งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนธันวาคม 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :รายงานประจำปี 2555 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ :คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :47 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :รายงานประจำปี 2555 คณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :47 หน้า ขนาด :20x18 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :มติฉันกับมติชน ผู้แต่ง :สุพจน์ เอี้ยงกุญชร เลขมาตรฐาน ISBN : 978-974-8445-26-7 จำนวนหน้า :71 หน้า ขนาด :A5 ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :ถนอมสายตา 80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับแนะนำหลักสูตรคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้จัดทำ :คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :A4 กระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรม ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ "การแปรรูปปลานิลเพื่อเพิ่มมูลค่า" ผู้แต่ง :สุดาพร ตงศิริ และ ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์ ขนาด :A4 กระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรม ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นโปสเตอร์ "รับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้" ผู้จัดทำ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :A3 กระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรม
1 กุมภาพันธ์ 2556     |      898
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :เอกสารคำสอน วก341 วิศวกรรมการแปรสภาพทางการเกษตร (AE341 Agricultural Process Engineering) ผู้แต่ง :สุเนตร สืบค้า จำนวนหน้า :383 หน้า ขนาด :21x29 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :ศท 031 การใช้ภาษาไทย ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์รังสรรค์ จันต๊ะ เลขมาตรฐาน ISBN :978-974-8445-24-3 พิมพ์ครั้งที่ :4 ขนาด :18x26 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :โครงการปิดทองหลังพระ ปี 2555 ผู้จัดทำ :สมนึก บุญยี่ และคณะ จำนวนหน้า :66 หน้า ขนาด :21x29 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :อาร์ตมัน 120 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :วารสาร ส.น.ญ.(น.) ผู้จัดทำ :สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานภาคเหนือ จำนวนหน้า :14 หน้า ขนาด :18x26 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :70 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ "แปลงเพศปลาหมอไทย ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดธรรมชาติ" ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :เอ4 กระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรม
1 กุมภาพันธ์ 2556     |      616
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนตุลาคม 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :เศรษฐศาสตร์จุลภาค / Micro Economics ผู้แต่ง :สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ เลขมาตรฐาน ISBN :978-974-8445-22-9 จำนวนหน้า :236 หน้า ขนาด :21x28 ซม. ปก : ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน : 80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ : เศรษฐศาสตร์มหภาค / Macro Economics ผู้แต่ง :สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ เลขมาตรฐาน ISBN :978-974-8445-21-2 จำนวนหน้า :9 บท ขนาด :21x28 ซม. ปก : ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ผู้จัดทำ :มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จำนวนหน้า : 40 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :การเมืองการปกครองท้องถิ่น กฎหมาย ภารกิจถ่ายโอน ผู้แต่ง :ดร.สาธิต กฤตลักษณ์ จำนวนหน้า :215 หน้า ขนาด :20x29 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :70 แกรม พิมพ์ 1 สีชื่อสิ่งพิมพ์ : โปสเตอร์ "Nine Univ United : ภาคี 9 สถาบัน" ชื่อสิ่งพิมพ์ :โปสเตอร์วิชาการ "Legal Constraints on Field Trial of GM Crops in Thailand" ผู้แต่ง :Samaporn Saengyotชื่อสิ่งพิมพ์ :โปสเตอร์วิชาการ "โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เพื่อเสริมสร้างประมงที่ยั่งยืน" ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 มกราคม 2557     |      725
