบบให้กับสมาชิกสมาชิก (สำนักพิมพ์) รับรหัสประจำตัวและรหัสผ่าน และสามารถนำไป Log in เข้าสู่ระบบ เพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลที่ได้รับสมาชิก (สำนักพิมพ์) สามารถทำการขอ ISBN ผ่านทางเว็บไซด์ได้ 2 แบบ 5.1 จำนวนข้อมูลทาง ISBN ไม่เยอะ – ทำการขอผ่านทางเว็บไซด์ โดยกรอกแบบฟอร์ม แล้วส่งข้อมูล 5.2 จำนวนข้อมูลขอ ISBN เยอะ – ทำการขอผ่านทางเว็บไซด์ โดยแฟ้มข้อมูลสิ่งพิมพ์ทางหอสมุดจะทำการตรวจสอบ คำร้อง พร้อมสร้าง ISBN แล้วส่งกลับสมาชิกสมาชิกตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากเว็บไซด์ และนำไปดำเนินการต่อสมาชิกจัดส่งสิ่งพิมพ์ (หนังสือ) ให้กับทางหอสมุดตามจำนวนที่กำหนดทางหอสมุดรับสิ่งพิมพ์ (หนังสือ) และทำการบันมึกรับสิ่งพิมพ์เข้าสู่ระบบ แล้วรายการสิ่งพิมพ์ นั้นจะปรากฏที่หน้าแรกของเว็บไซด์ ของหอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สนใจทำการเข้ามาค้นหา สิ่งพิมพ์ (หนังสือได้)ทำไมต้องเปลี่ยน ISBN จาก 10 หลัก ที่ใช้อยู่เป็น 13 หลัก  รวมถึงต้องมีการแปลงเลข (Convert) สำหรับสิ่งพิมพ์ที่ขาดตลาด (Cut of print) ซึ่งคาดว่าจะมีการสั่งซื้อในอนาคตด้วย สำนักพิมพ์ / ร้านจำหน่ายหนังสือ / ตัวแทนจำหน่าย จะต้องดำเนินการกับราคาสินค้าที่มีอยู่ในสต็อค / บัญชีรายชื่อ (แคตาลอก) / ข้อตกลงสัญญาซื้อขาย แม้กระทั่งระบบการจัดทำรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรม (Bibliographic data) ของห้องสมุด ล้วนแต่รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ ISBN ระบบใหม่กำหนดให้ใช้เลข 10 หลักเป็น 13 หลัก แทนทั้งสิ้น กล่าวคือ ร้านจำหน่ายหนังสือ (Bookseller) จำเป็นต้องเปลี่ยนจาก 10 หลัก เป็น 13 หลัก ด้วยเช่นกัน ในส่วนของการสั่งซื้อ การแสดงใบแจ้งราคาสินค้า / ใบส่งของ (Invoice) จะต้องเตรียมให้พร้อมก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 (ค.ศ.2007)ห้องสมุด ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ระบบฐานข้อมูลต้องมีทั้ง 2 ระบบ คือ ISBN 10 หลัก และ 13 หลัก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเอกสารที่มีอยู่เดิม (Old collection) หรือเอกสารที่เข้ามาใหม่ ห้องสมุดต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลบังคับใช้ในวันข้าง หน้า แม้ว่าวันที่ 1 มกราคม 2550 (ค.ศ.2007) ISBN 13 หลัก จึงจะมีผลบังคับใช้ก็ตาม แต่ก็ต้องมีสำนักพิมพ์ และ ร้านจำหน่ายหนังสือเริ่มปรับตัวนำระบบ ISBN 13 หลักมาใช้แล้ว โดยระบุ ISBN 13 หลัก เทียบกับ ISBN 10 หลัก บนตัวเล่มหนังสือด้วยการเปรียบเทียบโครงสร้างระหว่าง ISO 2108:1992 ( ISBN ระบบเดิม = 10 หลัก ) กับ ISO 2108 ระบบใหม่ (ISBN 13 หลัก) เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น คงต้องเท้าความย้อนกลับไปดูโครงสร้างของ ISBN ระบบเดิม ISO 2108 : 1992 ซึ่งโครงสร้างของ ISBN เดิมนั้นประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 10 หลัก แบ่งเป็น 4 ส่วนส่วนที่ 1 รหัสกลุ่มประเทศ (Group