งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสิ่งพิมพ์ (สำนักพิมพ์) สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
Maejo University Press
เทคนิคการพิมพ์ของกระดาษชนิดต่างๆ
ประเภทของกระดาษอาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.1. กระดาษไม่เคลือบ แบบเรียบ     A. กระดาษปอนด์ขาว, สี (White & Colour Woodfree) กระดาษที่ผลิตจากเยื่อแท้(Virgin Pulp) และไม่มี การเคลือบหน้าแป้ง ได้แก่ กระดาษปอนด์ขาว, กระดาษ K-One 120, 140 แกรม, กระดาษถ่ายสี KTV, กระดาษ K-Colour, กระดาษ Sirio, กระดาษ Extra Strong, กระดาษไข             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133 - 150 lpi            2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            6. โปรดระวังความชื้นขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น โดยเฉพาะกระดาษไขซึ่งมีลักษณะการอมความชื้นในอากาศได้มากกว่ากระดาษทั่วไปถึง 2 เท่า     B. กระดาษการ์ดขาว, สี (White & Colour Briefcard) กระดาษที่ผลิตเป็นจากเยื่อแท้ และ เศษกระดาษ บางโรงงานก็ใช้วิธีการประกบแผ่นกระดาษก็ได้ ตัวอย่างกระดาษ การ์ดขาวทั่วไป, K-Card, K-One 165 แกรมขึ้นไป            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150 lpi            2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 2. กระดาษไม่เคลือบ แบบมีลาย      A. กระดาษลายนูนปกติ (Feltmarked Paper) กระดาษที่ผลิตด้วยเยื่อยาวหรือ Recycle และมีการปั้มลายในกระบวนการผลิตกระดาษ (Feltmarked) เช่น ACQ,Tintoretto, Tin-M, Corolla, Galgo Laid, Galgo Linen             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi (แล้วแต่ความลึกของลาย)             2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น     B. กระดาษปั้มลายนูน (Embossed Paper) กระดาษที่ผลิตด้วยเยื่อยาวหรือ Recycle และมีการปั้มลายจากกระดาษเรียบ (Offline Embossed) เช่น กระดาษหนังช้าง, Woodstock, Tweed            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi (แล้วแต่ความลึกของลาย)             2. ไม่สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เพราะอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เนื่องจากไม่มีหน้าแป้งทำปฏิกิริยากับน้ำยาบนฟิล์ม Laminate             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 3. กระดาษเคลือบ แบบเรียบ     A. กระดาษอาร์ตมัน (Glossy Coated Paper) กระดาษอาร์ตด้าน (Matt Coated Paper) กระดาษที่มี การเคลือบหน้าแป้งทั้งหน้าเดียว และ 2 หน้า เช่น กระดาษอาร์ตมัน-ด้าน JP, กระดาษอาร์ตการ์ดมันด้าน NBS,NV ,กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว Zenith และกระดาษ Symbol ต่าง ๆ             1 เม็ดสกรีน (Screen Line) 175-200 lpi             2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) เฉพาะอาร์ตมันเท่านั้น ส่วนอาร์ตด้านอาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ และจะมีความสวยงามมากขึ้น ถ้าอาร์ตมันทำการเคลือบพลาสติกด้านก่อน             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น       B. กระดาษเคลือบมุก (Pearlize Coated Paper) กระดาษที่มีการเคลือบผงมุก, เงิน หรือ ทอง