งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนมิถุนายน 2556
ชื่อสิ่งพิมพ์ :เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ/ Geothermal Energy Technology ผู้แต่ง :อ. ดร.นัฐพร ไชยญาติ พิมพ์ครั้งที่2 จำนวนหน้า :216 หน้า ISBN :978-974-8445-42-7 ขนาด :A4 ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ : คู่มือปฏิบัติการ คม 250 ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ ผู้แต่ง :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ พิมพ์ครั้งที่ : 2 จำนวนหน้า :79 หน้า ขนาด :20.5x29 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :ฝ่ากำแพงภาษา ภาษาในวัฒนธรรมแห่งการคิดและ การปฏิบัติทางสังคม ผู้แต่ง :รังสรรค์ จันต๊ะ พิมพ์ครั้งที่ :2 ISBN :978-974-8445-39-7 จำนวนหน้า :266 หน้า ขนาด :15x21 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 230 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ : การพัฒนาชุมชน/ Community Development ผู้เรียบเรียง :ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น ISBN : 978-974-8444-78-9 จำนวนหน้า :262 หน้า ขนาด :เอ4 ปก :อาร์ตมัน 260 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ : แมลงและไร ศัตรูพืชทางเศรษฐกิจของประเทศไทย/ Insect and Mite Pests of Economic Plants in Thailand ผู้แต่ง :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขยัน สุวรรณ จำนวนหน้า :156 หน้า ขนาด :เอ4 ปก :อาร์ตมัน 230 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี
1 มกราคม 2557     |      410
หนังสือตำราและเอกสารประกอบการสอน ประจำปีการศึกษา 2556
หนังสือ ตำรา เอกสารประกอบการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2556 มีจำหน่ายแล้ว ติดต่อซื้อได้ที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชั้น 1 อาคารเทพศาสตร์สถิตย์ จำหน่ายในวันและเวลาราชการชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ ศท 031 การใช้ภาษาไทย ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์รังสรรค์ จันต๊ะ จำนวนหน้า : 141 หน้า ราคาเล่มละ 90 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ หลักสถิติ ผู้แต่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พหล ศักดิ์คะทัศน์ จำนวนหน้า : 295 หน้า ราคาเล่มละ 160 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ วิธีวิจัยทางการท่องเที่ยว ผู้เรียบเรียง : ดร.ไพศาล กาญจนวงศ์ จำนวนหน้า : 227 หน้า ราคาเล่มละ 180 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ จิตวิทยากับพฤติกรรมมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) /Psychology and Human Behavior ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์มธุรส สว่างบำรุง จำนวนหน้า : 391 หน้า ราคาเล่มละ 230 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ ป่าและการป่าไม้ ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง จำนวนหน้า : 236 หน้า ราคาเล่มละ 155 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ การเงินการธนาคาร /Money and Banking ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์อารีย์ เชื้อเมืองพาน จำนวนหน้า : 360 หน้า ราคาเล่มละ 230 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ เขียนแบบวิศวกรรม /Engineering Drawing ผู้แต่ง : นำพร ปัญโญใหญ่ จำนวนหน้า : 266 หน้า ราคาเล่มละ 230 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ หลักวิศวกรรมอาหาร / Principles of Food Engineering ผู้เรียบเรียง : ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย จำนวนหน้า : 