identifier) แสดงถึงกลุ่มประเทศ มีการจัดแบ่งประเทศตามลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ หรือภาษา (สำหรับเลขที่ใช้แสดงรหัสกลุ่มของประเทศไทยคือ 974)ส่วนที่ 2 รหัสสำนักพิมพ์ (Publisher identifier) แสดงกลุ่มสำนักพิมพ์ส่วนที่ 3 รหัสชื่อเรื่อง (Title identifier) แสดงลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตมาจากสำนักพิมพ์นั้นๆ ส่วนที่ 4 เลขตรวจสอบ (Check digit) เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณเลข 9 หลักแรกใช้สำหรับตรวจสอบ ความถูกต้องโดยใช้สูตรโมดูลัส 11 (Modulus 11)จากนั้นมาดูความแตกต่างของโครงสร้างของ ISBN ระบบใหม่ ISO 2108 : 2005 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวเลข 13 หลัก และแบ่งเป็น 5 ส่วนส่วนที่ 1 Prefix element นำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก (978) ของรหัส EAN ซึ่งเป็นรหัสบาร์โค้ดแสดงสินค้า/ ผลิตภัณฑ์ส่วนที่ 2 Registration group element (รหัสกลุ่มประเทศ) กำหนดโดย International ISBN Agency แสดงถึงกลุ่มประเทศ มีการจัดแบ่งประเทศตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือภาษา (สำหรับเลขที่ ใช้แสดงรหัสกลุ่มของประเทศคือ 974)ส่วนที่ 3 Registrant element (รหัสสำนักพิมพ์) เป็นตัวเลขแสดงหน่วยงาน/สำนักพิมพ์ (Publisher) ที่ ขอรับเลข ISBNส่วนที่ 4 Publication element (รหัสชื่อเรื่อง) เป็นตัวเลขประจำสิ่งพิมพ์ที่ผลิตมาจากสำนักพิมพ์นั้นๆ ส่วนที่ 5 Check digit (เลขตรวจสอบ) เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณเลข 12 หลักแรก ใช้สำหรับ ตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้สูตรโมดูลัส (Modulus 10)ISBN 2108 ระบบใหม่ ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก โดยมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้หมายเหตุ : 979 ซึ่งเป็นตัวเลข 3 หลักของ EAN -13 จะใช้กะบ ISBN 13 หลัก หลังวันที่ 1 มกราคม 2550 978 ซึ่งเป็นตัวเลข 3 หลักของ EAN -13 จะใช้กับ ISBN 10 หลัก เพื่อแปลงเป็น 13 หลักเท่านั้นหากต้องการแปลงเลข ISBN 10 หลัก เป็น 13 หลัก จะทำอย่างไร? มีสูตรวิธีการแปลงที่ไม่ยุ่งยาก ดังนี้เติมเลข 3 หลัก (978) นำหน้าเลข ISBN หลักที่ 1-9 (ส่วนที่ 1 + 2 + 3) ระบบเดิมตามด้วยเลข ISBN หลักที่ 1-9 ระบบเดิม (ส่วนที่ 1 + 2 + 3)ตามด้วยตัวเลขตรวจสอบ ส่วนที่ 4 เป็นตัวเลขที่ได้จากการคำสณเลข 12 หลัก โดยใช้สูตร โมดูลัส 10 หรืออาจใช้เครื่องมือช่วยแปลงเลข ISBN เป็น 13 หลัก (ISBN -13 Converter) ซึ่งจัดทำโดย International ISBN Agency โดยคลิกไปที่http://www.isbn-international.org/converter/converter.html ตัวอย่าง ISBN 10 หลัก 0-901690-54-6 ISBN 13 หลัก 978-0-901690-54-8 EAN : 9780901690548 แสดงบนบาร์โค้ด ไม่ต้องใส่เครื่องหมายยติภังค์ (-) (hyphen)ตัวอย่างบัตรรายการที่ให้ข้อมูล ISBN 10 หลัก และ 13 หลักการกำหนดเลข ISBN เลข ISBN ที่กำหนดให้ห้ามนำไปดัดแปลง / ใช้แทน / ใช้ซ้ำเลข ISBN