เช่น กระดาษ Stardream, Stardream Seta, Astrosilver             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)             2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ             3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่อาร์ตมันควรทำการเคลือบพลาสติกด้านก่อนถึงจะเห็นชัดขึ้น             4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป             6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น     C. กระดาษเคลือบแก้ว (Cast Coated Paper)             1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 133-150 lpi             2. ไม่เหมาะกับการพิมพ์ 4 สี แต่ถ้าต้องการพิมพ์ ควรใช้หมึก UV เหมือนการพิมพ์บนพลาสติก เพราะการรับหมึกน้อยมาก ๆ             3. ไม่เหมาะกับการเคลือบพลาสติก(Poly Lamination)            4. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้             5. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)             6. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)             7. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น 4. กระดาษเคลือบ แบบมีลาย A. กระดาษอาร์ตอัดลาย (Embossed Coated Paper) เป็นกระดาษที่มีการเคลือบหน้าแป้งแล้วนำมาปั้มลายนูนทีหลัง ได้แก่ กระดาษ Raster            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)            2. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดและลายนูน ทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ            3. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            4. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            5. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting) แต่มีโอกาสทำให้หน้าแป้งแตกออกได้ถ้าน้ำหนักปั้มกดมากเกินไป            6. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่น B. กระดาษลายนูนเคลือบแป้งชนิดบางเบา (Slightly Coated Paper) เป็นกระดาษลายนูนที่มีการเคลือบหน้าแป้งบางๆ เพื่อทำให้ผลของการพิมพ์รับหมึกดีขึ้น ได้แก่ กระดาษ Insize Chagall            1. เม็ดสกรีน (Screen Line) 150-175 lpi (ขึ้นอยู่กับความลึกของกระดาษ และ โทนสีของงานพิมพ์)            2. สามารถพิมพ์ 4 สีได้ดีเหมือนกระดาษหน้าแป้ง แต่อัตราการแห้งตัวของหมึกจะมากกว่า            3. สามารถเคลือบพลาสติกได้ (Poly Lamination) แต่อาจทำให้เกิดฟองอากาศได้ เพราะหน้ากระดาษไม่มีการขัดและลายนูน ทำให้น้ำยาบนฟิล์ม Laminate ติดได้ไม่เรียบ            4. สามารถทำ UV Spot, Varnish Silk Screen ได้ แต่ต้องทำหลายรอบถึงจะเห็นชัดขึ้น            5. สามารถปั้มฟอยล์ได้ (Hot Foil Stamping)            6. สามารถปั้มนูน และ ปั้มขาดได้ (Embossing & Die Cutting)            7. โปรดระวังความชื้นในขณะมีฝน ทำให้กระดาษโค้งงอหรือเป็นคลื่นถ้าน้ำหนักปั้มกดทับมากเกินไป แหล่งที่มา : www.paperlandonline.com
1 มกราคม 2557     |      3684
สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการจัดพิมพ์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2555