210 หน้า ราคาเล่มละ 210 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ การออกแบบโรงงานอาหาร ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ จำนวนหน้า : 131 หน้า ราคาเล่มละ 120 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ วิศวกรรมโรงงานต้นกำลัง / Power Plant Engineering ผู้แต่ง : สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ จำนวนหน้า : ไม่เรียงหน้า ราคาเล่มละ 230 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : หนังสือ การถ่ายเทความร้อน / Heat Transfer ผู้แต่ง : สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ จำนวนหน้า : 336 หน้า ราคาเล่มละ 250 บาท ชื่อสิ่งพิมพ์ : เอกสารประกอบการสอน วก 203 อุณหพลศาสตร์/ Thermodynamics ผู้แต่ง : ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย จำนวนหน้า : 450 หน้า ราคาเล่มละ 310 บาท
1 มกราคม 2557     |      1553
ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่
ตัวพิมพ์กับกำเนิดโลกทัศน์ใหม่บรัดเลย์  โดย  แดน บีช แบรดลีย์  พ.ศ. 2384 – 2411ปฐมบทของการพิมพ์และการออกแบบตัวพิมพ์ของไทย เริ่มขึ้นเมื่อนายแพทย์ แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล และมิชชันนารีคณะแบปติสต์จากสหรัฐอเมริกาเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ เขาได้ก่อตั้งโรงพิมพ์และจัดพิมพ์หนังสือด้วยตัวพิมพ์ภาษาไทย ในปีพ.ศ. ๒๓๘๒ กิจการหนังสือพิมพ์และโรงพิมพ์ของคณะฯ เจริญเติบโตจนเป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว มีการออกหนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม และสั่งซื้อแท่นพิมพ์เพิ่มขึ้นในปีต่อๆ มานั่นคือช่วงเวลาหลังจากที่ไทยได้ทำสัญญาเบอร์นี่ และสยามประเทศอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ในด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาการ เช่น การแพทย์สมัยใหม่ เครื่องจักรไอน้ำ และสิ่งประดิษฐ์นานาชนิด กำลังหลั่งไหลเข้ามา ในด้านความรู้และภูมิปัญญา สังคมไทยกำลังเผชิญกับการท้าทายของแนวคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบกฎหมาย แบบแผนประเพณี ตลอดจนความหมายของชุมชนที่จะเรียกกันว่า ชาติหนังสือและตัวพิมพ์ซึ่งเป็นผลงานของแบรดลีย์คือที่รวมของความเปลี่ยน แปลงทั้งสองด้านนั้น ในด้านเทคโนโลยี มันเป็นแบบอย่างของการผลิตซ้ำอย่างกลไกด้วยเครื่องจักรประสิทธิภาพการพิมพ์ ในสมัยนั้นช่วยย่นย่อระยะเวลา และขจัดข้อผิดพลาดของการทำงานแบบเก่าซึ่งในที่นี้ก็คือการคัดลอกด้วยมือใน ด้านความรู้และภูมิปัญญา เนื้อหาของสิ่งพิมพ์อันได้แก่ หนังสือสอนศาสนาคริสต์ ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนภูมิ-ดาราศาสตร์ได้เข้ามาสั่นคลอนรากฐานความรู้และคติความเชื่อเดิม ของสังคมไทย นอกจากนั้น บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยของเขา ยังได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาด้วยกำเนิดตัวพิมพ์ไทย : เส้นทางอันยอกย้อนกำเนิดตัวพิมพ์ไทยมีความซับซ้อนที่น่าสนใจ ก่อนยุคของ แบรดลีย์ การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยมีขึ้นแล้ว แต่ทำกันในต่างประเทศ ผลงานยุคแรกสุดเช่นหนังสือ James Low’s Thai Grammar ใช้ตัวพิมพ์ซึ่งจัดทำโดยมิชชันนารีสตรีชาวอเมริกันชื่อ แนนซี่ ยัดสันและ ช่างพิมพ์ที่ชื่อนายฮัฟ การเรียงตัวและจัดพิมพ์ทำขึ้นที่อินเดียและพม่าในราวพ.ศ.