สามารถกำหนดให้กับสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์แยกเล่มโดยสำนักพิมพ์เดียวกัน หรือ กำหนด เลข ISBN ให้กับสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ต่างภาษากันรูปแบบการตีพิมพ์ (Product Form) ที่แตกต่างกัน (เล่มเอกสารหนังสือเบลล์ วีดีโอ สิ่งพิมพ์อิเล็คทรอนิกส์ (ออนไลน์) สามารถกำหนดเลข ISBN แยกกันได้ รูปแบบของสิ่งพิมพ์ อิเลคทรอนิกส์ (.lit / .pdf / .html / .pdb) ที่พิมพ์แยกกันสามารถใช้เลข ISBN ได้กรณีที่มีการแบ่งเป็นตอนๆ (part) สามารถกำหนดเลข ISBN ให้ได้กรณีที่พิมพ์รายการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปบบการพิมพ์ (Product form) โดยสำนักพิมพ์เดิม (รวมถึงกรณีการเปลี่ยนแปลงราคา และกรณีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่น การพิมพ์ผิด) จะไม่กำหนดเลข ISBN ให้ใหม่ประเภทของสิ่งพิมพ์ที่ต้องขอเลข ISBN  ISBN ครอบคลุมหนังสือทั้งส่วนที่เป็นสิ่งตีพิมพ์ และวัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ รูปแบบต่างๆ เช่นหนังสือตัวนูนฟิล์ม / วีดีโอ / แผ่นใส เนื้อหาทางการศึกษาCD / DVD / Cassette ที่จัดทำเป็นงานวิชาการเหมือนสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ออนไลน์ เช่นงานวิชาการจากระบบอินเตอร์เน็ท (Internet)สิ่งพิมพ์ในรูปของวัสดุย่อส่วน (Microform publications)ซอฟท์แวร์ด้านการศึกษาสื่อผสมที่ประกอบด้วยตัวหนังสือเป็นหลัก (Text-based) เป็นต้นประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องขอเลข ISBN ได้แก่สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่กำหนดออกเป็นวาระ (วารสาร)สิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น สื่อโฆษณาเนื้อเพลงงานศิลปะที่ไม่มีหน้าชื่อเรื่อง หรือเนื้อหาข้อมูลส่วนบุคคล (แฟ้มประวัติ การศึกษา)บัตรอวยพรแผ่นบันทึกเสียงเพลงซอฟท์แวร์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพื่อการศึกษากระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Board)จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเกมส์ เป็นต้นตำแหน่งที่แสดง ISBN   1.  เอกสาร / สิ่งพิมพ์ หน้าปกใน / ส่วนล่างของหน้าปกใน / หน้าแสดงลิขสิทธิ์ปกหลัง / ส่วนล่างหรือตำแหน่งที่ชัดเจนบริเวณปกนอกกรณีที่แสดง ISBN เป็นบาร์โค้ด (ฺBarcode) ด้วยระบบ EAN ต้องเป็นไปตาม ISO / IEC 15420 ซึ่งต้องแสดงให้คนทั่วไปสามารถอ่านได้   2.  สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้ตีพิมพ์ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถมองเห็นได้ (สิ่งพิมพ์ออนไลน์) ต้องแสดงเลข ISBN อยู่ที่หน้าที่ มีชื่อเรื่องปรากฏอยู่ (อาจแสดงยู่ที่หน้าแรกที่เข้ามาถึง (First access) หรือหน้าแสดงลิขสิทธิ์ สิ่งพิมพ์ที่จัดทำในรูป CD / cassette / diskette เลข ISBN ต้องแสดงอยู่บนฉลากที่ติดถาวรที่ ปรากฏบนสื่อ หรือหากไม่สามรถติดเลข ISBN ในตำแหน่งดังกล่าวได้ให้ระบุเลข ISBN ไว้ที่ ด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ (Packging) ที่หุ้มห่อสื่อนั้นๆเลข ISBN พร้อมรายละเอียดของหนังสือ / สิ่งพิมพ์แต่ละรายการ (metadata) ควรระบุอยู่บนตัวเล่ม ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน   3.  