ประวัติการพิมพ์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ ในช่วงประมาณ 17,000 - 12,000 ปี ที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้น ยังปรากฏการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) อีก ด้วย โดยวิธีการใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนักว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่งในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล (5,000 B.C.) ประมาณ 255 ปี ก่อนคริสตกาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอนกลางและจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press โดยจะเห็นได้จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตราประจำแผ่นดินค.ศ.105 ชาวจีนชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำคัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมาค.ศ.175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้น ในประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำกระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ถ่านหรือสี ทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้นมา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลักบนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้ (กำธร สถิรกุล. 2515 : 185)ค.ศ.400 ชาวจีนรู้จักการทำหมึกแท่งขึ้น โดยใช้เขม่าไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนังสัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำให้แข็งเป็นแท่ง ชาวจีนเรียกว่า "บั๊ก" ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบนกระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ.2527: 82)สำหรับชิ้นงานพิมพ์ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและยังคงหลงเหลืออยู่ได้แก่การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่งประเทศญี่ปุ่น ในราว ค.ศ.770 โดย พระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์คำสวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจาก ประเทศญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำนวนหนึ่งล้านแผ่นซึ่งต้องใช้ เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปี (สนั่น ปัทมะทิน. 2513 : 121)จีนนิยมใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะไม้ และพัฒนาขึ้นตามลำดับ ในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดยวาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมาจนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra) (กำธร สถิรกุล. 2515 : 187)ประมาณปี ค.ศ.1041 - 1049 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์นูนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมที่ใช้การแกะไม้เป็นแม่พิมพ์ (เรียกว่า Block) แม่ พิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์ได้เพียงรูปแบบเดียวมาเป็นการใช้แม่พิมพ์ชนิดที่ หล่อขึ้นเป็นตัว ๆ และนำมาเรียงให้เป็นคำเป็นประโยค ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ตัวเรียงพิมพ์ (Movable type) เมื่อพิมพ์เสร็จ แล้ว จะสามารถนำกลับไปเก็บและสามารถนำมาผสมคำใหม่ในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไปได้ ผู้ที่ค้นพบวิธีการใหม่นี้เป็นชาวจีนชื่อ ไป เช็ง (Pi Sheng) โดยใช้ดินเหนียวปั้นให้แห้งแล้วนำไปเผาไฟการสร้างตัวเรียงพิมพ์โลหะ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเกาหลีเมื่อประมาณปี ค.ศ.1241 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์โลหะขึ้นเป็นจำนวนมากตามดำริของกษัตริย์ไทจง (Htai Tjong) (Lechene. 