๒๓๗๐ เข้าใจว่าในเวลาต่อมา เมื่อแบรดลีย์เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน ตัวพิมพ์ชุดนี้ก็ถูกนำเข้ามาใช้ในโรงพิมพ์ของเขาในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ แบรดลีย์รับจ้างราชการไทยจัดพิมพ์เอกสารที่เรียกกันว่า แผ่นประกาศห้ามสูบฝิ่น ขึ้นตามพระราชโองการของรัชกาลที่ ๓ เพื่อแจกจ่ายออกไปทั่วพระราชอาณาจักร เอกสารชิ้นนี้ใช้ตัวเรียงซึ่งซื้อจากสิงคโปร์ เข้าใจว่าคณะมิชชันนารีได้ส่งคนในคณะฯ ไปดูแลการทำแม่แบบที่ปีนัง และนำไปหล่อที่มะละกาการหล่อตัวพิมพ์ในประเทศไทยทำสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ แบบตัวชุดนี้มีความสวยงามกว่า และมีขนาดเล็กกว่าที่เคยสั่งหล่อจากสิงคโปร์ หนึ่งในสิ่งพิมพ์ชิ้นแรกๆ ที่ใช้ตัวเรียงพิมพ์ที่หล่อเป็นครั้งแรกในเมืองไทยคือ หนังสือของแบรดลีย์เอง ชื่อ คำภีร์ ครรภ์ทรักษา, แปลย่นความออกจากกำภิร์ครรภ์ทรักษา แห่งแพทย์หมออะเมริกา. ส่วนตัวพิมพ์ที่เรียกกันว่า “บรัดเลเหลี่ยม” นั้นเป็นผลงานรุ่นถัดมา ปรากฏการใช้เป็นครั้งแรกใน บางกอกรีคอร์เดอร์ หรือหนังสือจดหมายเหตุฯI ซึ่งออกในปี พ.ศ.๒๓๘๗ ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย(ชื่อตัวพิมพ์ดังกล่าวตั้งขึ้นในภายหลังโดย กำธร สถิรกุล ใน ตัวหนังสือและตัวพิมพ์)เมื่อตัวพิมพ์ยืดตัวตรง และโครงสร้างถูกจัดระเบียบแบบอักษรของบรัดเลเหลี่ยมนั้นถ่ายทอดมาจากตัวเขียนลายมืออย่างไม่ต้อง สงสัย ตัวเขียนที่แบรดลีย์ใช้เป็นต้นแบบ สันนิษฐานได้ว่ามาจากลายมือแบบอาลักษณ์ เราอาจพบลายมือคล้ายกันนี้ปรากฏอยู่ในสมุดข่อยซึ่งเขียนขึ้นในยุคต้นรัตน โกสินทร์หลายเล่มหากเอาบรัดเลเหลี่ยมมาเปรียบเทียบกับตัวพิมพ์รุ่นก่อนหน้า นั้น ก็จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก บรัดเลเหลี่ยมมีรูปทรงตั้งตรง ตัวรุ่น คำภีร์ ครรภ์ทรักษาฯ ยังเป็นแบบเอนไปข้างหลัง โครงสร้างอักษรของตัวคำภีร์เริ่มชัดเจนแต่ยังไม่ค่อยมีเอกภาพ เช่น เส้นตั้งไม่ได้ขนานกันอย่างสมบูรณ์ ตัว ก ไก่ อ้วนมาก การม้วนของ ห หีบ เป็นเส้นเหลี่ยม หรือถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับรุ่นของยัดสัน จะเห็นว่ารุ่นนั้นถ่ายทอดมาจากลายมือแบบหวัดแกมบรรจง ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน เช่น มีตัวหนังสือที่โย้หน้าบ้างโย้หลังบ้างการแกะตัวพิมพ์เป็นศิลปะอีกแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากการเขียน ถ้าการเขียนหรือจารเป็นงานจิตรกรรม การแกะพั้นช์ แกะแม่ทองแดง และหล่อตัวพิมพ์ ก็เปรียบได้กับงานประติมากรรม ในการถ่ายทอดศิลปะข้ามสื่อนี้ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างของตัวอักษร เพื่อทำให้การแกะง่ายขึ้น เช่น ดัดตัวให้ตรง มีเส้นนอนด้านบนซึ่งหักมุมเหลี่ยมเป็นบุคลิกสำคัญ มีรูปทรง และสัดส่วนของอักษรที่แน่นอน เช่น ก ไก่ มีความกว้างยาวเป็นสัดส่วนราว ๒ ต่อ ๓ และมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งนอกจากนั้นบรัดเลเหลี่ยมยังมีการปรับ ปรุงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ทำเส้นตั้ง หรือ “ขา” ให้ตั้งฉากกับเส้นนอน กำหนดหัวกลมโปร่งให้มีเอกภาพและตำแหน่งแน่นอน เส้นมีความหนาและการหักมุมเที่ยงตรงแบบเรขาคณิต แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อยรูปโฉมของบรัดเลเหลี่ยมไม่ได้เป็นเพียงการแต่ง เนื้อแต่งตัวให้แปลกใหม่ทันสมัยมากขึ้น แต่เป็นการสถาปนามาตรฐานใหม่ของอักษรไทย ถือกันว่าเป็นการวางรากฐานสำคัญให้แก่ตัวพิมพ์ไทยกำเนิดโรงพิมพ์หลวง หนังสือพิมพ์และตัวพิมพ์นำความ สนใจมาสู่ชนชั้นผู้นำของสยาม โดยเฉพาะสำหรับเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชและเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ท่านโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในวัด โรงพิมพ์นี้มีพระสงฆ์เป็นผู้ทำหน้าที่ทุกอย่างในการพิมพ์ และมีผลงานด้านหนังสือเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ และบทสวดมนต์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ หลังจากที่เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระ-ราชทานนามว่าโรงอักษรพิมพการ และโปรดให้มีฐานะเป็น “โรงพิมพ์หลวง” โรงอักษรพิมพการได้ดำเนินการผลิตหนังสือ และเอกสารสำคัญของแผ่นดินหลายฉบับ เช่น ราชกิจจานุเบกษา หรือหนังสือรวมประกาศข้อบังคับต่าง ๆ ของราชการ ซึ่งพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๐๑ระหว่างที่ทรงดำเนินกิจการโรงพิมพ์ในวัดบวรฯ ด้วยความรอบรู้และเข้าใจในความยากลำบากของการแกะ หล่อและเรียงพิมพ์ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ จึงมีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนอักษรไทยเสียใหม่ เพื่อให้สะดวกแก่การพิมพ์ และประดิษฐ์อักษรไทยแบบใหม่ซึ่งมีชื่อว่า “อักษรอริยกะ” วิธีการเขียนแบบนี้มีจุดเด่นตรงที่อักษรทั้งหมดถูกจับลงมาอยู่บรรทัดเดียว กัน และเรียงสระและวรรณยุกต์ให้อยู่หลังพยัญชนะ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเลิกใช้รูปอักษรเดิม หันไปใช้รูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายอักษรโรมัน อักษรอริยกะถูกสร้างเป็นตัวพิมพ์เพื่อใช้ในโรงพิมพ์วัดบวรฯ และพิมพ์เอกสารที่เผยแพร่เฉพาะในหมู่สงฆ์ในนิกายธรรมยุติบั้นปลายของหนังสือพิมพ์รุ่นบุกเบิกแม้ว่าชนชั้นสูงของสยามจะรู้สึกหวาดระแวงต่อเนื้อหาและการแจกจ่ายหนังสือ “นอกศาสนา” ของแบรดลีย์ แต่ความแปลกใหม่ และมีประโยชน์ของการพิมพ์ทำให้การสอนศาสนา และการดำเนินธุรกิจของเขาเป็นที่ยอมรับ ผลงานด้านหนังสือพิมพ์ ความรู้ หนังสือแปล และตำราเรียนของเขาแพร่หลายออกไปทีละน้อย หลังจากนั้นโรงพิมพ์อื่นๆ ก็เกิดตามมา เช่น โรงพิมพ์ของมิชชันนารีอีกคนหนึ่งที่ชื่อ แซมมวล จอห์น สมิธ หรือ ครูสมิธในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ แบรดลีย์ได้พิมพ์นิราษเมืองลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (กระต่าย)ซึ่งปรากฏเป็นข่าวเกรียวกราวเนื่องจากเป็นหนังสือภาษาไทยเล่มแรก ที่มีการซื้อลิขสิทธิ์กันอย่างเป็นทางการในหนังสือเล่มนี้มีการใช้ตัวพิมพ์ แบบใหม่คือ “บรัดเลโค้ง” เป็นครั้งแรก ชุดนี้มีถึง ๒ ขนาด ขนาดใหญ่ใช้เรียงเป็นชื่อหนังสือในหน้าแรกๆ ส่วนใน บางกอกรีคอร์เดอร์ซึ่งออกในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ บรัดเลโค้งใช้เป็นตัวพาดหัว หรือตัวดิสเพลย์กิจการโรงพิมพ์ของแบรดลีย์เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ แต่การทำหนังสือพิมพ์ ของเขายุติลงในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ ด้วยเหตุว่าถูกฟ้องร้องในคดีหมิ่นประมาท แบรดลีย์เชื่อว่าการที่ตนเองแพ้คดีนี้เพราะถูกกลั่นแกล้ง เนื่องจากชนชั้นสูงชาวสยามเริ่มไม่พอใจกับการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ของเขาตัวพิมพ์นั้น หากถือว่าเป็นพัฒนาการในยุคแรกเริ่ม ก็นับว่าเป็นไปอย่างช้าๆ ตราบจนสิ้นรัชกาลที่ ๔ เรามีตัวพิมพ์สามสี่แบบ ผลงานออกแบบตัวพิมพ์ของแบรดลีย์กลายเป็นรากฐานการออกแบบในยุคต่อไป ตัวพิมพ์ไทยในรุ่นหลังเกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่วิวัฒนาการมาจากตัวพิมพ์ที่ ท่านได้วางเอาไว้ทั้งสิ้นที่มา : เรียบเรียงโดย : ปรีชา สุวีรานนท์โดยการสนับสนุนของ บริษัท เอส. ซี. แมทช์บอกซ์ และนิตยสาร สารคดีรวบรวมมาจาก : http://www.sarakadee.com/feature/2002/09/thaifont.htmรูปภาพจาก Facebook/แกะรอยตัวพิมพ์ไทย
6 พฤศจิกายน 2556     |      3207
สิ่งพิมพ์ใหม่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2556