ชื่อสิ่งพิมพ์ :รายงานประจำปี 2554 สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ จัดทำโดย :สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :28 หน้า ขนาด :20x28 ซม. ปก :ปกอ่อน ชื่อสิ่งพิมพ์ :International Journal of Asian Tourism Management, Volume 3, Number 1, April 2012. ผู้จัดทำ :School of Tourism Development, Maejo University จำนวนหน้า :110 หน้า ขนาด :21x29 ซม. ปก :ปกอ่อน ชื่อสิ่งพิมพ์ :International Journal of Agricultural Travel and Tourism, Volume 3, Number 1, April 2012. ผู้จัดทำ :School of Tourism Development, Maejo University จำนวนหน้า :111 หน้า ขนาด :21x29 ซม. ปก :ปกอ่อนชื่อสิ่งพิมพ์ :คู่มือนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2555 คณะวิทยาศาสตร์                 (พิมพ์ปกและทำเนื้อใน) ผู้จัดทำ :คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนหน้า :67 หน้า ขนาด :14x19 ซม. ปก :ปกอ่อน ชื่อสิ่งพิมพ์ :Grace Community Services ผู้จัดทำ :Grace International School, Chiang Mai จำนวนหน้า :17 หน้า ขนาด :21x28 ซม. ปก :ปกอ่อนชื่อสิ่งพิมพ์ :Faculty & Staff Appreciation Dinner 2012 ผู้จัดทำ :Grace International School, Chiang Mai จำนวนหน้า :30 หน้า ขนาด :14x19 ซม. ปก :ปกอ่อน 
6 กรกฎาคม 2555     |      1736
บุคลากรสำนักพิมพ์ฯ เข้าอบรมการเขียนแผนธุรกิจฯ
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2555 นางสาวเขมิกา วิริยา หัวหน้าสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วย นางสาวภัทราภรณ์ ดีสลิด และ นางสาวณัฐนันท์ จิราศรีทวีสิน ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนแผนธุรกิจสำหรับหน่วยงานวิสาหกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2555 ณ อาคารฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ชัยยศ สันติวงษ์ ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรม ในการนี้มีบุคลากรของหน่วยงานวิสาหกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกหน่วยงานเข้าอบรมด้วยประมาณ 30 คน
1 มกราคม 2557     |      1517
ความรู้ในงานสิ่งพิมพ์
ความรู้ทั่วไปในงานสิ่งพิมพ์ ชนิดกระดาษ  1. กระดาษอาร์ต ลองหยิบนิตยสารขึ้นมาดูสักเล่ม นิตยสารเกือบร้อยทั้งร้อยมักจะใช้กระดาษอาร์ตเป็นปก รวมทั้งหน้าในที่พิมพ์สี่สีด้วย กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ มีทั้งอาร์ตด้าน และ อาร์ตมัน เหมาะสำหรับพิมพ์งานสี่สี ยิ่งถ้าเคลือบผิวเข้าไปยิ่งสวยจะเคลือบให้ดูมันวาว หรือเคลือบด้านก็ได้ มีความหนาหลายระดับ มีตั้งแต่บางๆใช้ทำฉลากเช่นฉลากปลากระ ป๋อง ไปถึงหนาๆ แข็งๆ เช่น ปกนิตยสาร นอกจากนี้กระดาษอาร์ตยังเหมาะสำหรับงาน พวกโปสเตอร์ โบรชัวร์ ต่างๆด้วย แต่กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง 2. กระดาษปอนด์ ตัวอย่างกระดาษปอนด์ก็ เช่น หน้าในของสมุดที่นักเรียนนักศึกษาใช้ หรือไม่ก็หน้าในของ นิตยสารที่พิมพ์ขาวดำ กระดาษปอนด์เป็นกระดาษที่เนื้อแน่นพอสมควร แต่จะไม่เท่ากับ กระดาษอาร์ต ฉีกขาดง่ายกว่า ทนความชื้นน้อยกว่า ใช้พิมพ์สี่สีก็ได้ แต่ไม่สวยเท่ากระ อาร์ต แต่เขียนง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ ที่สำคัญราคาถูกกว่ากระดาษอาร์ตมาก พวก หนังสือพิมพ์ธุรกิจ เช่น ประชาชาติ ฐานเศรษฐกิจ ก็ใช้กระดาษชนิดนี้เหมือนกัน 3. กระดาษปรู๊ฟ ลองจับกระดาษหนังสือพิมพ์ดู