1974  : 1053)ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทยในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่งชื่อ ลาโน(Mgr Laneau) ได้ ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ตามวิธีฝรั่งของสังฆราชลา โนถึงกับทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก (อำไพ จันทร์จิระ. 2512 : 73 - 74) และ ต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยามกิจการพิมพ์ในสมัย อยุธยาจึงหยุดชะงักและไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่ใน สมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อบ้านเมืองปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปีค.ศ.1796 (พ.ศ.2339) ซึ่ง คาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และ สันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะพ.ศ.2536 (ค.ศ.1813) ได้มีการหล่อตัวพิพม์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่ง เป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำเนินกิจการทางศาสนาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลยชาวไทยในพม่าและได้ดำเนินการหล่อตัวพิพม์ภาษา ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำไปยังเมืองกัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำมาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกันได้ซื้อตัวพิพม์ และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำเข้าสู่เมืองไทยอีกทีหนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions (กำธร สถิรกุล. 2515 : 198)พ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับ ราชการอยู่กับรัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทย ขึ้น และได้จัดพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า "A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่ เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมีเหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหา ได้ในปัจจุบันแหล่งที่มา http://www.europrinting.co.thความหมายของการพิมพ์  Lechene (1974) : “ เป็นวิธีการใช้แรงกดให้หมึกติดเป็นข้อความ หรือภาพบนพื้นผิวของสิ่งที่ต้องการพิมพ์ ” * Mills (1968) : “กรรมวิธี ใด ๆ ในการจำลองภาพหรือสำเนาภาพ หรือหนังสือจากต้นฉบับในลักษณะสองมิติ แบนราบ ทั้งนี้รวมถึง การพิมพ์ผ้า การพิมพ์กระดาษปิดฝาผนังและการอัดรูป” * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 : “การใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้น ให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า” * พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 : “ การ ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกด หรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใด อันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา” * กำธร สถิรกุล : “การ จำลองต้นฉบับอันหนึ่ง จะเป็นภาพหรือตัวหนังสือก็ตาม ออกเป็นจำนวนมาก ๆ เหมือนกัน บนวัสดุที่เป็นพื้นแบน หรือใกล้เคียงกับพื้นแบน ด้วยการใช้เครื่องมือกล”ประเภทของการพิมพ์1. สิ่ง พิมพ์ประเภทหนังสือ ประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ที่เป็นสารคดี ซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการให้ความรู้โดยตรง กับสิ่งพิมพ์ที่เป็น บันเทิงคดีซึ่งมีเนื้อหาสาระมิได้มุ่งไปทางวิชาการในสาขาใด สาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ขนาดและรูปแบบของสิ่งพิมพ์ประเภท หนังสืออาจมีความแตกต่างกันไป2. สิ่ง พิมพ์เพื่อการเผยแพร่ข่าวสาร ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสารและสิ่งพิมพ์โฆษณา ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีเทคนิคการพิมพ์ การเข้าเล่ม รูปแบบและชนิดของกระดาษพิมพ์ ที่อาจแตกต่างกันออกไป3. สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่                 - สิ่ง พิมพ์ที่ใช้ในด้านสังคม มีการจัดพิมพ์ในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น