ชื่อสิ่งพิมพ์ :Faculty and Staff Appreciation 2013 ผู้จัดทำ :โรงเรียนนานาชาติเกรซ จำนวนหน้า :20 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :อาร์มัน 130 แกรม พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :วารสารสู่อาเซียน/ ASIANIZATION Journal ฉบับที่ 1 เมษายน-พฤษภาคม 2556 ผู้จัดทำ :สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :36 หน้า ขนาด : A4 ปก :ปกอ่อน ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :เอกสาร ยินดีต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2556 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ :คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :14x21 ซม. จำนวนหน้า :80 หน้า ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :หนังสือ การเมืองการปกครองท้องถิ่น : กฎหมาย ภารกิจถ่ายโอน ผู้แต่ง :ดร.สาธิต กฤตลักษณ์ จำนวนหน้า :215 หน้า ขนาด :A4 ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :เอกสารคำสอน คม 253 เคมีอินทรีย์ 2/ Organic Chemistry 2 ผู้แต่ง :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ ISBN : จำนวนหน้า :179 หน้า ขนาด :A4 ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน : ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :หนังสือ การเขียนสูตรโครงสร้างและการอ่านชื่อ สารประกอบอัลเคนและไซโคลอัลเคน ผู้แต่ง :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ ISBN : จำนวนหน้า :169 หน้า ขนาด :A4 ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :หนังสือ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริม การปลูกหวายและไผ่ จังหวัดน่าน ผู้จัดทำ :กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จำนวนหน้า :96 หน้า ขนาด :18x25 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบด้าน เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :เอกสารประกอบการอบรม Autodesk Revit Architecture 2014 ผู้จัดทำ :คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า : ขนาด :A4 ปก :ปกอ่อน อาร์ตมัน 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี
1 มกราคม 2557     |      1119
การนับสีในงานพิมพ์
เราจะรู้ได้ยังไงว่า งานที่เราพิมพ์นั้นกี่สี บางคนที่ไม่ทราบวิธีนับสีก็จะตกใจ คิดว่ามีสี เยอะมากเป็นสิบเป็นร้อยสี กลัวราคาจะสูงเพราะว่าสีมีผลต่อราคาค่าพิมพ์ต่อหน่วยจริงๆ แล้ว การนับสีมีหลักการอยู่ว่า 1 เพลท คือ 1 สีอย่าเพิ่งตกใจ เพราะภาพหรืองานต่างๆ ที่เห็น จะใช้แค่ 4 เพลท หรือที่เขาเรียกกันว่างาน 4 สี นั้นเอง เคยเล่นผสมสีตอนเด็ก หลักการเดียวกัน แม่สี 3 สี และ สีดำอีกหนึ่งเป็น 4 ผสมกันวาดเป็นภาพเหมือนจริงได้คล้ายกัน แต่งานพิมพ์ก็จะมีสีพิเศษเพิ่มเข้ามา ตามความต้องการใช้งาน เช่นสีทอง สีเงิน ซึ่งเป็นสีพิเศษ ต้องเพิ่มเพลท นับเพิ่มให้เป็น 1 สี เรามาทำความเข้าใจกับการนับสีพิมพ์ 1 สี       การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่มทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลายระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆ ก็จะได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียวพิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว  สีขาวเป็นสีของกระดาษพิมพ์หลายสี       การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำกับแดง หรือดำกับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจำนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วยพิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสีเขียว พิมพ์ 2 สี ฟ้ากับสีดำ สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำและส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ ส้มและแดงพิมพ์สี่สี (แบบสอดสี)       ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อยกี่พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตามที่ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้องใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกันออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้านสี พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นในนิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่พิมพ์สี Magenta พิมพ์สี Yellow พิมพ์สี Cyan พิมพ์สี Black พิมพ์ทั้งสี่สีพิมพ์สีพิเศษ เช่นสีทอง ซึ่งมีหลายทอง แต่ละทองจะให้ความเงาและด้านต่างกัน สีเงินมีเงินมันวาว เงินด้าน และสีพิมพ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่นสีสะท้อนแสง ถ้าอยากได้งานดี งานสวยใช้สีพิเศษแล้วต้องยอมจ่ายเพิ่มอีกหน่อยcredit by : http://www.tac-printing.com/Know%20how/count%20color.htm
3 ธันวาคม 2556     |      2227
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556
สิ่งพิมพ์ให้บริการพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ฯชื่อสิ่งพิมพ์ :เทคนิคการวิจัยพืชไร่ ผู้แต่ง :ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ จำนวนหน้า :337 หน้า ขนาด :20x29 ซม. ปก :อาร์ต 230 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี เนื้อหาในเล่ม ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ โครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร เพื่อการคมนาคม ผู้แต่ง :ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :เอ4 พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ แนะนำศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้แต่ง :ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด : เอ4 พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :เอกสาร ที่ระลึก 97 ปี แห่งพระพร ผู้แต่ง :คริสตจักรที่ 1 ฝาง จำนวนหน้า :25 หน้า ขนาด : 20x29 ซม. ปก :อาร์ต 130 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ : วารสาร พวงแสด ช่อที่ 30 ประจำปี 2554 จัดทำโดย :ภาควิชาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :87 หน้า ปก :อาร์ต 230 แกรม พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 4 สีสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฯชื่อสิ่งพิมพ์ :สูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 35 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2554-2555 จำนวนหน้า :179 หน้า ขนาด :15x21 ซม. ปก :อาร์ต 230 แกรม เคลือบด้าน เนื้อใน :อาร์ต 120 แกรม พิมพ์ 4 สี 4 หน้า/ ปอนด์ 70 แกรม พิมพ์ 1 สี 180 หน้า ชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือการฝึกซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2554-2555 ครั้งที่ 35 จำนวนหน้า :32 หน้า ขนาด :15x21 ซม. ปก :อาร์ต 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 1 สี
3 เมษายน 2556     |      935
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนมกราคม 2556
ชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางน้ำ ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :24 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ต 190 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :ปอนด์ 80 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :สมุดที่ระลึกคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ :คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :ไม่ระบุจำนวนหน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน อาร์ต 210 แกรม พิมพ์ 4 สี เคลือบ UV เนื้อใน :80 แกรม ถนอมสายตา
1 มกราคม 2557     |      885
ทั้งหมด 12 หน้า