กรณีที่มีการจัดทำที่หลากหลายรูปแบบ (Format) ต้องมี ISBN แต่ละรูปแบบที่จัดทำด้วย ทั้งนี้ต้องจัดทำบัญชีที่ระบุรายการ ISBN กำกับไว้ด้วยที่มา : เว็บไซต์ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
2 มกราคม 2556     |      4343
เกร็ดความรู้เรื่องหนังสือทำมือ
มาทำหนังสือทำมือกันเถอะ...หนังสือทำมือคืออะไรหนังสือทำมือคือหนังสือที่เราขีด ๆ เขียน ๆ เอาเอง   ทำต้นฉบับเอง   ซีร็อกเอง  เย็บเล่มเอง  โดยไม่ผ่านโรงพิมพ์  โดยไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน   ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ของผู้จัดทำ   หนังสือทำมือนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักอยากเขียน   ที่พยายามอยากจะเผยแพร่งานเขียน - ความคิดสู่สาธารณชน   ซึ่งแน่นอนที่นักอยากเขียนเหล่านั้นเป็นผู้ที่ซึ่งมีอิสระในการถ่ายทอดทุกความรู้สึกผ่านมันสมองและสองมือ  โดยปราศจากกฏเกณฑ์และเป็นอิสระจากการถูกควบคุมทางกลไกของการตลาดด้านสิ่งพิมพ์   หนังสือทำมือเริ่มจากคนกลุ่มเล็ก ๆ และขยายวงกว้างแทรกซึมไปในมุมหนึ่งของสังคม   เป็นอีกกระแสหนึ่งที่น่าจับตาวิธีทำหนังสือทำมือ วัสดุอุปกรณ์1. ผ้าฝ้ายใยกัญชา หรือผ้าชนิดอื่น สำหรับหุ้มทำปก2. ฟองน้ำ  สำหรับรองด้านในปกหน้า3. กระดาษแข็ง  สำหรับทำปก4. กาวสเปรย์ / กาวลาเทกซ์ / พู่กัน5. เข็ม / ด้าย6. กระดุม7. ยางรัดผม  เลือกเฉดสีที่เข้ากันกับสีของผ้า8. หนังสือหรือสมุดที่จะใช้ทำ  ตัดแต่งขนาดและเย็บให้เรียบร้อยวิธีทำ1. ตัดกระดาษแข็งให้ได้ขนาดใหญ่กว่าด้านใน (( หมายถึงสมุดหรือหนังสือที่ทำ - เย็บเล่ม ไว้แล้ว ))  ตัดออกเป็น 3 ส่วน ดังรูปประกอบ  คือด้านซ้ายขวาและแกนกลาง  ส่วนของด้านหน้าพ่นกาวสเปรย์ติดฟองน้ำ   ตัดให้ได้ตามขนาด2. ตัดผ้าฝ้ายใยกัญชาที่ใช้ทำปก   ให้มีขนาดกว้างกว่ากระดาษแข็งที่ตัดไว้แล้ว  พ่นกาวสเปรย์ที่ตัวกระดาษแล้วนำไปวางบนผ้าฝ้ายใยกัญชาเพื่อให้มีการยึดติด  ให้จัดวางตามรูปประกอบ   แล้วพับลงมาตามขอบโดยติดกาวลาเทกซ์ไว้ด้านใน   ตัดสายรัดผมมาทำที่คล้องปกดังตัวอย่างโดยใช้กาวลาเทกซ์และใช้กระดาษติดไว้กันหลุด   เย็บกระดุมติดที่ปกหน้าโดยกะระยะให้พอดี3. นำสมุดหรือหนังสือที่เย็บเล่มไว้แล้วมาติดกับปกให้แน่น  โดยมีกระดาษแผ่นยาวยึดระหว่างตัวปกนอกกับปกใน เป็นอันเสร็จ   ผู้อ่านก็จะได้หนังสือทำมือ หรือสมุดทำมือที่ทำด้วยตัวเอง   ไม่ยากเลยใช่ไหม?ที่มา : คุณเนปาลี จากเว็ป  http://www.gotoknow.org/blog/naepalee/110740
1 มกราคม 2557     |      3334
เกร็ดความรู้เรื่องการเขียนหนังสือ