นามบัตรบุคคล / ห้างร้าน บัตรเชิญ บัตรอวยพรในโอกาสต่าง ๆ เอกสารแจ้งข่าว การขอความร่วมมือ ปฏิทิน สมุดบันทึก              - สิ่ง พิมพ์ในการดำเนินงานธุรกิจ เช่น กระดาษหัวจดหมาย ใบส่งของ ใบเสร็จ ใบรับเงิน ใบเบิกเงิน กระดาษบันทึก แบบพิมพ์อื่น ๆ รายงานประจำปีของธุรกิจ             - สิ่ง พิมพ์ที่เป็นการตกแต่งให้สวยงาม เช่น ภาพพิมพ์กระดาษ ปิดฝาผนัง   การพิมพ์ลวดลายบนไม้ บนวัสดุต่าง ๆ เพื่อใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ งานพิมพ์ที่มีส่วนนูนและส่วนลึก            - สิ่ง พิมพ์ที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การพิมพ์ลงวัสดุต่าง ๆ (กระดาษ ผ้า พลาสติก โลหะ แก้ว ฯ ) เป็นลวดลาย ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการความสำคัญของการพิมพ์โดย ทั่วไปผลิตผลจากการพิมพ์ถูกใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดทักษะ ความรู้ต่าง ๆ การปลูกฝังความเชื่อ คุณค่าทัศนคติที่ดี ของสังคม   และการประชาสัมพันธ์ โฆษณา เผยแพร่ ข้อมูลทางธุรกิจ ซึ่งอาจจำแนกเป็น 4 ประการ ได้แก่1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 2. เพื่อเผยแพร่การเมือง 3. เพื่อเผยแพร่การค้า 4. เพื่อเผยแพร่ศาสนาระบบการพิมพ์1. การพิมพ์ระบบแม่พิมพ์นูน ( Relief printing) เป็นระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์ส่วนใหญ่ที่ใช้พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือตัวอักษรจะนูนสูงขึ้นมาจากระดับที่ไม่ใช้พิมพ์และมีลักษณะ  เป็นด้านกลับ (Reverse) เพื่อจะถ่ายทอดให้ภาพบนชิ้นงานพิมพ์ มีลักษณะเป็นด้านตรง ได้แก่   การพิมพ์เลตเตอร์เพรส   ( letterpress   printing) หรือการพิมพ์ตัวหล่อ การพิมพ์เฟลกโซกราฟี  (flexography printing)2. การพิมพ์ระบบแม่พิมพ์ร่องลึก ( Intaglto printing) เป็น ระบบการพิมพ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับระบบแม่พิมพ์นูน คือ ส่วนที่เป็นภาพหรือตัวหนังสือจะมีระดับลึกลงไป เมื่อทาหมึกพิมพ์ ลงบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จะขังอยู่ในร่องลึกซึ่ง เป็นตัวภาพ ส่วนที่เป็นพื้นจะไม่มีหมึกพิมพ์ติดอยู่ เมื่อนำกระดาษมาวางทาบ บนแม่พิมพ์จะซับหมึกเฉพาะส่วนที่เป็นภาพหรืออักษรขึ้นมาเท่านั้น3. ระบบการพิมพ์พื้นราบ ( Planographic printing) เป็น ระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีระดับเสมอหรือเท่ากันหมด ทั้งตัวภาพ และพื้น แต่บริเวณตัวภาพจะมีลักษณะเป็นไข น้ำไม่สามารถเกาะติด เมื่อเอาน้ำมาทาบริเวณแม่พิมพ์ น้ำจะเกาะติดบริเวณที่เป็นพื้นเท่านั้น หลังจากนำหมึกพิมพ์ทาหรือกลิ้งบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จะติดเฉพาะ ตัวภาพ แต่ไม่ติดพื้น4. ระบบการพิมพ์แม่พิมพ์ฉลุ  ( Serigraphic printing) หรือ เรียกกันทั่วๆ ไปว่า การพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีลักษณะ เป็นพื้นฉลุ   ส่วนที่ไม่ใช่ภาพจะถูกปิดไว้และหมึกพิมพ์จะทะลุลอดเฉพาะ ส่วนที่เป็นรูฉลุ ทำให้เกิดภาพบนวัสดุที่ใช้พิมพ์นอกจากนี้มีระบบการพิมพ์ด้วยแสง (Photographic printing) เป็นระบบการพิมพ์แบบพิเศษ ไม่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นการพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน เช่นระบบพิมพ์อื่น ๆ     ระบบการพิมพ์แบบนี้ เช่น การอัดขยายรูปถ่าย   เครื่องถ่ายเอกสาร การถ่ายพิมพ์เขียวแหล่งที่มา http://www.edu.nu.ac.th
1 มกราคม 2557     |      5480
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนกันยายน 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :สูจิบัตรงานแสดงมุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2555 ผู้จัดทำ :กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :78 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :ปกอ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :70 แกรม พิมพ์ 4 สีชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติก ผู้จัดทำ :งานบริการวิชาการและวิจัย คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :72 หน้า ขนาด :14x20 ซม. ปก :อ่อน พิมพ์ 4 สี เนื้อใน :80 แกรม พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ : แผ่นพับ การใช้ Probiotic ป้องกันโรคปลานิล ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :29.7x21 ซม. (A4) เนื้อหา :กระดาษอาร์ตมัน พิมพ์ 4 สี ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ เทคนิคการจัดการ การเลี้ยงปลานิล ในกระชัง ผู้จัดทำ :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด : 29.7x21 ซม. (A4) เนื้อหา :กระดาษอาร์ตมัน พิมพ์ 4 สี