เป็นหนังสือพิมพ์ทั่วไป เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ พวกนี้เป็น กระดาษปรู๊ฟ เนื้อจะฟู หลวม สีไม่ขาวมาก ออกไปทางเหลืองด้วยซํ้า ไม่ค่อยทนความชื้น ฉีกขาดง่าย พิมพ์สี่สีก็พอได้แต่ไม่สวยเท่าสองชนิดแรก แล้วพิมพ์ยากกว่าด้วย แต่ก็มีข้อดี คือราคาถูกกว่าสองชนิดแรก 4. กระดาษแบงค์ กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า จะใช้สำหรับพิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิวก็พอไหว 5. กระดาษแอร์เมล์ เนื้อบางมาก นิยมใช้พิมพ์ใบบิลเช่นกัน 6. กระดาษเคมี กระดาษชนิดนี้เคลือบสารเคมี เมื่อเขียนด้านบนแล้วจะติดที่กระดาษแผ่นล่างด้วยเรียก ง่ายๆก็กระดาษก็อปปี้ในตัว บิลสมัยใหม่ไม่ต้องแทรกกระดาษคาร์บอนแล้ว 7. กระดาษพีวีซี ลักษณะคล้ายๆพลาสติก ฉีกขาดยาก ทนความชื้นได้ดีมาก นิยมใช้ทำนามบัตรโดยเฉพาะ การนับสี  เวลาจะให้โรงพิมพ์คิดราคา โรงพิมพ์จะต้องถามว่าพิมพ์กี่สี เพราะจำนวนสีที่พิมพ์มีผล โดยตรงต่อราคา การนับสีจะนับเฉพาะสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ ตัวอย่างเช่น ใบเสร็จรับเงินพื้นสีฟ้า พิมพ์ตัวหนังสือสีดำและเส้นเป็นสีเทา อย่างนี้เรียกว่าพิมพ์ 1 สี สี ฟ้าไม่นับเพราะเป็นสีของกระดาษ ส่วน สีเทาก็คือสีดำที่พิมพ์ให้มีนํ้าหนักอ่อนลง รวม แล้วทั้งเทาและดำก็นับเป็นสีเดียว พิมพ์ 1 สี  การพิมพ์สีเดียวเป็นงานพิมพ์ที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาวดำเช่น หนังสือเล่ม ทั้งหลาย ตำราเรียน พ็อคเก็ตบุ๊คส์ แต่เป็นหน้าใน ไม่ใช่ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์ สีอะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํ้าเงิน และในสีที่พิมพ์นั้นก็เลือกความเข้มได้หลาย ระดับ ทำให้ดูเหมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆก็จะ ได้สีชมพูเป็นต้น การพิมพ์ 1 สี มีต้นทุนตํ่าที่สุด ถ้ามีงบจำกัดก็เลือกพิมพ์สีเดียวนี่แหละ พิมพ์หลายสี  การพิมพ์สีเดียวอาจจะดูไม่น่าสนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามก็อาจจะต้องพิมพ์หลาย สี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำกับแดง หรือดำกับ นํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มจากพิมพ์สีเดียวขึ้นมาอีกบางส่วน เพราะโรง พิมพ์จะต้องเพิ่มแม่พิมพ์ตามจะนวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์ตามไปด้วย พิมพ์สี่สี (แบบสอดสี)  ถ้าต้องการพิมพ์ภาพที่มีสีสันสวยงาม เหมือนกับที่ตาเราเห็นก็ต้องพิมพ์สี่สีแบบสอดสี เรานิยมเรียกกันสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่เราต้องการพิมพ์ มีกี่ร้อยกี่ พันสี โรงพิมพ์ก็จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี แล้วมันจะผสมกันออกมาได้สารพัดสีตามที่ ต้องการ ซึ่งแน่นอนว่าขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก ค่าใช้จ่ายก็สูงกว่าเพราะต้องใช้ แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว แล้วก็ต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์เขาก็มีชื่อเรียกกัน สี่สีที่ว่าก็คือ ชมพู เหลือง ฟ้าและดำ ไม่น่าเชื่อว่า สี่สีนี้ผสมกัน ออกมา จะให้เป็นสีอะไรก็ได้ เป็นล้านสีเลย พวกปกหนังสือ โปสเตอร์สวย หน้าแฟชั่นใน นิตยสารก็ล้วนแต่พิมพ์สี่สีเป็นส่วนใหญ่ ลองดูตัวอย่างดีกว่า การเข้าเล่ม  การเข้าเล่มไม่มีอะไรซับซ้อน