การเขียนหนังสือ ไม่ยากอย่างที่คิด...ลองอ่านดูการเขียนหนังสือซักเล่มเล่ม มีขั้นตอนอย่างไรบ้างการเขียนหนังสือให้เป็นเล่ม เขียนไม่ยาก แต่เป็นงานหนักเอาการ พอสมควร เริ่มต้นด้วย 1. หาสิ่งที่ี่มีอยู่ในตัวคุณ 1.1 ทำไมอยากเขียนหนังสือ ถามตัวเองจริงจังเลยนะ เพราะสิ่งนี้มันจะเป็นแรงบันดาลให้คุณทำงานที่ค่อนข้างหนักในอนาคตได้สำเร็จ 1.2 อยากเขียนหนังสืออะไร ท่องเที่ยว วิชาการ รวมบทกลอน ธรรมะ ธุรกิจ How to ฯลฯ 1.3 ทำไมเลือกเขียนแนวนี้ ชอบ อยากรู้ น่าจะขายได้ มีความรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี อยากเผยให้คนอื่นรู้บ้าง นำเสนอทฤษฎีใหม่ ๆ ฯลฯ 1.4 คุณพอจะมีไอเดียเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนแล้วหรือยัง 1.5 ขยายไอเดียได้แค่ไหน ให้คุณขยายไอเดียของคุณออกมาให้สุด ๆ เลย มันจะเป็นอะไรก็ได้ในตอนนี้ เขียนออกมาให้หมดก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาตัดต่อ หาเพิ่มเติมเอาอีก 1.6 คิดอยากให้หนังสือออกมาในอารมณ์ไหน แม้จะเขียนหนังสือวิชาการก็ให้มันมีอารมณ์ขันได้นะ 2. เดินดูตลาด ไปที่ห้องสมุด ร้านหนังสือ มองหาหนังสือในแนวที่คุณจะเขียนมีไหม ? แล้วก็อ่าน ๆ ๆ ๆ ๆ ดูว่า สิ่งที่คุณคิดจะเขียนแตกต่างไปจากแนวที่มีในตลาดหรือเปล่า ? หนังสือเหล่านั้นเป็นที่พอใจของคุณไหม ? มีตรงที่คุณคิดว่าคุณจะแทรกไอเดียที่แตกต่างจากนี้ไปได้บ้าง ? หากคิดจะเขียนอย่าไปคิด ว้า ... มีคนเขียนออกมาแล้วไม่เขียนดีกว่า เด็ดขาด เรื่องเดียวกัน คนละคนเขียน มันออกมาต่างกันไปเลย เชื่อเถอะ 3. วางเค้าโครงของหนังสือ 3.1 ก่อนอื่นและสำคัญที่สุด คุณต้องตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ก่อนว่า สิ่งที่อยู่ในหนังสือทั้งหมด เขียนขึ้นมาเพื่ออะไร คนอ่านจะได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้ 3.2 จดรายการหัวข้อเรื่องที่คุณจะให้มีในหนังสือของคุณ ดูว่าหัวข้อที่มีมันสนับสนุนวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้หรือเปล่า 3.3 วางลำดับเรื่องที่คุณจะเขียน ข้อนี้สำคัญมาก ถ้าคุณเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิชาการ จะต้องรู้สิ่งที่หนึ่งก่อน จึงจะเข้าใจในสิ่งที่สอง สาม สี่ต่อไป ได้ 3.4 แบ่งเป็นบท ๆ ใส่ชื่อบท และหัวข้อของเนื้อหาที่จะมีในแต่ละบท 3.5 ตรวจสอบหัวข้อของเนื้อหาในแต่ละบทให้ถี่ถ้วน จนคุณพอใจ คุณเข้าใจในสิ่งที่คุณจะเขียนลงในหนังสืออย่างชัดเจนถี่ถ้วนตลอดทั้งเล่มแล้ว 4. หาข้อมูลเพิ่มเติม ในสิ่งทีคุณยังไม่รู้ ในสิ่งที่คุณต้องการจะอธิบาย หรือหาเป็นหลักฐานสนับสนุนความคิดของคุณ 5. ลงมือเขียน 5.1 เลือกรูปแบบการเขียน เกี่ยวกับการ ถามตอบ จดหมายเดินทาง บันทึกเดินทาง แต่งเป็นเรื่องราว วิชาการ หรือบรรยายไปที่ละเรื่องทีละบท 5.2 จัดเวลาในการเขียน เขียนทุกวัน 5.3 ไม่มีกฎตายตัวนะว่า คุณจะต้องเขียนหนังสือจากข้างหน้าไปข้างหลัง บทแรกไปบทสองตามลำดับ ฉีกแนวไปตามความพร้อมหรือความพอใจของคุณก็ได้ 6. ตรวจแก้ต้นฉบับแรก 6.1 อ่านด้วยตัวเอง ถามตัวเองว่าพอใจในสิ่งที่เขียนลงไปหรือไม่ ถ้ายังไม่พอใจ รู้เถอะ คนอ่านก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ และถ้าคิดว่าตัวเองพอใจแล้ว ก็อย่าแน่ใจนะคนอ่านจะพอใจ ดูดี ๆ 6.2 ขัดเกลาเนื้อหา อันไหนควรเพิ่มอันไหนควรตัด 