11 กรกฎาคม 2555     |      1434
มหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คนึงนิจ ภู่พัฒน์วิบูลย์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมคณะจำนวน 7 ท่าน เข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมึี รองศาสตราจารย์เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ/ประธานคณะกรรมการสำนักพิมพ์ฯ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาตุพงศ์ วาฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, นางสาวเขมิกา วิริยา หัวหน้าสำนักพิมพ์ และบุคลากรสำนักพิมพ์ ให้การต้อนรับและรับฟังการบรรยายพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจัดการ กระบวนการดำเนินงาน ในการนี้คณะศึกษาดูงานจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวรเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล ณ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาคารเทพศาสตร์สถติย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
10 มกราคม 2555     |      761
สิ่งพิมพ์ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนสิงหาคม 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :หนังสือบทสวดมนต์ จัดพิมพ์โดย :ประนอม ณ วิชัย จำนวนหน้า :26 หน้า ขนาด :13x18 ซม. ปก :ปกอ่อน 4 สี เนื้อใน :1 สี 70 แกรม ชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ การใช้ Probiotic ป้องกันโรคปลานิล จัดทำโดย :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด : เอ4 พิมพ์ :4 สี ชนิดกระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรมชื่อสิ่งพิมพ์ :แผ่นพับ การประชุมวิชาการประมง ครั้งที่ 7 ภายใต้หัวข้อ "เพื่อความมั่นคงด้านการประมงและทรัพยากร ทางน้ำ" จัดทำโดย :คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขนาด :เอ4 พิมพ์ :4 สี ชนิดกระดาษ :อาร์ตมัน 120 แกรม
1 มกราคม 2557     |      916
วิวัฒนาการพิมพ์
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่บนผนังถ้ำลาสคัวกซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปรากฏผลงานด้านจิตรกรรม ที่มีคุณค่าด้านความงาม ของมนุษยชาติในช่วงประมาณ 17,000-12,000 ปีที่ผ่านมา แล้ว ยังปรากฏผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะสลักภาพลายเส้นบนผนังถ้ำนั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐานในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้นอกจากนั้นยังปรากฏการณ์เริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stencil) อีกด้วย โดยวิธีใช้มือวางทาบลงบนผนังถ้ำ แล้วพ่นหรือเป่าสีลงบนฝ่ามือ ส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฏเป็นภาพแบน ๆ แสดงขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนับว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่าย ๆ วิธีการหนึ่งวิรุณ ตั้งเจริญ, 2523 : 9)ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรก กลุ่มประเทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)ได้รู้จักการใช้ของแข็งกดลงบนดินทำให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล (5,000 B.C.) เมื่อ 1300 ปีก่อนคริสต์กาล จีนได้คิดหนังสือขึ้นใช้ โดยเขียนบนใบลานและเขียนบนไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ แล้วร้อยเชือกให้อยู่เป็นปึกเดียวกันม้วนคลี่อ่านได้ วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2527 : 31) ต่อมาเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนเริ่มเขียนหนังสือบนผ้าไหม