ขอแนะนำแบบต่างๆที่นิยมใช้กันดังนี้ 1. เข้าเล่มกาวหัว การเข้าเล่มแบบนี้ใช้สำหรับพวกใบเสร็จต่างๆ หรือไม่ก็พวกสมุดฉีก กระดาษโน้ต memo เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้โดยเฉพาะ วิธีการก็ง่ายมาก เอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้ง แล้วเอากาวลาเท็กซ์ ทาที่ขอบด้านบน ที่สัน ตรงหัว กระดาษนั่นแหละ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ "กาวหัว" 2. เข้าเล่มแบบไสกาว(ไสสันทากาว) ลองดูการเข้าเล่มของนิตยสารดูสิ เข้าเล่มแบบไสกาวทั้งนั้น พวกพ็อคเก็ตบุคส์ หนังสือ เรียน ส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้น เพราะราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แค่พอใช้ได้  นิตยสารเล่มหนา เปิดไปเปิดมาจะมีหน้ากระดาษหลุดออกมาเป็นแผ่นๆ ยิ่งพยายาม กางหนังสือออกมากๆก็จะหลุดง่าย การเข้าเล่มแบบนี้กางหนังสือออกได้ไม่มาก พอ ปล่อยมือหน้ากระดาษจะดีดกลับ หุบเข้ามาเหมือนเดิม ถ้ากางมากๆ( เช่น เวลาเอา ไปถ่ายเอกสาร) ก็มักจะหลุดออกจากกัน วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว เขาจะนำกระดาษที่เรียง หน้าเป็นเล่มแล้ว มาไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาว ที่ต้องไสสันก่อนก็เพื่อให้ กาวแทรกซึมเข้าไป การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นเป็นที่มาของคำว่า "ไสกาว" 3.การเข้าเล่มแบบเย็บอก หรือเย็บมุงหลังคา แบบนี้ง่าย นิยมใช้เย็บสมุดของนักเรียนนักศึกษา หรือหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่ เกิน 60 หน้า หรืออย่างมากก็ 80 หน้า วิธีการก็คือ เอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับ ครึ่งตามแนวตั้ง จากนั้นใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บ เป็นอันจบพิธี 4.เข้าเล่มแบบเย็บกี่ การเข้าเล่มแบบเย็บกี่นี่ทนสุดๆกางออกได้มาก ลองดูพวก พจนานุกรม ดิคชันนารี สารานุกรมเล่มใหญ่ๆ จำนวนหน้ามากๆ บางเล่มเป็นพันหน้าก็มี เขาเข้าเล่มด้วยการ เย็บกี่ทั้งนั้น วิธีการก็ยุ่งยากพอสมควร โดยเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกออกเป็นส่วนย่อย หลายๆส่วน แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือน เย็บอกในข้อสาม แต่ใช้ด้ายเย็บ จาก นั้นเอาเล่มย่อยๆมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้น คำศัพท์ทางการพิมพ์  เพลท = แม่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ออฟเซ็ตแม่พิมพ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ เคลือบด้วยสารเคมีบางอย่าง จะเป็นสารอะไรบ้างคงไม่ต้องลงลึกถึงขั้นนั้น แต่ที่ ต้องรู้ไว้ก็คือ ต้นทุนในการทำแม่พิมพ์เป็นต้นทุนคงที่ เช่น แม่พิมพ์ 4 สี สมมติว่าต้นทุน 10,000 บาท ถ้าคุณพิมพ์ โปสเตอร์ 1 ใบก็ต้องเสียค่าแม่พิมพ์ 10,000 บาท แต่ถ้าพิมพ์ 1,000 ใบค่าแม่พิมพ์เฉลี่ยแล้วเหลือใบละ 10 บาท  ดังนั้นถ้า พิมพ์ยอดน้อยๆก็ต้องทำใจว่า ต้นทุนต่อหน่วยค่อนข้างจะสูง ใบชุด = จำนวนสำเนาของใบเสร็จแต่ละชุด (รวมต้นฉบับ) คือเวลาพิมพ์ใบเสร็จ 1 เล่ม จะมี 50 ชุด แต่ละชุดจะมีสำเนา ถ้าบอกว่าใบเสร็จ 4 ใบชุด หมายถึงใบเสร็จแต่ละชุด (แต่ละเลขที่) จะมี สำเนา 3 ใบรวมต้นฉบับเป็น 4 ใบ เจียน = คือการตัดขอบกระดาษที่เผื่อไว้ในตอนพิมพ์ออก โดยปกติเวลาพิมพ์งาน โรง พิมพ์จะพิมพ์กระดาษแผ่นใหญ่แล้วค่อยมาตัดแบ่งออกเป็นชิ้นงาน