6.3 ตรวจความถูกต้องของตัวสะกด 6.4 ตรวจความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องตัวเลข 6.5 ให้ใครสักคนที่คุณไว้ใจช่วยอ่านงานเขียนของคุณ แล้วพิจารณาคำเสนอแนะของเขา ยิ่งถ้าคนอ่านไม่มีความรู้ในหนังสือที่คุณเขียนเลย ถ้าเขาอ่านแล้วเข้าใจ ก็พอพิสูจน์ ยืนยันได้ในเบื้องต้นว่าคุณทำสำเร็จแล้ว 7. ตั้งชื่อหนังสือ สำคัญมากเรื่องนี้ หนังสือดีถ้าตั้งชื่อไม่ดี โอกาสที่คนอ่านจะผ่านไม่สนใจมีมาก ดังนั้น ชื่อเรื่องต้องตั้งให้ กระชากใจ คนอ่าน ยิ่งถ้าเป็นหนังสือพวก How to ควรตั้งชื่อเรื่องที่คนอ่านรู้สึกว่าอ่านแล้วจะทำได้อย่างนั้นทันทีแน่นอน ในเวลาที่ไม่นานด้วย ถ้าเป็นหนังสือพวกแนะนำท่องเที่ยวเดินทาง การตั้งชื่อจะออกมาในแนวหรูหราหน่อยก็ได้ สำหรับหนังสือวิชาการ ก็อย่าคิดว่าจะตั้งชื่อที่เร้าใจไม่ได้ ไม่ว่าหนังสือประเภทไหน ก็ตั้งได้ทั้งนั้น ลองใช้วิธีระดมสมองแบบ free writing สร้างชื่อเรื่องของคุณ คุณจะเจออะไรเด็ด ๆ ในตัวคุณอีกเยอะ 8. การวางรูปแบบหน้าหนังสือ 8.1 หน้าปก การจัดหน้าภายใน 8.2 รูปภาพประกอบ 8.3 สี 8.4 อื่น ๆ ที่ยังขาดตกบกพร่องในเรื่องนั้น ๆ ควรมี หน้าปก อย่าให้มันฉูดฉาด รกรุงรัง เอาแบบเรียบง่าย เป็นระเบียบเข้าไว้ก่อนจะดีกว่า 9. การนำสู่ตลาด ตัดสินใจเอาเองว่า คุณจะเลือกใช้วิธีไหนที่มา : คุณ Sathaporn k จากเว็ป  http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080420163740AAU1Rmv
10 กุมภาพันธ์ 2556     |      1195
สิ่งพิมพ์ออกใหม่
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำสิ่งพิมพ์ใหม่วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำสิ่งพิมพ์ใหม่ ชื่อสิ่งพิมพ์ อนุสรณ์แห่งความสำเร็จ โครงการผลิต 80 พระบัณฑิต 80 พรรษา แด่องค์ราชัน (แม่โจ้รุ่น 72) เพื่อเป็นการแสดงความยินดีกับพระบัณฑิต  จำนวน 72 รูป ที่สำเร็จการศึกษาในปี 2553รายละเอียดสิ่งพิมพ์ ชื่อสิ่งพิมพ์ :อนุสรณ์แห่งความสำเร็จ โครงการผลิต 80 พระบัณฑิต 80 พรรษา แด่องค์ราชัน (แม่โจ้รุ่น 72) ขนาด :21.5 X 15 ซ.ม. จำนวนหน้า :90 หน้า (พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม) จำนวนพิมพ์ :80 เล่ม ผู้จัดทำ :วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (ปกหน้า)   (ปกหลัง)
2 พฤศจิกายน 2554     |      941
หัวหน้าสำนักพิมพ์ฯ เข้าร่วมอบรม
หัวหน้าสำนักพิมพ์ฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร นักบริหารงานอุดมศึกษาระดับกลาง (นบก. มจ.) รุ่นที่ 2เมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2553 นางสาวเขมิกา วิริยา หัวหน้าสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตร นักบริหารงานอุดมศึกษาระดับกลาง โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (นบก. มจ.) รุ่นที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวจากหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหน่วยงานสถาบันการศึกษาในเขตภาคเหนือ ประมาณ 70 คน
2 พฤศจิกายน 2554     |      1162
ทั้งหมด 12 หน้า