หลังจากนั้นประมาณ 255 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวจีนรู้จักการแกะสลักลงบนแผ่นหิน กระดูกสัตว์ งาช้าง และนำไปประทับบนขี้ผึ้งหรือดินเหนียว วิษณุ สุวรรณเพิ่ม, 2531 : 30) ชาวจีนชื่อ ไซลัน (Silan) คิดวิธีทำกระดาษขึ้นมาได้ และกลายเป็นวัสดุสำคัญ สำหรับการเขียนและการพิมพ์ในเวลาต่อมา (ศิริพงศ์ พยอมแย้ม, 2530 : 3) หนังสือกรีกเป็นหนังสือแบบม้วน กว้างประมาณ 10 นิ้ว และยาวถึง 35 ฟุต ลักษณะการเขียนใช้วิธีเขียนเป็นคอลัมน์ กว้างประมาณ 3 นิ้วเว้นช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไว้เป็นขอบชาวอังกฤษและโรมัน นิยมเขียนหนังสือบนแผ่นไม้ ซึ่งเป็นไม้จากต้นบีช (Beech) ซึ่งภาษาแองโกล-แซกซอนเรียกว่า "BOC" จึงเป็นคำที่มาของคำว่า "Book" ในภาษาอังกฤษพวกโรมันมีวิธีรวมเล่มหนังสือ โดยการเจาะรูแผ่นไม้แล้วร้อยด้วยวงแหวน และเรียกหนังสือนี้ว่า โคเค็กซ์ (Codex) ซึ่งเรียกว่าหนังสือแผ่น แผ่นไม้ ที่ใช้เขียนหนังสือ มีลักษณะที่แปลก คือ แผ่นไม้จะเคลือบด้วยกาวผสมชอลก์หลายๆชั้น ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อแห้งสนิทดีแล้วและเคลือบพับด้วยขี้ผึ้งสีดำบางๆ ดังนั้นเวลาเขียนด้วยเหล็กจาร ก็จะปรากฏเป็นตัวอักษร สีขาวบนพื้นดำ แผ่นเคลือบนี้ใช้สำหรับการเขียนที่ไม่ถาวรเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถลบได้ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่จะเก็บบันทึกไว้ พวกโรมันก็จะใช้กระดาษม้วนปาไปรัส แบบกรีกแทนจุดกำเนิดของหนังสือที่มีลักษณะเหมือนในยุคปัจจุบัน เริ่มจากในคริสตศตวรรษที่ 1 มีการนำหนังสือที่เขียนบนแผ่น กระดาษปาไปรัสผนึกทับบนกระดาษคู่หนึ่ง ซึ่งพับเข้าหากันได้คล้ายกับหนังสือที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ พวกโรมันชอบหนังสือแบบนี้มาก เพราะนำติดตัวได้ง่าย และสามารถเอาเนื้อหามาวางเทียบกันได้จึงรับหนังสือแผ่นนี้มาใช้ หนังสือม้วนจึงถูกยกเลิกไปราวๆ คริสตศวรรษที่ 4 วิวัฒนาการนำหนังมาเป็นหนังสือม้วน เกิดขึ้นเมื่อราว 200 ปี ก่อนคริสตกาลหนังที่นำมาใช้ต้องผ่านการฟอกและ ขัดจนเรียบ ราคาจึงแพง แต่มีข้อได้เปรียบกว่ากระดาษปาไปรัส เพราะใช้เขียนได้ 2 หน้า และสามารถวาดภาพด้วยสีน้ำมันได้ทั้งเก็บได้หนากว่าสีน้ำหรือสีหมึกในคริสตวรรษที่ 6 มี การตั้ง "โรงเรียน" (Scriptoria) ขึ้นในอิตาลี เป็นที่สำหรับใช้ให้ บรรดาพวกพระทำการคัดลอกและ เขียนต้นฉบับหนังสือ วิธีการนี้ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หนังสือที่เกิดจากฝีมือ พวกพระในสมัยระหว่างคริสตศตวรรษ ที่ 5-15 นี้ เขียนบน แผ่นหน้าเป็นส่วนมาก ใช้แผ่นหนัง 4 ผืน ซ้อนกันแล้วพับครึ่ง เย็บด้ายตรงรอยพับ นับเป็นยกหนึ่ง ซึ่งจะเท่ากับ 8 แผ่น หรือ 16 หน้า จะเขียนทีละหน้าและมีการประดิษฐ์หัวเรื่องให้ สวยงาม โดยใช้สีต่างๆอักษรตัวแรก ของประโยคก็เป็นอักษร ประดิษฐ์เช่นเดียวกัน เมื่อเขียนเสร็จ มีการตรวจทานให้ถูกต้อง และส่งไปทำปกในส่วนของปกก็มีการ ออกแบบลวดลาย ให้สวยงามในคริสตศตวรรษที่ 13 มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในยุโรปหลายแห่ง ความต้องการหนังสือตำราต่างๆ มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงจ้างเสมียนคัดลอกและเก็บรักษาหนังสือสำหรับให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เข้าไปใช้และเมื่อมีการนำกระดาษมาใช้แทนหนังราคาหนังสือก็ถูกลง จึงมีการทำขายแทนการเช่า การผลิตหนังสือก็ต้องเปลี่ยนโฉมหน้าให้ทันกับความต้องการ ทั้งปริมาณ และความรวดเร็ว ดังนั้น การสนใจเรื่องการประดิษฐ์เพื่อความสวยงามก็ลดน้อยลงไป ทัศนะเดิมที่เคยถือกันว่า "หนังสือเป็นงานอวดฝีมือ และศิลปะ" ก็เปลี่ยนมาเป็น "หนังสือเพื่อความรู้" แทนและเมื่อ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สำเร็จในราวกลาง คริสตศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้หนังสือเปลี่ยนโฉมหน้าเข้าสู่ยุคการพิมพ์ จึงเป็นการสิ้นสุดหนังสือยุคก่อน การพิมพ์วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2515 : 29-33ที่มา : http://www.keereerat.ac.th
7 ธันวาคม 2559     |      1253
ทั้งหมด 12 หน้า