ตามขนาดที่ต้องการ เช่น โบรชัวร์ขนาด A4 โรงพิมพ์อาจจะพิมพ์ครั้งละ 8 หน้าแล้วค่อยมาตัดแบ่งเป็น A4 ภายหลัง ในการตัดแบ่งนี่แหละที่จะต้องตัดขอบออก อาจจะตัดหยาบๆออกเป็น 8 แผ่น ก่อน ตัดมาแล้วขนาดอาจจะยังไม่ถูกต้องดี เช่น ใหญ่กว่าสัก 2-3 มิลลิเมตร ดังนั้นจึง ต้องเอาแต่ละแผ่นมาตัดละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ที่เล่ามาทั้งหมดนี่แหละค่ะที่เรียกว่า "เจียน" ไดคัท = มีสองความหมาย ความหมายแรก คือการตัดขอบกระดาษแต่ไม่เหมือนกับการเจียน การเจียนจะตัดเป็น เส้นตรง ส่วนไดคัท เป็นการตัดขอบตามรูปทรงต่างๆ จะหยักจะโค้งอย่างไรก็ได้ ค่าใช้ จ่ายจะสูงกว่าการเจียน ความหมายที่สอง คือการลบฉากหลังของภาพออก เช่น ถ่ายภาพบ้านจัดสรรมาแล้ว ฉากหลังไม่สวยงาม จึงลบฉากหลังออกเพื่อนำไปวางลงบนฉากหลังอื่น หรือไม่เช่นนั้น ก็ปล่อยให้เป็นฉากหลังขาว พิมพ์กี่สี = การนับจำนวนสี นับจากสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ เช่นกระดาษพื้นมี ชมพู พิมพ์สีดำ อย่างนี้เรียกพิมพ์ 1 สี ในงานพิมพ์อาจจะมีสีเทาอ่อน เทาแก่ก็นับเป็นสี เดียว เพราะเป็นการลดนํ้าหนักสี แต่หมึกที่ใช้เป็นหมึกสีดำ กระดาษเคมี = เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ใบเสร็จที่เขียนด้านบนแล้ว จะติดลงไปถึงแผ่น ที่อยู่ด้านล่างด้วย โดยไม่ต้องใช้กระดาษคาร์บอน หรือจะเรียกว่ากระดาษก็อปปี้ในตัว ก็ได้  ที่มา http://www.artnana.com/articles/view.php?topic=40
1 มกราคม 2557     |      4130
การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโปสเตอร์โปสเตอร์ (poster) เป็นแผ่นภาพโฆษณา หรือประกาศบอกข่าวสารที่มีมาแต่สมัยโบราณ เช่น ที่ชาวฟินิเชียน และชาวเมืองปอมเปอิ ได้วาดภาพบนผนังข้างนอกอาคารร้านค้าของตนเพื่อบอกกล่าวว่าร้านตนเป็นร้านขาย จนมปัง ไวน์ หรือเครื่องปั้นดินเผา นับได้ว่าโปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารที่สำคัญในสมัยโบราณอีกประการหนึ่ง นอกเหนือไปจากการบอกข่าวบ่าวร้องด้วยคำพูดจากปาก ต่อมาเมื่อถึงยุคกำเนิดการพิมพ์ ทำให้มีการพิมพ์ใบปลิวเผยแพร่ข่าวสารขึ้น โปสเตอร์ ก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาเป็นรูปแบบใบปลิวด้วย และเมื่อมีการค้นพบวิธีการพิมพ์หินขึ้นอีกในประเทศเยอรมนี ก็เป็นการเปิดทางแนวใหม่ให้โปสเตอร์เปลี่ยนรูปลักษณะมาเป็นโปสเตอร์ใน ปัจจุบัน คือทำให้ให้สมาชิกสามารถพิมพ์เป็น “รูปภาพ” ออกมาได้คราวละเป็นจำนวนมาก            โปสเตอร์ ได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่โปสเตอร์มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านศิลปะการออกแบบ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเทคนิควิธีการผลิต โปสเตอร์ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ในกิจกรรมนานา ประการ เช่น ส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา และดนตรี โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดเล็กใช้ได้ทั้งเป็นสื่อสำหรับการโฆษณา และเป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องมีผู้นิยมกันถึงขั้นสะสมกันเหมือนกับสะสม แสตมป์ เนื่องจากอิทธิพลของวงดนตรีประเภทต่าง ๆ และอิทธิพลของดารานักร้องที่มีกลุ่มแฟนคลับสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมาก เพื่อจำหน่ายให้แฟนเพลงวัยรุ่นที่ยอมรับโปสเตอร์ ในลักษณะเป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะซึ่งแสดงออกถึงวัฒนธรรมของกลุ่มวัยของเขา             จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ โปสเตอร์ยังคงมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในวงการโฆษณาสินค้า นอกจากวงการโฆษณาแล้ว โปสเตอร์ยังเป็นประโยชน์กับวงการอื่น ๆ อีกมาก เช่น วงการการเมือง การกุศล มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น เพราะโปสเตอร์เป็นช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารที่มีประสิทธิภาพช่องทางหนึ่งใน ท่ามกลางช่องทางการสื่อสารชนิดต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในสังคมปัจจุบันขนาดรูปทรงและประเภทของโปสเตอร์            โปสเตอร์มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็ก ใช้แขวนหรือปิดประดับผนังห้อง ปิดตามที่สาธารณะ ตู้โชว์สินค้าตามร้านค้า ติดประกาศบนกำแพง ไปจนถึงขนาดใหญ่มากหลายสิบฟุตที่ติดตั้งริมถนนหนทาง หรือบนผนังตึกใหญ่ ๆ            นอกจากนี้โปสเตอร์ยังมีรูปทรงหลายแบบ เช่นแบบปกติที่เป็นลักษณะกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง จนถึงรูปทรงที่ผิดแปลกออกไปจากรูปกรอบทรงเรขาคณิตคือใช้ลักษณะของรูปภาพเป็น กรอบไปในตัว เช่น รูปทรงต้นไม้ รูปทรงของร่างกาย            ส่วนประเภทของโปสเตอร์นั้น ถ้าเราจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้หรือเนื้อหาของข่าวสารที่ปรากฎ เราก็จะได้ประเภทโปสเตอร์เพื่อการโฆษณาสินค้าและบริการ และโปสเตอร์ซึ่งมิใช่เพื่อการค้า เช่น โปสเตอร์โฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง รณรงค์เพื่อการกุศล เป็นต้น แต่ถ้าเราจะจำแนก            ประเภทโปสเตอร์ตามลักษณะสถานที่ตั้งโปสเตอร์ เราก็จะได้โปสเตอร์ที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น บิลล์บอร์ด(Billboard) ในวงการโฆษณา ซึ่งหมายถึงโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งไว้ตามข้างถนนหนทาง หรือตั้งไว้บนกำแพงผนังตึกริมถนน คำว่า บิลล์บอร์ด นี้มีที่มาจากวงการโฆษณาในประเทศ            สหรัฐอเมริกาตอนต้น ค.ศ.1900 เมื่อกิจการร้านค้าต่าง ๆ ได้เช่าพื้นที่บนกระดานไม้ (board) ไว้คอยติดประกาศข้อความโฆษณาของตน (bill) ถึงแม้ว่าในสมัยปัจจุบันนี้ แผ่นกระดานไม้ที่ปิดป้ายโฆษณาจะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นไปแล้ว เช่น อะลูมิเนียมแต่ศัพท์คำว่า บิลล์บอร์ด นี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ตลอดมา            โปสเตอร์ประเภทที่ปิดไว้ตามยวนยานพาหนะที่เป็นบริการสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทาง นั้นเรียกว่า คาร์การ์ด(car cards) ซึ่งปิดไว้ได้ทั้งข้างในรถ ที่ปิดไว้ท้ายรถภายนอกมักจะเรียกว่า บัสแบค(bus back) และถ้าปิดด้านข้างจะเรียกว่า บัสไซด์ นอกจากตามยานพาหนะแล้ว ยังมีโปสเตอร์ซึ่งปรากฎปิดอยู่ตามที่สาธารณะอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสารประจำทาง ป้ายรถประจำทาง องค์ประกอบของโปสเตอร์             โปสเตอร์โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือเป็นประเทศใดก็ตาม จะมีองค์ประกอบดังนี้ รูปภาพของสินค้า หรือบริการหรือเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร มีถ้อยคำที่เป็นตัวอักษรประกอบ ซึ่งโดยมาเป็นข้อความที่ไม่ยาวนัก ชื่อของผู้เป็นสปอนเซอร์ หรือผู้ที่ผลิตโปสเตอร์นั้น สำหรับโปสเตอร์โฆษณาสินค้า ในบางครั้งก็อาจเพิ่มเติม เครื่องหมายการค้า (trade mark) หรือคำขวัญเข้าไปด้วยๅ ข้อควรคำนึงถึงก่อนการลงมือออกแบบโปสเตอร์             โปสเตอร์เป็นช่องทางการสื่อสารประเภทสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างไป จากสื่อสิ่งพิมพ์อื่นคือ โปสเตอร์ติดอยู่กับที่ที่ติดตั้ง ต้องรอคอยให้ผู้ดูเป็นฝ่ายเดินทางไปถึงจุดที่ตั้งแสดงอยู่ ในขณะที่สื่ออื่น ๆ เช่นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ จะเสนอเนื้อหาข่าวสารไปถึงผู้อ่าน ผู้ชม ในที่อยู่อาศัยโดยตรง ดังนั้นงานสำคัญที่ผู้ออกแบบโปสเตอร์จะต้องพยายามทำให้สำเร็จก็คือจะต้อง สร้างและยึดความสนใจของผู้ที่มองเห็นโปสเตอร์แล้วให้ได้ตั้งแต่เขาชายตา ชำเลืองมองในครั้งแรกหัวใจสำคัญของวิธีการที่จะจับความสนใจผู้ดูโปสเตอร์ นั้นก็คือ ความง่าย (simplicity) และความตรงไปตรงมา (directness) ในการสื่อสาร ความง่ายในที่นี้หมายถึง ความง่ายที่เข้าใจในองค์ประกอบของโปสเตอร์ โดยเฉพาะองค์ประกอบสำคัญก็คือส่วนที่เป็นภาพ และส่วนที่เป็นถ้อยคำ ตัวอักษร ที่ประกอบกันแล้วจะต้องสอดคล้องกันเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและประทับใจวิธีที่จะทำให้โปสเตอร์ดูเข้าใจได้ง่ายมีดังนี้            1. องค์ประกอบส่วนที่เป็นภาพ ควรเป็นภาพจำลองของจริง ซึ่งเมื่อมองเห็นแล้วก็ สามารถเข้าใจได้ทันที ไม่ควรเป็นภาพที่แสดงระดับงานศิลป์ที่สูงส่ง ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะเป็นพื้นฐานลึกซึ้งเพียงพอที่จะเข้าใจ ได้ และไม่ควรเป็นภาพประเภทแอบสแทรค (abstract) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลแปลความหมายของภาพไปได้นานาประการ            2. เป็นภาพจำลองของจริงซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนในลักษณะขยายใหญ่ (closeup) เฉพาะในส่วนที่เป็นหัวใจของเรื่องที่ต้องการเสนอ ผู้ดูจะรู้สึกเหมือนได้เห็นภาพห่างไม่กี่ฟุตทั้งที่โดยความจริงแล้วอาจจะยืน ดูภาพอยู่เป็นระยะทางไกลหลายช่วงตึกก็ได้            3. ในส่วนที่เป็นตัวอักษร ควรคำนึงถึงเรื่องหลักของการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ เช่น การใช้สีตัดกันของตัวอักษรกับพื้นภาพ ตามหลักควรให้ตัวอักษรเป็นสีเข้ม ส่วนพื้นที่เป็นสีอ่อนดีกว่าจะใช้ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นสีเข้ม สีที่ดีที่สุดของตัวอักษรสำหรับโปสเตอร์ที่จะทำให้เห็นได้ชัดและอ่านได้ง่าย โดยเฉพาะโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องมองดูในระยะไกล คือตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง            4. ในการเลือกแบบตัวอักษร ไม่ควรเลือกแบบตัวอักษรที่มีลักษณะผอมสูง และไม่ควรให้ช่องไฟเบียดติดกัน สำหรับขนาดก็ควรใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่ ๆ ได้สัดส่วนกับพื้นที่และองค์ประกอบอื่น หากจำเป็นจะต้องวางตัวอักษรทับไปบนส่วนที่เป็นภาพ ไม่ควรให้พื้นภาพบริเวณที่ ตัวอักษรจะทบลงไปนั้นเป็นลวดลาย เราะจะทำให้เห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน ไม่สะดวกกับการอ่าน ที่มา : http://viriya.sru.ac.th  
4 ตุลาคม 2555     |      6806
ทั้งหมด 12 หน้า